ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ห้ามคู่ความนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร

 ห้ามคู่ความนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร         

ข้อ 7. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยราคา 1,000,000 บาท ปรากฏตามสำเนาสัญญาซึ่งแนบมาท้ายฟ้อง โจทก์ชำระราคาในวันทำสัญญา 300,000 บาท และจำเลยตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ครั้นถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ยอมชำระราคาที่เหลือ และไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมการโอนตามที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ ปรากฏว่าในสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาที่เหลือในวันโอนกรรมสิทธิ์ แต่มิได้ระบุเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนไว้ โจทก์ขอสืบพยานบุคคลว่า โจทก์กับจำเลยตกลงกันให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์ และจำเลยขอสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยให้โจทก์ออกค่าธรรมเนียมการโอนทั้งหมด

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะรับฟังพยานบุคคลที่โจทก์และจำเลยนำสืบได้หรือไม่

ธงคำตอบ

 สัญญาจะซื้อจะขายซึ่งคู่สัญญาตกลงทำเป็นหนังสือ แม้จะมีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนด้วย ก็ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาผูกพันกันด้วยหนังสือสัญญา จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94  ห้ามคู่ความนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2216/2515) การนำสืบพยานบุคคลของโจทก์เป็นการนำสืบเพื่อแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระราคาที่เหลือ จึงต้องห้ามรับฟังตามมาตรา 94 (ข) (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 581/2530)

การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า โจทก์กับจำเลยตกลงกันให้โจทก์ออกค่าธรรมเนียมการโอนทั้งหมดโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินอยู่ในหนังสือสัญญา ย่อมเป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องห้ามตามมาตรา 94 (ข) (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2955/2532)

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 94 "เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสาร มาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ ได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

แต่ว่าบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ ใน อนุมาตรา (2) แห่ง มาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความ ในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2515

ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นหนังสือ และระบุในสัญญาว่าได้มีการวางเงินมัดจำให้ผู้จะขายไว้ด้วย การวางเงินมัดจำนั้นเป็นแต่เพียงข้อสัญญากันข้อหนึ่ง หาใช่ตกลงทำสัญญากัน ด้วยการวางมัดจำไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง

เมื่อหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุว่า ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้จากผู้จะซื้อเป็นการถูกต้องแล้ว ผู้จะขายจะนำสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินมัดจำโดยผู้จะซื้อขอผัดชำระนั้นไม่อาจรับฟังได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หาใช่เป็นการสืบหักล้างเอกสารว่าไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่

สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้ผู้จะซื้อตามกำหนด ยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อเป็นเงินจำนวนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งด้วย ค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้จะขายผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วผู้จะซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากผู้จะขายได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

ผู้จะซื้อฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญา โดยมิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้จะขาย เพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร แม้ผู้จะซื้อมิได้นำสืบถึงความเสียหายศาลก็มีอำนาจกำหนดเบี้ยปรับตามจำนวนที่พอสมควรให้ได้

(วรรคหนึ่งถึงสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2515)

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ราคา 570,000 บาทโจทก์วางมัดจำไว้ 50,000 บาท นัดโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 23 มกราคม 2511 ถ้าจำเลยบิดพลิ้ว ยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้ และยอมให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 100,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมโอน ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดิน โดยรับเงินที่เหลือจากโจทก์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท

จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยยังไม่ได้รับเงินมัดจำ โจทก์ผิดสัญญาจำเลยบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้

ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยผิดสัญญา พิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ยังเหลือ 520,000 บาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาแก่โจทก์ 100,000 บาท

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพียง 50,000 บาทนอกนั้นคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา สรุปได้ 3 ข้อดังนี้

1. ในวันทำสัญญา โจทก์ยังมิได้ชำระเงินมัดจำให้จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินมัดจำ ชอบที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียได้

2. หากฟังว่าจำเลยผิดสัญญา เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแล้ว โจทก์จะเรียกเบี้ยปรับอีกไม่ได้

3. โจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

ฎีกาข้อ 1 โจทก์แก้ฎีกามาด้วยว่า จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารมิได้ อ้างฎีกาที่ 1710/2500

ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่า สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 บัญญัติไว้ให้ทำได้เป็น 3 ประการ คือ มีหนังสือเป็นหลักฐานอย่างหนึ่ง วางประจำไว้อย่างหนึ่ง หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้าคู่สัญญาจะทำกันโดยใช้วิธีแรกคือทำหนังสือสัญญาเป็นหลักฐานแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงและจะนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความในเอกสารนั้นมิได้ถ้าทำโดยสองวิธีหลัง ก็ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เพราะมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทเป็นหนังสือ ตามเอกสารหมาย จ.1 แม้ในสัญญาจะระบุว่าได้มีการวางมัดจำให้ผู้จะขายไว้ด้วย การวางเงินมัดจำเป็นแต่เพียงข้อสัญญากันข้อหนึ่ง หาใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เมื่อหนังสือสัญญาจะซื้อขายระบุว่าจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้จากโจทก์ผู้จะซื้อเป็นการถูกต้องแล้ว จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลว่าไม่ได้รับเงินมัดจำเพราะโจทก์ขอผัดชำระนั้น ไม่อาจรับฟังได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อขาย หาใช่เป็นการสืบหักล้างเอกสารว่าไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่

เมื่อพยานบุคคลของจำเลยต้องห้ามมิให้ศาลรับฟัง ข้อเท็จจริงก็ต้องฟังตามเอกสารว่าโจทก์ได้ชำระเงินมัดจำ 50,000 บาท ให้จำเลยรับไปในวันทำสัญญาถูกต้องแล้ว โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้ สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทยังไม่เลิกต่อกัน จำเลยเองที่เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมขายที่พิพาทให้โจทก์ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ฎีกาข้อ 2 เมื่อฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และในสัญญาจะซื้อขายระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายที่พิพาทตามกำหนด ยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาทอีกส่วนหนึ่งด้วยค่าเสียหายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาคงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 หรือมาตรา 381

ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่า เบี้ยปรับตามสัญญาจะซื้อขายรายนี้ เป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร กล่าวคือ ไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งนอกจากจะเรียกให้ชำระหนี้แล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้อีกด้วย หาใช่เป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งไม่

ฉะนั้น คดีนี้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์เป็นการชำระหนี้และเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลย เนื่องจากการไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดได้ด้วย ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ฎีกาข้อสุดท้ายของจำเลย ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแต่ฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญา แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงความเสียหาย ศาลก็มีอำนาจกำหนดเบี้ยปรับตามจำนวนที่พอสมควรให้แก่โจทก์ได้เฉพาะคดีนี้สัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้เป็นเงิน 100,000 บาท ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลดลงเหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งโจทก์พอใจไม่ฎีกา นับว่าเป็นเบี้ยปรับจำนวนพอสมควรแล้ว ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2530

โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามสัญญาระบุว่า เงินที่เหลืออีก 20,000 บาท ผู้จะซื้อจะชำระแก่ผู้จะขายในวันโอนสิทธิครอบครองทางทะเบียน โจทก์จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนต่อนายอำเภอและได้ประกาศเรื่องขอขายที่ดินแล้ว แต่จำเลยไม่ไปทำการจดทะเบียนให้โจทก์ จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจะนำสืบว่าตกลงชำระค่าที่ดินที่เหลือภายในวันที่ 17 เมษายน 2526 ต่างจากวันที่ที่ขอทำการโอนดังกล่าวไม่ได้เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร.(ที่มา-เนติ)

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์ในราคา30,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ 10,000 บาท ที่เหลือตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยไม่จัดการโอนที่ดินให้ขอให้บังคับจำเลยไปจัดการโอนที่ดินแก่โจทก์จำเลยให้การว่าตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เหลือภายในวันที่ 17 เมษายน 2526 แต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินตามฟ้องให้โจทก์หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยให้จำเลยรับค่าที่ดินที่ค้างชำระอยู่จำนวน 20,000 บาท จากโจทก์จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า 'ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันตามสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ในราคา 30,000 บาท วางมัดจำไว้แล้ว10,000 บาท โจทก์จะต้องชำระค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยอีก20,000 บาท จำเลยมิได้ฎีกาในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาคงมีปัญหาพิจารณาตามฎีกาของจำเลยว่าโจทก์ไม่ชำระค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลยภายในวันที่ 17เมษายน 2526 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาสัญญาจะซื้อขายจึงระงับไปโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นปรากฏตามสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 2ความว่าเงินที่เหลืออีก 20,000 บาทผู้จะซื้อ (โจทก์) จะชำระแก่ผู้จะขาย (จำเลย) ในวันโอนสิทธิครอบครองทางทะเบียนและได้ความจากพยานโจทก์ประกอบเอกสารว่าโจทก์จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและการสอบสวนสิทธิ์ในที่ดินต่อนายอำเภอเมืองอุบลราชธานีตามเอกสารหมาย จ.4 นายอำเภอเมืองอุบลราชธานีได้ออกประกาศเรื่องมีผู้ขอขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.6 แล้วไม่มีผู้คัดค้านแต่จำเลยไม่ไปทำการโอนที่ดินตามเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อที่จำเลยนำสืบอ้างว่าตกลงชำระค่าที่ดินที่เหลือภายในวันที่ 17 เมษายน 2526 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารรับฟังไม่ได้เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินที่เหลือ 20,000 บาท และโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้นชอบแล้วศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น'

พิพากษายืนให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 600 บาท แทนโจทก์.

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2532

เมื่อปรากฏว่าในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระบุราคาซื้อขายไว้ชัดแจ้งว่า เป็นเงิน 240,000 บาท และมิได้กำหนดเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีเงินได้และค่าอากรรับเงินแต่ฝ่ายเดียวเช่นนี้ จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 600,000 บาท และมีข้อตกลงดังกล่าวหาได้ไม่เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อขาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 และไม่ใช่เป็นกรณีที่นำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคา240,000 บาท โจทก์ได้วางเงินมัดจำแล้ว 100,000 บาท ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันภายในเดือนมิถุนายน 2529 ต่อมาในวันที่30 มิถุนายน 2529 จำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ทีดินและรับเงินส่วนที่เหลือ แต่ตกลงกันไม่ได้เนื่องจากโจทก์จะออกค่าธรรมเนียมในการโอนให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนค่าภาษีเงินได้จากการขายที่ดินนั้นจำเลยต้องออกเอง แต่จำเลยจะให้โจทก์ออกค่าภาษีเงินได้อีกครึ่งหนึ่งด้วย โจทก์ไม่ยอม จำเลยจึงไม่โอนที่ดินให้โจทก์ขอบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1166 ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลงจังหวัดระยอง ให้แก่โจทก์และรับเงินส่วนที่เหลือเป็นเงิน 140,000บาทจากโจทก์โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่ง ส่วนค่าอากรรับเงินและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้จำเลยเป็นผู้ออกทั้งหมด หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ในราคา600,000 บาท แต่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายเพียง 240,000 บาทเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการโอน ซึ่งตกลงกันให้โจทก์เป็นฝ่ายออกทั้งหมด แต่โจทก์กลับไม่ยอมชำระราคาที่ดินตามที่ตกลงกัน และไม่ยอมชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดิน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1166 ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยองให้แก่โจทก์และรับเงินส่วนที่เหลือจำนวน 140,000 บาท จากโจทก์โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่ง ส่วนค่าอากรรับเงิน ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้จำเลยเป็นผู้ออกทั้งหมด หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาต่อไปว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 457 และประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8)มิใช่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เงื่อนไขข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีเงินได้และค่าอากรรับเงินแต่ผู้เดียวจึงใช้บังคับกันได้ จำเลยสามารถนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวกับข้อตกลงที่ว่าโจทก์จำเลยได้ซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคา600,000 บาท เนื่องจากเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้นเห็นว่า หากมีข้อตกลงในเรื่องการชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีค่าอากรดังข้ออ้างของจำเลยและข้อตกลงนั้นได้ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินแล้วย่อมบังคับกันได้ แต่เมื่อปรากฏว่าในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระบุราคาซื้อขายไว้ชัดแจ้งว่าเป็นเงิน240,000 บาท และมิได้กำหนดเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอน ค่าภาษีเงินได้และค่าอากรรับเงินแต่ฝ่ายเดียวเช่นนี้ จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 600,000 บาท และมีข้อตกลงดังกล่าวหาได้ไม่เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อขายต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 และไม่ใช่เป็นกรณีที่นำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้นดังจำเลยอ้าง"

พิพากษายืน

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60(วิชาวิธีพิจารณาความอาญา)

การจับในที่รโหฐานและการค้นโดยเจ้าของเชื้อเชิญ
อำนาจจัดการแทน "ผู้เสียหาย" ของ ผู้บุพการี
สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องทางแพ่ง
การสอบสวนผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้รัฐจัดหาทนายความให้
การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
วันตรวจพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การร่างพินัยกรรม
การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา