ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง

ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดต่อผู้ทรง

ข้อ 6. นายมั่นออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่นายคงเพื่อชำระหนี้เงินยืม นายคงได้ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลัง มอบให้แก่นายทองเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า นายทองมีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนจึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดให้แก่นายเพชร โดยนายทองเพียงแต่ส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นายเพชรโดยไม่ลงลายมือชื่อสลักหลังแต่อย่างใด เมื่อถึงกำหนดใช้เงิน นายเพชรนำตั๋วสัญญาใช้เงินยื่นให้นายมั่นใช้เงิน นายมั่นเพิกเฉยและต่อสู้ว่า การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นายเพชรโดยนายทองมิได้ลงลายมือชื่อสลักหลัง การโอนจึงไม่สมบูรณ์ นายเพชรไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนนายคงต่อสู้ว่า ได้สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุข้อความว่าห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังไว้จึงไม่ต้องรับผิด

ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายมั่นและนายคงฟังขึ้นหรือไม่

ธงคำตอบ

ตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 985 วรรคหนึ่ง การที่นายคงลงลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วส่งมอบให้แก่นายทองย่อมถือว่าเป็นการสลักหลังลอยตามมาตรา 919 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985 วรรคหนึ่ง นายทองจึงโอนตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่นายเพชรโดยไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามมาตรา 920 (3) ประกอบมาตรา 985 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อนายทองส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่นายเพชร นายเพชรจึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อต่อสู้ของนายมั่นฟังไม่ขึ้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 915 บัญญัติว่า ”...ผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดีจะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้ คือ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน ” บทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ในเรื่องตั๋วแลกเงิน และมาตรา 985 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติในตั๋วสัญญาใช้เงินก็ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย การที่นายคงสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังนั้นเป็นข้อความจำกัดความรับผิดของตน จึงหาเป็นผลบังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่ตามมาตรา 899 นายคงผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังลอยจึงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่นายเพชร (คำพิพากษาฎีกาที่ 4714/2547) ข้อต่อสู้ของนายคงฟังไม่ขึ้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 "อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่ บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดั่งนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการ โอนสามัญ

อนึ่ง ตั๋วเงินจะสลักหลังให้แก่ผู้จ่ายก็ได้ ไม่ว่าผู้จ่ายจะได้รับรองตั๋ว นั้นหรือไม่ หรือจะสลักหลังให้แก่ผู้สั่งจ่าย หรือให้แก่คู่สัญญาฝ่ายใด แห่งตั๋วเงินนั้นก็ได้ ส่วนบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะสลักหลังตั๋วเงิน นั้นต่อไปอีกได้"

 มาตรา 985 "บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 ว่าด้วยตั๋วแลกเงิน ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบท มาตรา 911,มาตรา 913,มาตรา 916,มาตรา 917,มาตรา 919,มาตรา 920,มาตรา 922 ถึง มาตรา 926,มาตรา 938 ถึง มาตรา 947,มาตรา 949,มาตรา 950,มาตรา 954 ถึง มาตรา 959,มาตรา 967 ถึง มาตรา 971

ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบท บัญญัติต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบท มาตรา 960 ถึง มาตรา 964,มาตรา 973,มาตรา 974"

 มาตรา 919 "คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำ ต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไร ยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ในประจำต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกันการ สลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า "สลักหลังลอย"

 มาตรา 920 "อันการสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ ตั๋วแลกเงิน

ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดั่งกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่ง ประการใดก็ ได้ คือ
(1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่น ผู้ใดผู้หนึ่ง
(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้ แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง
(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้ไปแก่บุคคลภายนอก โดยไม่กรอกความลง ในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด "

 มาตรา 915 "ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดีจะจด ข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้ คือ
(1) ข้อกำหนดลบล้าง หรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรง ตั๋วเงิน
(2) ข้อกำหนดยอมลดละให้แก่ผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหน้าที่ทั้งหลาย อันผู้ทรงจะพึงต้องมีแก่ตนบางอย่างหรือทั้งหมด"

 มาตรา 899 "ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2547

 ป.พ.พ. มาตรา 899 บัญญัติว่า "ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่" อันเป็นบทบัญญัติเบ็ดเสร็จทั่วไปใช้บังคับกับตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค ส่วนมาตรา 915 บัญญัติว่า "ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดีจะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้คือ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน?" ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินไม่ได้บัญญัติไว้ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไปเช่นเดียวกับมาตรา 899 และ มาตรา 985 ซึ่งบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังนั้นเป็นข้อความที่ขัดต่อมาตรา 983 (2) หาเป็นผลบังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 899 ไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2539 จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินรวมสองฉบับจำนวนเงินฉบับละ 7,500,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และจำเลยที่ 4 เป็นผู้อาวัลโดยลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าของตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับดังกล่าวขายลดให้โจทก์ โดยลงชื่อสลักหลังและมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระ โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน 15,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี คำนวณถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ย 522,916.63 บาท รวมเป็นเงิน 15,522,916.63 บาท

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน การที่โจทก์รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่พิพาทเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจวัตถุประสงค์ของโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่พิพาทไปเรียกเก็บเงิน และขอชำระหนี้จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ก่อน แต่โจทก์กลับเพิกเฉยและนำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการฟ้องคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 ได้ตกลงกับโจทก์ไม่ให้ใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับไม่ได้ตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามฟ้อง

ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ศาลอนุญาต และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 4 เสียจากสารบบความ โดยโจทก์ได้รับชำระหนี้ของจำเลยที่ 4 จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) บางส่วนแล้ว

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 14,803,131.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท คำขออื่นให้ยก

จำเลยที่ 3 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาททั้งสองฉบับหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อสลักหลังและมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 899, 922 ประกอบมาตรา 985 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า มาตรา 899 แห่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเบ็ดเสร็จทั่วไปใช้บังคับกับตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค เมื่อมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า "ข้อความอันใดซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงินท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างใดแก่ตั๋วเงินไม่" และที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า ป.พ.พ. มาตรา 915 บัญญัติว่า "ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดี จะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้ คือ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน?" ซึ่งบัญญัติอยู่ในลักษณะ 21 บรรพ 3 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 สลักหลังและมีข้อความห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลัง ย่อมเป็นไปตามมาตรา 899 แล้วนั้น เห็นว่า มาตรา 915 บัญญัติไว้ในเรื่องตั๋วแลกเงิน ไม่ได้บัญญัติไว้ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไปเช่นเดียวกับมาตรา 899 และมาตรา 985 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่ได้บัญญัติไว้ให้นำมาตรา 915 ของบทบัญญัติตั๋วแลกเงินมาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังนั้น เป็นข้อความที่ขัดต่อมาตรา 983 (2) หาเป็นผลบังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 899 ไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาททั้งสองฉบับแก่โจทก์ ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นของจำเลยที่ 3 ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 20,000 บาท แทนโจทก์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 983 ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
(2) คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(3) วันถึงกำหนดใช้เงิน
(4) สถานที่ใช้เงิน
(5) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน
(6) วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
(7) ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้รับดูแลผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด
คำมั่นจะให้เช่า
ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้รับจำนองต้องเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้
ยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วน
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ความรับผิดของผู้ขนส่ง
หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต-ยินยอมให้ผลิต ขายผลิตภัณฑ์แล้วย่อมหมดสิทธิ
เพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินครอบครองปรปักษ์
เจ้าหนี้ขาดสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้