ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ

ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ

การจัดการมรดกจะถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทไปเมื่อใด และกฎหมายกำหนดว่า "คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง"  ในคดีนี้เจ้ามรดกมีที่ดิน 1 แปลงและเงินฝากในธนาคารจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จัดการมรดกในได้โอนที่ดินให้ตนเองในฐานะทายาทโดยธรรมและเบิกถอนเงินที่อยู่ในบัญชีของเจ้ามรดกทั้งหมดในปี 2528 โจทก์มาฟ้องผู้จัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5628/2538 

    แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจะเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำสั่งถอดถอน จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกมีเพียงที่ดินกับเงินฝากธนาคารและจำเลยที่ 1ได้โอนที่ดินดังกล่าวและถอนเงินออกมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี 2528จึงถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดแล้วตั้งแต่ปี 2528 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในปี 2535 เกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จคดีจึงขาดอายุความ

   โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี นอนโพธิ์ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นคดีหมายเลขแดงที่ 100/2528มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกของนางสาวมณีให้แก่โจทก์และทายาทอื่น ๆแต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกโดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 33083 เป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวและยักยอกเอาเงินของนางสาวมณีจำนวน 70,000 บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคารไป ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินมรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทุจริตเป็นการยักยอกและเบียดบังทรัพย์มรดกเอาเป็นของตนเองมากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับโดยฉ้อฉลต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก และการที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สมควรในการเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ศาลมีคำสั่งกำจัดจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่ให้ได้รับมรดกของนางสาวมณีและเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี โดยตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยกเลิกการจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 33083 ตามคำขอของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2528 และเพิกถอนการทำนิติกรรมยกให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ลงวันที่ 99 มีนาคม 2533 ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 106,836.30 บาทแก่กองมรดกของนางสาวมณี พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินจำนวน 70,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระคืนเสร็จสิ้น

 จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้แบ่งทรัพย์มรดกอย่างถูกต้องตามหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว และคดีของโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์ไม่ฟ้องร้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ขอให้ยกฟ้อง

 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนางสาวเปรี่ยม นอนโพธิ์จำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี นอนโพธิ์และกำจัดมิให้เป็นผู้รับมรดกของนางสาวมณีกับให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 33083 ตำบลบ้านโพธิ์อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม2528 และวันที่ 9 มีนาคม 2533 โดยให้ที่ดินกลับคืนสู่กองมรดกของนางสาวมณี

          โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอที่ให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณี นอนโพธิ์และกำจัดมิให้เป็นผู้รับมรดกของนางสาวมณี กับให้ยกคำขอที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2528และวันที่ 9 มีนาคม 2533 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์ฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 นางฉ่ำ พงษ์นาคินทร์นายดัด นอนโพธิ์ และนางสาวมณี นอนโพธิ์พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยเป็นบุตรของนายแดง นางเอ้บ นอนโพธิ์ ส่วนจำเลยที่ 2เป็นบุตรคนโตของนางฉ่ำ เมื่อปี พ.ศ. 2528 นางสาวมณีถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 1 แปลงคือที่พิพาท และเงินฝากในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขานครราชสีมา 70,000 บาท จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกนางสาวมณี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางสาวมณีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์2528 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 100/2528 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่11 มีนาคม 2528 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาวมณีได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดก และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533 จำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะจำเลยที่ 2 เป็นหลาน ตามเอกสารหมาย จ.7 ส่วนเงินฝากในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขานครราชสีมา จำเลยที่ 1 ได้ถอนออกมาทั้งหมดคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์อ้างว่าการที่จะถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วต้องปรากฏว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททุกคนแล้วแต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ใดคงจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของตนแต่ผู้เดียว และจำเลยที่ 1 เพิ่งโอนที่ดินมรดกแก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533 จึงถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2528 นั้น เห็นว่า ตามฟ้องของโจทก์มีทรัพย์มรดกของนางสาวมณีอยู่เพียงที่พิพาทและเงินฝากในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขานครราชสีมา 70,000 บาท สำหรับที่พิพาทปรากฏตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่11 มีนาคม 2528 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่การโอนให้แก่จำเลยที่ 2 นั้นปรากฏว่าตามเอกสารหมาย จ.7 ว่า จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะจำเลยที่ 2 เป็นหลาน ส่วนเงินฝากในธนาคารนั้นคู่ความนำสืบรับกันว่าภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่ 1 ได้ไปถอนเงินทั้งหมดจากธนาคาร แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองจะไม่ส่งอ้างหลักฐานการเบิกเงินของจำเลยที่ 1 ก็พอคาดคะเนตามหลักเหตุผลได้ว่าการที่อ้างว่านำไปชำระค่ารักษาพยาบาลและค่าจัดงานศพของนางสาวมณีแสดงว่าจำเลยที่ 1ได้เบิกเงินจำนวนดังกล่าวในปี พ.ศ. 2528 อันเป็นปีที่นางสาวมณีรักษาตัวและถึงแก่ความตายแล้วจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั่นเอง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่านางสาวมณีมีทรัพย์มรดกอยู่เพียง 2 รายการ คือ ที่พิพาทและเงินฝาก 70,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนที่พิพาทเป็นของตนและถอนเงินทั้งหมดออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 แม้การกระทำดังกล่าวเป็นกรณีที่ศาลอาจถอดถอนจำเลยที่ 1 จากผู้จัดการมรดกเสียได้ ในเมื่อศาลยังมิได้ถอดถอนจำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจในการจัดการมรดก การที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนที่ดินมรดกและถอนเงินออกมาทั้งหมดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ก็ถือได้ว่าการจัดการมรดกได้สิ้นสุดลงเมื่อปีพ.ศ. 2528 โจทก์มาฟ้องในคดีนี้ในวันที่ 4 มีนาคม 2535 เกินกว่า5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีโจทก์จึงขาดอายุความกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ข้ออื่นต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5628/2538 คดีฟ้องผู้จัดการมรดกต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกสิ้นสุดลง การจัดการมรดกจะถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทไปเมื่อใด




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย article
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม article
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300 article
ทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกตามส่วนที่จะพึงได้
ทายาทสละมรดกโดยที่รู้อยู่ว่าการสละมรดกทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียประโยชน์
สิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาห้ามยกเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ผู้คัดค้านไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการขอจัดการมรดก
ทายาทฟ้องทายาทให้แบ่งทรัพย์มรดก
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก
การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก