ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

การเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส

นิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำลงเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นกำหนดสิบปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ย่อมขาดอายุความ  ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องการจดทะเบียนให้ที่ดินหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นสำคัญอีกต่อไปเพราะแม้โจทก์ไม่ทราบเรื่อง แต่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว หลังจากพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8594/2559

โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างต่อไปว่า จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์และโจทก์ไม่ทราบเรื่อง การที่จำเลยทั้งสามให้การต่อไปว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทเพราะโจทก์ทราบเรื่องและไม่คัดค้านถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว และนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่าสิบปี คดีโจทก์ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินทั้งสองแปลงหรือไม่ และคดีขาดอายุความหรือไม่ หากทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ก็วินิจฉัยประเด็นต่อไปว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว แต่หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ก็มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้หรือไม่ และคดีขาดอายุความหรือไม่ คำให้การของจำเลยทั้งสามจึงเป็นประเด็นต่อเนื่องและไม่ขัดแย้งกัน เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำลงวันที่ 22 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ย่อมขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน และเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินทั้งสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นสินสมรสใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาและให้จำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรสคือที่ดินดังกล่าวให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากทำไม่ได้ให้เอาที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้วเอาเงินมาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง

จำเลยที่ 1 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2522 มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2527 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนซื้อที่ดินพิพาท 2 แปลง คือโฉนดที่ดินเลขที่ 23641 และเลขที่ 23642 ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2542 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละแปลง

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เหตุที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้พักอาศัยร่วมกันเป็นไปเพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ ไม่ได้เกิดจากเหตุที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทะเลาะกันจนต้องแยกกันอยู่ และจำเลยที่ 1 คอยให้ความช่วยเหลือโจทก์ตามหน้าที่ของภริยาที่ต้องช่วยเหลืออุปการะสามีตามสมควร โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสในระหว่างที่การสมรสยังมีอยู่

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ประการต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วยกึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์กล่าวอ้างต่อไปว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์และโจทก์ไม่ทราบเรื่อง จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทเพราะโจทก์ทราบเรื่องและไม่คัดค้านถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันแล้ว และนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความจึงมีประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินทั้งสองแปลงหรือไม่และคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ หากทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ก็วินิจฉัยประเด็นต่อไปได้เลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวแต่หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ก็มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้หรือไม่ และคดีขาดอายุความหรือไม่ ดังนั้นคำให้การของจำเลยทั้งสามจึงเป็นประเด็นต่อเนื่องและไม่ขัดแย้งกันเอง แต่เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการให้หรือไม่ และคดีขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำลงเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นกำหนดสิบปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ย่อมขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทราบเรื่องการจดทะเบียนให้หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นสำคัญอีกต่อไปเพราะแม้โจทก์ไม่ทราบเรื่อง แต่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว หลังจากพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรสและติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้

สามีทำพินัยกรรมยกสินสมรสให้บุตรไม่ใช่การจัดการสินสมรสที่ต้องฟ้องเพิกถอนภายในอายุความ 1 ปี

สินสมรสเป็นที่ดิน 2 แปลง มีชื่อสามีเป็นเจ้าของที่ดิน ในระหว่างเป็นสามีภริยากัน สามีได้จดทะเบียนการให้ที่ดิน 2 แปลงโดยเสน่หาแก่บุตรคนที่ 1 ซึ่งเกิดจากภริยาเดิมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา ในปีต่อมา ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ในปีต่อมาสามีถึงแก่ความตาย ก่อนถึงแก่ความตายสามีทำพินัยกรรมยกบ้านอันเป็นสินสมรสให้บุตรคนที่ 2   การยกให้ที่ดินสองแปลงโดยเสน่หาเป็นการจัดการสินสมรสที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส แต่สามีทำนิติกรรมไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ทำให้ภริยาเกิดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าวได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่ทำนิติกรรม ถ้าไม่ได้ฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวที่ดินจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอนเพราะเป็นการครอบครองในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์  สำหรับการทำพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรมไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของคู่สมรสให้แก่บุคคลอื่นได้ เมื่อสามีทำพินัยกรรมยกสินสมรสส่วนที่เป็นของภริยาจึงไม่มีผลผูกพัน ภริยาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาโดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3544/2542
 
 แม้การที่ ร. ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรส โดยเสน่หาแก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(5) และ 1479 และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ ร. จดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา 1480 ได้ก็ตาม แต่โจทก์ยังมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังนี้ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่และจำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก ร. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ ร. ให้โจทก์ การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง แม้ ร.มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่างร.กับโจทก์ที่ร.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร. ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรม ของ ร. ก่อน

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเรียน  โจทก์กับนายเรียนได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ต่อมานายเรียนได้ถึงแก่ความตายโดยยังมิได้ทำการแบ่งสินสมรส จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทของนายเรียนเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวไว้ทั้งหมด จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่แบ่งปันสินสมรสให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์ได้ทวงถามแล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันนำสินสมรสตามฟ้องมาแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งหากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงแทนเจตนาของจำเลยทั้งสองหากไม่สามารถแบ่งปันทรัพย์สินได้ให้เอาทรัพย์สินดังกล่าวออกประมูลระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง และหากไม่สามารถประมูลกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ ให้เอาทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองคนละครึ่ง หากไม่สามารถนำสินสมรสมาแบ่งให้แก่โจทก์ได้ดังกล่าวข้างต้นให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,061,275 บาท

          จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินทั้งสองแปลงตามฟ้อง นายเรียนได้ยกให้จำเลยทั้งสองแล้วในระหว่างโจทก์กับนายเรียนยังเป็นสามีภริยากัน โดยโจทก์ทราบดีแล้ว ถือว่าได้ให้สัตยาบันแล้ว สำหรับบ้านเลขที่ 889 นั้น นายเรียนได้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2536 โจทก์ทราบดีและเคยคัดค้านแต่ไม่ได้ฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแล้วราคาทรัพย์สินคิดตามเป็นจริง ที่ดินทั้งสองแปลงซึ่งปัจจุบันออกเป็นโฉนดที่ดินแล้วทั้งสองแปลงหักส่วนที่จำเลยที่ 2 โอนขายให้แก่บุคคลภายนอกไป 14 ไร่ คงเหลือเพียง 107 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา มีราคารวม 1,073,420 บาท บ้านมีราคา 500,000 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 786,710 บาท เท่านั้น ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งบ้านเลขที่ 889 หมู่ 1 ถนนพัฒนา ตำบลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมเฟอร์นิเจอร์ประเภทตู้ โต๊ะรับแขก อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในบ้านให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งและให้จำเลยที่ 2 แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 2680 และ 2681 ตำบลเข้าไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 หากไม่สามารถแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ ให้เอาทรัพย์สินดังกล่าวออกประมูลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และกับจำเลยที่ 2 หากไม่สามารถประมูลกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ให้เอาทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และกับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง คำขออื่นให้ยก

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์กับนายเรียน  อยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อน ต่อมาจึงได้จดทะเบียนสมรสกันในวันที่ 27 พฤษภาคม 2526 แต่ได้จดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2535 ที่ดินพิพาท 2 แปลง ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 6 และ 7 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และบ้านเลขที่ 889 หมู่ 1 ถนนพัฒนา ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนายเรียน แต่มีชื่อนายเรียนเป็นเจ้าของที่ดินและเจ้าบ้านเพียงผู้เดียว ต่อมาวันที่ 8 เมษายน 2534 นายเรียนได้จดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง โดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรอันเกิดจากภริยาเดิมของนายเรียนโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 ได้แบ่งขายที่ดินบางส่วนของที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้แก่นายพิศิษฐ์  ในวันที่ 9 เมษายน 2535 โดยให้ถือกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 26080 และ 26081 ครั้นถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2536 นายเรียนถึงแก่ความตาย ก่อนถึงแก่ความตายนายเรียนได้ทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองยกบ้านเลขที่ 889 ให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรอันเกิดจากภริยาเดิมของนายเรียน และจำเลยที่ 1 ได้รับโอนมรดกมาเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งโดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่างนายเรียนกับจำเลยที่ 2 ก่อนนั้น เห็นว่า การที่นายเรียนให้ที่ดินทั้ง 2 แปลงโดยเสน่หาแก่จำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่นายเรียนจัดการสินสมรสโดยปกติต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(5) และ 1479 เมื่อนายเรียนให้ที่ดินพพาททั้ง 2 แปลง แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่นายเรียนจดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 2 หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ ที่ดินทั้ง 2 แปลง จึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินทั้ง 2 แปลงมิใช่เป็นการครอบครองในฐานะทายาทของนายเรียนที่จะต้องมีหน้าที่แบ่งสินสมรสให้โจทก์แทนนายเรียน แต่จำเลยที่ 2 ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จากนายเรียน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสของนายเรียนให้โจทก์

          ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของนายเรียนที่ยกบ้านเลขที่ 889 ให้แก่จำเลยที่ 1 ภายใน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น เห็นว่า แม้บ้านเลขที่ 889 จะเป็นสินสมรสระหว่างนายเรียนกับโจทก์แต่ที่นายเรียนทำพินัยกรรมยกบ้านเลขที่ 889 ให้แก่จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่นายเรียนจะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง นายเรียนจึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านเลขที่ 889 ที่นายเรียนมีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 1476 วรรคสองแต่นายเรียนไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 889 อีกครึ่งหนึ่งของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ เพราะบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง ที่นายเรียนทำพินัยกรรมยกบ้านเลขที่ 889 ทั้งหลังให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์  โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งบ้านเลขที่ 889 อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนายเรียนได้ โดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของนายเรียน

           พิพากษายืน

 มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
   (วรรค 2)  การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำ ซึ่งต้องรับความยินยอม ร่วมกัน และถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่า ตอบแทน
      (วรรค 2)  การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่ วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

มาตรา 1336  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี