ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้

ออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้

ข้อ 6. นายชู ไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า พบนายวิทย์ นายชู เห็นเป็นโอกาสจึงทวงถามเงินที่นายวิทย์ ยืมไป นายวิทย์ ได้ออกเช็คผู้ถือโดยมิได้ลงวันที่ออกเช็ค และได้ขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่แล้วมอบเช็คแก่นายชู นายชู ลงวันที่ในเช็คแล้วนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็ค ปฏิเสธการจ่ายเงิน นายชู ไปแจ้งความร้องทุกข์และพาเจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้าน ของนายวิทย์ นายสันต์บิดาของนายวิทย์ กลัวว่านายวิทย์ จะถูกจับกุม จึงรับรองต่อนายชู ว่าจะใช้เงินตามเช็คให้ภายในกำหนด 7 วัน โดยนายสันต์ ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คไว้ด้วย แต่เมื่อครบกำหนด 7 วัน นายสันต์ ก็ไม่ยอมชำระ นายชู จึงฟ้อง นายวิทย์กับนายสันต์ ให้ร่วมกันใช้เงินตามเช็ค นายวิทย์ ต่อสู้ว่าได้ขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่แสดงว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเติมวันที่ในเช็ค ส่วนนายสันต์ ต่อสู้ว่าได้สลักหลังเช็คหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจึงไม่ต้องรับผิด

ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของ นายวิทย์และ นายสันต์ ฟังขึ้นหรือไม่

 ธงคำตอบ

การที่นายวิทย์ ออกเช็คโดยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ การกระทำดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ จึงหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 กรณีจึงถือได้ว่านายวิทย์ ออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ นายชู ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายจึงลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 (คำพิพากษาฎีกาที่ 3509/2542) ข้อต่อสู้ของนายวิทย์ ฟังไม่ขึ้น

ส่วนข้อต่อสู้ของนายสันต์ นั้น แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้ว เช็คดังกล่าวซึ่งมีรายการครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 ก็ยังเป็นเช็คตามความหมายแห่งมาตรา 987 นายสันต์ สลักหลังเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับนายวิทย์ ผู้สั่งจ่าย จึงมีความรับผิดอย่างเดียวกับนายวิทย์บุคคลซึ่งตนประกันตามมาตรา 921, 940 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 แม้จะสลักหลังเช็คหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้วก็ไม่ทำให้ไม่เป็นอาวัล นายสันต์ จึงต้องรับผิดตามเช็คนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 5766/2537) ข้อต่อสู้ของนายสันต์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 899 ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่

 มาตรา 910 ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบัง คับไว้ใน มาตรา ก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่กรณีดั่งจะกล่าว ดังต่อไปนี้ คือ

ตั๋วแลกเงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น

ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของ ผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน

ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย

ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย คนหนึ่งคนใดทำ การโดยสุจริต จะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

 มาตรา 989 บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับ สภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 910,มาตรา 914 ถึง มาตรา 923,มาตรา 925,มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 940, มาตรา 945,มาตรา 946,มาตรา 959มาตรา 967,มาตรา 971

ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดั่งต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา มาตรา 924,มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973 ถึง มาตรา 977,มาตรา 980

 มาตรา 988 อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) ชื่อ หรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร
(4) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
(5) สถานที่ใช้เงิน
(6) วันและสถานที่ออกเช็ค
(7) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

 มาตรา 987 อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน

มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อม เป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย

มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน

แม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542

จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินบ. โดยออกเช็คไว้ ต่อมาบ. ขอร่วมลงทุนทำการค้าโดยถือเอาเงินที่จำเลยเป็นเงินร่วมลงทุน และตกลงยกเลิกการกู้ยืม มูลหนี้ตามเช็คจึงระงับไป จำเลยอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยออกเช็คโดยมีข้อตกลงในขณะ ออกเช็คไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและนำเข้าบัญชี จึงเป็นข้อ ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่าง ผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงิน แล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็น การห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตาม บทบัญญัติของกฎหมายการที่จำเลยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ การกระทำดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่า กระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 จึงถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ ได้รับเช็คและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารจึง ลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 898 โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องถือว่าเป็น การประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 เป็นการอาวัลตามผลของกฎหมายมิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึง ไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัล โจทก์ต้อง รับผิดต่อ บ. ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง และต้องชำระหนี้ไปตามความรับผิดที่มีต่อ บ. ตามตั๋วเงิน การชำระหนี้นี้โจทก์ไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบและจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ โดยขืนใจลูกหนี้ไม่ได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินจำนวน 708,836.30 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน700,000 บาท นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์แต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องต้องไม่เกินจำนวน 8,836.30 บาท

