ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟัองโจทก์มีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้าม

ข้อ 5. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายโดยใช้มีดแทงทำร้ายผู้เสียหายเพื่อความสะดวกแก่การชิงทรัพย์และขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท จำเลยให้การปฏิเสธ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้มีดแทงทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเอาโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายไป พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี ให้วินิจฉัยว่า

(ก) โจทก์ จะอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องได้หรือไม่

(ข) ถ้าจำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยเป็นคนใช้มีดแทงทำร้ายผู้เสียหาย พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายด้วย โจทก์จะฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนใช้มีดแทงทำร้ายผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำรายร่างกายได้หรือไม่

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคหนึ่ง คู่ความย่อมมีสิทธอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ซึ่งการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นสำคัญ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่ออัตราโทษในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินสามปี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ทางพิจารณาศาลชั้นต้นจะเห็นว่าจำเลยมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 4911/2537)

(ข) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ได้ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 217 ถึงมาตรา 221 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟัองในข้อหาทำร้ายร่างกายด้วยย่อมมีผลเท่ากับเป็นการพิพากษากลับให้ยกฟัองในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาสำหรับความผิดฐานทำร้ายร่างกายในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 218, 219, และ 220 ดังนั้น โจทก์จึงฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนใช้มีดแทงทำร้ายผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193 คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ

มาตรา 193 ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก

(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ

(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 216 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 217 ถึง 221 คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง

ฎีกานั้น ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 200 และ 201 มาบังคับโดยอนุโลม

มาตรา 217 ในคดีซึ่งมีข้อจำกัดว่า ให้คู่ความฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายข้อจำกัดนี้ให้บังคับแก่คู่ความและบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีด้วย

มาตรา 218 ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

มาตรา 219 ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จำเลยในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย

มาตรา 219 ทวิ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งในข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยแต่อย่างเดียว แม้คดีนั้นจะไม่ต้องห้ามฎีกาก็ตาม

ในการนับกำหนดโทษจำคุกตามความในมาตรา 218 และ 219 นั้น ห้ามมิให้คำนวณกำหนดเวลาที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมเข้าด้วย

มาตรา 219 ตรี ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก หรือคดีที่เกี่ยวกับการกักขังแทนค่าปรับ หรือกักขังเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน ถ้าศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2537

คดีอาญาจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ หรือไม่นั้นต้องดูอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษตามบทบัญญัติที่พิจารณาได้ความหาใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนความผิดตามบทมาตราอื่น แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 365(2)ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ความผิดตามบทมาตราอื่นจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และภริยาได้ร่วมกันขายที่ดินเฉพาะส่วนของภริยาให้แก่โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ใช้ จ้าง วานจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 บุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินของโจทก์และปรับหน้าดินจนราบเรียบทั้งแปลง ทำให้คันนาโจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354,362, 365(2), 83, 84, 90

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์มีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีมูล ให้ประทับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1ยกฟ้องจำเลยที่ 2

จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า คดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาวินิจฉัยมีว่าคดีของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้องศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด แต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ส่วนความผิดตามบทมาตราอื่นมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นว่า คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ หรือไม่นั้น ต้องดูอัตราโทษตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติที่โจทก์ขอให้ลงโทษเป็นสำคัญ ส่วนอัตราโทษตามบทบัญญัติที่พิจารณาได้ความ หาใช่ข้อที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ส่วนความผิดตามบทมาตราอื่น แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดตามมาตรา 365(2)ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดตามบทมาตราอื่นจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น และเห็นว่าสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นผู้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้"

พิพากษายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งหมดของโจทก์ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

ให้อำนาจศาลในการที่จะใช้ดุลพินิจลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6724/2562

ป.อ. มาตรา 23 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้" เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจศาลในการที่จะใช้ดุลพินิจลงโทษกักขังแทนโทษจำคุกก็ได้ หากเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว แต่โทษกักขังดังกล่าว เป็นการใช้โทษกักขังแทนโทษจำคุกในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และที่กฎหมายบัญญัติให้กักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้น เพื่อให้การกำหนดโทษกักขังเป็นเช่นเดียวกับโทษจำคุกดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุก 1 เดือน เป็นโทษกักขังแทน มีกำหนด 2 เดือน ซึ่งไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 160 ตรี พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102, 127 ทวิ และสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทของจำเลยไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทชนิดที่ 3 ของจำเลย

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3), 127 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 เดือน และปรับ 12,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้พักใช้ใบอนุญาตขับรถของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน

โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 1 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับ ไม่รอการลงโทษจำคุก และไม่คุมความประพฤติของจำเลย ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนมีกำหนด 2 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เห็นว่า จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่ในขณะเมาสุรา อาจทำให้ไม่สามารถครองสติและหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ และไม่สามารถควบคุมการขับให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยได้ อันเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยเป็นไปโดยปราศจากความรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้" จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจศาลในการที่จะใช้ดุลพินิจลงโทษกักขังแทนโทษจำคุกก็ได้ หากเข้าเงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว แต่โทษกักขังดังกล่าว เป็นการใช้โทษกักขังแทนโทษจำคุก ในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน และที่กฎหมายบัญญัติให้กักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้น เพื่อให้การกำหนดโทษกักขังเป็นเช่นเดียวกับโทษจำคุกดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุก 1 เดือน เป็นโทษกักขังแทน มีกำหนด 2 เดือน ซึ่งไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้กักขังมีกำหนด 1 เดือน แทนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1




การสอบเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 60(วิชาวิธีพิจารณาความอาญา)

การจับในที่รโหฐานและการค้นโดยเจ้าของเชื้อเชิญ
อำนาจจัดการแทน "ผู้เสียหาย" ของ ผู้บุพการี
สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องทางแพ่ง
การสอบสวนผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้รัฐจัดหาทนายความให้
การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย
ห้ามคู่ความนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร
วันตรวจพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การร่างพินัยกรรม
การสืบพยานล่วงหน้าในคดีอาญา