ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ข้อ 8. นายชมและนางชื่นได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตร 1 คน ชื่อนายชอบ ต่อมาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้เพิกถอนการสมรสดังกล่าว หลังจากนั้นนายชมได้อยู่กินกับนางชวนฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างที่อยู่กินกับนางชวน นายชมได้รับมรดกจากบิดาเป็นเงิน 200,000 บาท และนางชวนคลอดบุตร 1 คน ชื่อนายชู แต่นายชมไม่ยอมรับนายชูเป็นบุตรของตน โดยเข้าใจว่าเป็นบุตรของชู้ เมื่อนายชมตายคงมีแต่เงินมรดก จากบิดาตามจำนวนดังกล่าวเท่านั้น และนายชูซึ่งขณะนั้นมีอายุ 30 ปี ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่า นายชูเป็นบุตรของนายชม นายชอบยื่นคำคัดค้านว่าคดีของนายชูขาดอายุความแล้ว

ให้วินิจฉัยว่า นายชมมีทรัพย์มรดกเป็นจำนวนเงินเท่าใด และจะตกทอดแก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคำตอบ

เงินจำนวน 200,000 บาท เป็นเงินที่นายชมได้รับมรดกจากบิดาภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้เพิกถอนการสมรสกับนางชื่นแล้ว การสมรสย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 และมาตรา 1511 ดังนั้น นางชื่นจึงไม่มีส่วนได้ในเงินจำนวนนี้ในฐานะคู่สมรสอีกต่อไป ส่วนนางชวนก็ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในเงินจำนวนนี้อีกเช่นกัน เพราะมิใช่เงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน (คำพิพากษาฎีกาที่ 515/2519) เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นมรดกของนายชมแต่ผู้เดียว

นางชื่นมิใช่คู่สมรสของนายชมในขณะที่นายชมถึงแก่ความตาย จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคท้าย ไม่มีสิทธิได้รับมรดก

นายชอบเป็นบุตรที่เกิดระหว่างสมรส ซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนภายหลัง ย่อมถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1560 นายชอบจึงเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) มีสิทธิได้รับมรดก

นางชวนเป็นภริยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคท้าย ไม่มีสิทธิได้รับมรดก

นายชูได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่านายชูเป็นบุตรของนายชมเมื่อนายชูมีอายุ 30 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ เพราะนายชูต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นายชูบรรลุนิติภาวะตามมาตรา 1556 วรรคสาม นายชูจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ไม่มีสิทธิได้รับมรดก

ดังนั้น ทรัพย์มรดกของนายชมจำนวน 200,000 บาท จึงตกทอดแก่นายชอบผู้เดียว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1501 " การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน"

มาตรา 1511 "การสมรสที่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนนั้น ให้ถือว่าสิ้นสุด ลงในวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการเพิกถอนการสมรสนั้นแล้ว"

มาตรา 1629 "ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635"

มาตรา 1560 "บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอน ภายหลังนั้นให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย"

มาตรา 1556 "การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็น ผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของ เด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้ แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการ อาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้

เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้ โดยไม่จำต้องได้ รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่ วันบรรลุนิติภาวะ

ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดี ขอให้รับเด็ก เป็นบุตรอยู่ ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ถ้า ผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่ เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็น บุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายใน หนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่ เด็กนั้นตาย

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็ก เป็นผู้เยาว์ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม "

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2519

ทรัพย์พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะได้รับมรดกในระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยก็ตาม แต่เมื่อการอยู่กินฉันสามีภริยานั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมหากันมา

(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1128/2506)

โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์โดยได้รับมรดกจากบิดา โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยได้ไปแจ้งลงชื่อจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ส่วนกระบือพิพาทจำเลยก็ได้ทำบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณติดชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ ต่อมาจำเลยได้ขายกระบือ ๑ ตัว และนำกระบือไปจากไว้ที่บ้านเดิมของจำเลย โจทก์เรียกกระบือกลับคืนและขับไล่จำเลยออกไปจากเรือนของโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลย ขอให้พิพากษาว่าทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ ให้ขับไล่จำเลย ให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจาก ส.ค.๑ และบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณตามฟ้องแล้วใส่ชื่อโจทก์แทน

จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นภริยาจำเลยมา ๓๐ ปีแล้ว ทรัพย์พิพาทได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากัน ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์โดยรับมรดกจากบิดา แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันและโจทก์ยินยอมให้จำเลยแจ้งการครอบครองที่พิพาทและใส่ชื่อจำเลยในบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกัน พิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์โดยรับมรดกมาจากบิดา โจทก์มอบให้จำเลยแจ้งการครอบครองที่พิพาทและใส่ชื่อจำเลยในบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณแทน จำเลยไม่ได้สิทธิในทรัพย์พิพาท พิพากษาแก้ เป็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ฝ่ายเดียว ให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากทรัพย์พิพาทและใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาฟังว่า ทรัพย์พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะได้รับมรดกในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยก็ตาม เมื่อการอยู่กินฉันสามีภริยานั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์กับจำเลยร่วมกันหามา ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๘/๒๕๐๖ ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๗/๒๕๐๑ ที่ศาลชั้นต้นอ้างและจำเลยยกขึ้นฎีกา ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2506

 การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แต่มิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น ทรัพย์ที่โจทก์ได้รับมรดกมาในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกทรัพย์นั้นมาย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันหามา

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในที่ดินรายพิพาทซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญ โจทก์ได้รับที่พิพาทมาโดยรับมรดกจากบิดามารดาเมื่อประมาณ 18 ปีมาแล้ว และโจทก์ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของตลอดมาโจทก์ได้จำเลยเป็นสามีเมื่อ 20 ปีมาแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ. 2498 โจทก์ได้ให้จำเลยไปแจ้งการครอบครองที่ดินรายพิพาทแทนโจทก์ ต่อมาจำเลยจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ได้ร้องคัดค้าน จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท ห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้อง

จำเลยให้การว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 36 ปี หรือประมาณ 16 ปีก่อนได้โจทก์เป็นภริยา และได้ครอบครองตลอดมา โจทก์ได้จำเลยเป็นสามีเมื่อ 20 ปีมาแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อ พ.ศ. 2498 จำเลยได้แจ้งการครอบครองว่าที่ดินเป็นของจำเลยผู้เดียว จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยากับโจทก์จนถึงพ.ศ. 2504 ก็หย่าร้างกัน โจทก์จะขายที่พิพาท จำเลยร้องคัดค้านขอให้พิพากษายกฟ้อง

ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทเป็นของบิดามารดาโจทก์ บิดามารดาโจทก์ตายขณะโจทก์จำเลยอยู่กินร่วมกัน ทรัพย์ที่ต่างฝ่ายได้มาในระหว่างอยู่กินร่วมกันต่างฝ่ายก็ถือตนว่าเป็นเจ้าของ แม้ที่พิพาทจะเป็นมรดกของบิดาโจทก์ตกได้กับโจทก์ จำเลยก็มีส่วนเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง พิพากษาให้แบ่งที่พิพาทให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งถ้าแบ่งกันไม่ตกลงให้ประมูลราคาระหว่างกันเองหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันคนละครึ่ง

โจทก์อุทธรณ์ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่พิพาทเป็นของบิดามารดาโจทก์ เมื่อบิดามารดาโจทก์ตายเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ จำเลยเป็นสามีโจทก์โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เพราะทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นทรัพย์ที่ร่วมกันหามาพิพากษาแก้เป็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ผู้เดียว ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดจากบิดามารดาโจทก์ได้แก่โจทก์

เมื่อฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์แล้ว ถึงแม้โจทก์จะได้รับมรดกในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยก็ตาม เมื่อการอยู่กินฉันสามีภริยานั้นไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยก็ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันหามา

พิพากษายืนให้ยกฎีกาจำเลย




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้รับดูแลผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด
คำมั่นจะให้เช่า
ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้
ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง
ยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน
ความรับผิดของผู้ขนส่ง
หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ
เพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินครอบครองปรปักษ์
เจ้าหนี้ขาดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้