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยออกเช็คพิพาทตามเอกสารหมาย จ.1 ให้แก่นายบุญเลี้ยง จิรวารศิริกุลหรือผู้ถือ ต่อมาโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาจากนายบุญเลี้ยง แล้วนำไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาภาษีเจริญ แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน มีปัญหาต้องพิจารณาตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่าเช็คตามฟ้องมีมูลหนี้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เช็คพิพาทในช่องวันที่จำเลยเขียนเครื่องหมายขีดยาวประมาณ 1 เซนติเมตรแสดงเจตนาของจำเลยว่าเป็นการออกเช็คเพื่อประกันเงินกู้ของจำเลยเท่านั้น และการขีดเส้นในช่องวันที่ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้มีการเติมวันที่ลงในเช็ค นอกจากนี้ในขณะออกเช็คจำเลยตกลงกับนายบุญเลี้ยง จิรวารศิริกุล รับเช็คว่าจะไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินนั้น เห็นว่า จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินนายบุญเลี้ยงโดยออกเช็คหมาย จ.1ให้ไว้ ต่อมานายบุญเลี้ยงขอร่วมลงทุนทำการค้าปุ๋ยธรรมชาติเพื่อการเกษตรกับจำเลย โดยถือเอาเงินที่จำเลยกู้ยืมเป็นเงินร่วมลงทุน และตกลงยกเลิกการกู้ยืม มูลหนี้ตามเช็คจึงระงับไป ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยออกเช็คโดยมีข้อตกลงในขณะออกเช็คไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและนำเข้าบัญชีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาอ้างว่าการพิจารณาเช็คว่าจะใช้เงินได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสภาพของตัวเช็คเมื่อมีเส้นสีดำขีดที่ช่องวันที่ แสดงว่าไม่ต้องการให้เรียกเก็บเงินนั้น เห็นว่า เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่าเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็คข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยขีดเส้นสีดำไว้ในช่องวันที่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 899 กรณีจึงถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับเช็คหมาย จ.1 และนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารจึงลงวันที่ในเช็คได้ ตามมาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยต่อไปมีว่า โจทก์ไม่อาจเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คได้ เพราะโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารให้โจทก์ลงชื่อไว้ด้านหลังเช็คเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น หาถือว่าเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายไม่ เพราะการอาวัลจะต้องลงลายมือชื่อด้านหน้าเช็ค และเขียนข้อความว่าใช้ได้เป็นอาวัลไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 939 โจทก์ได้รับเช็คไว้โดยไม่ชอบเพราะมิได้ใช้เงินแก่นายบุญเลี้ยง อีกทั้งการที่โจทก์ไปชำระหนี้แทนจำเลยโดยจำเลยไม่ทราบ เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยโดยจำเลยไม่ทราบ เป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้ตามมาตรา 314 จึงใช้ไม่ได้นั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีตัวโจทก์และนายบุญเลี้ยงเบิกความสอดคล้องกันว่า เมื่อจำเลยกู้เงินนายบุญเลี้ยงและมอบเช็คเอกสารหมาย จ.1 ให้นายบุญเลี้ยงไว้นายบุญเลี้ยงจึงให้โจทก์ลงชื่อสลักหลังในเช็คดังกล่าวไว้ ต่อมาจำเลยไม่คืนเงินที่ยืมไปนายบุญเลี้ยงเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คแทน โจทก์ผ่อนชำระเงินให้นายบุญเลี้ยงจนครบถ้วนแล้ว นายบุญเลี้ยงจึงมอบเช็คให้โจทก์จำเลยเพียงแต่เบิกความลอย ๆ อ้างว่าโจทก์มิได้ชำระเงินแก่นายบุญเลี้ยง พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คให้แก่นายบุญเลี้ยงและนายบุญเลี้ยงได้มอบเช็คให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่า เช็คตามเอกสารหมาย จ.1 จำเลยมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก จึงเป็นเช็คผู้ถือโจทก์ผู้รับมอบเช็คตามมูลหนี้ที่โจทก์ได้ชำระหนี้แก่นายบุญเลี้ยง จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คได้ ที่จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์มิได้สลักหลังเช็คไว้ก่อน แต่เพิ่งจะสลักหลังเมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วเจ้าหน้าที่ของธนาคารให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้นั้นจำเลยหาได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์สลักหลังถือไม่ได้ว่าเป็นการอาวัล และการที่โจทก์ชำระหนี้ไปแทนจำเลยเป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้นั้น เห็นว่า จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อนายบุญเลี้ยงเป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก แม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.1 เป็นเช็คผู้ถือ ดังนั้น เมื่อโจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คผู้ถือ ผลจึงต้องถือว่าเป็นการประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียนข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัล ดังที่จำเลยฎีกา การที่โจทก์ลงลายมือชื่อผูกพันตนให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อนายบุญเลี้ยงตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่นายบุญเลี้ยง และนายบุญเลี้ยงทวงถามโจทก์ โจทก์จึงต้องชำระหนี้ไปตามความรับผิดที่โจทก์มีต่อนายบุญเลี้ยงตามตั๋วเงิน การชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และจะถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่ ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537

เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบด้วยมาตรา 989ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็ค สั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์หรือผู้ถือที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4เป็นผู้สลักหลัง จำเลยที่ 1 ได้มอบเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้ นำไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารเพื่อให้เรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 75,250 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 70,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลยที่ 4 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยที่ 4 ลงชื่อในเช็คหลังจากเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นเหตุให้ขาดลักษณะของเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987คือขาดธนาคารที่จะใช้เงินตามเช็คทำให้เช็คดังกล่าวขาดความเชื่อถือไม่อาจนำไปใช้เป็นเช็คหรือตั๋วเงินอีกต่อไป จำเลยที่ 4 จึงไม่ใช่ผู้สลักหลังหรือผู้รับอาวัลเช็ค และนับแต่จำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อในเช็คแล้วโจทก์ไม่เคยนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารอีกและโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 44,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 4 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเอกสารหมาย จ.2 แล้ว เช็คดังกล่าวซึ่งมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 ก็ยังเป็นเช็คตามความหมายแห่งมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เช็คดังกล่าวเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 ซึ่งได้สลักหลังเช็คนั้นย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและมีความรับผิดอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 940 ประกอบด้วยมาตรา 989ทั้งจะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คเอกสารหมาย จ.2 ต่อโจทก์ตามมาตรา967 ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 จะสลักหลังเช็คดังกล่าวหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คนั้นต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 56(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ
ลำดับส่วนแบ่งมรดกระหว่างคู่สมรสกับพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ การละเมิดลิขสิทธิ์
สิทธิและหน้าที่ของผู้ส่งของ ผู้ขนส่ง และผู้ขนส่งอื่น
ที่งอกริมตลิ่ง สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ สิทธิไล่เบี้ย
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา
ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด