ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมมรดกย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน

เจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมมรดกย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน 

ข้อ 8. นายเช้ากับนางสาย เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตร 1 คน คือนายเที่ยง ระหว่างสมรสนายเช้า ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่ง ซึ่งนายเช้า ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ก่อนจดทะเบียนสมรส ในราคา 800,000 บาทและนายเช้า ผ่อนชำระราคาที่ดินจนครบ ต่อมานายเช้าจดทะเบียนหย่ากับนายสาย แล้วนายเช้า ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวส่วนของตนให้แก่นายบ่าย โดยมีนายเย็นและนางค่ำ ซึ่งเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายและต่างมีอายุ 19 ปี ลงลายมือชื่อเป็นพยาน ทั้งนี้ นายเย็น ลงลายมือชื่อเป็นผู้เขียนพินัยกรรมฉบับดังกล่าวกับมีนายมืด พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในพินัยกรรมอีกผู้หนึ่ง โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนายมืด ด้วย นายเที่ยงและนายบ่าย ถึงแก่ความตายก่อนนายเช้า เมื่อนายเช้า ถึงแก่ความตายคงมีทรัพย์สินคือที่ดินแปลงดังกล่าวเท่านั้น และเป็นหนี้เงินกู้นายรุ่งจำนวน 50,000 บาท

ให้วินิจฉัยว่า นายเช้า มีทรัพย์มรดกจำนวนเท่าใด จะตกทอดแก่ผู้ใด เป็นจำนวนเท่าใด และผู้ใดจะร้องต่อศาลขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของนายเช้า ได้

ธงคำตอบ

ที่ดินที่นายเช้า ซื้อไว้และมีการโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างสมรส เมื่อเงินที่นายเช้าผ่อนชำระไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถือได้ว่าเป็นกรณีมีข้อสงสัยว่าเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 1474 (1) เมื่อนายเช้า กับนางสาย จดทะเบียนหย่ากัน ต้องแบ่งสินสมรสให้คนละส่วนเท่ากัน คือ ที่ดินคนละครึ่ง ราคา 400,000 บาท ตาม มาตรา 1533 และตกเป็นมรดกของนายเช้า เมื่อนายเช้า ตาย

แม้นายเย็น และนางค่ำ มีอยุ 19 ปี ก็ตาม แต่เมื่อทั้งสองคนทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมบรรลุนิติภาวะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 20 ประกอบ มาตรา 1488 จึงเป็นพยานในการทำพินัยกรรมได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1670 (1) ส่วนการที่นายมืด พิมพ์ลายนิ้วมือเป็นพยานในพินัยกรรม แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้สองคนแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลให้นายมืดเป็นพยาน ตาม มาตรา 1666 ได้ อย่างไรก็ตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวมีนายเย็นและนางค่ำ ลงลายมือชื่อเป็นพยานครบสองคนแล้ว พินัยกรรมจึงมีผลสมบูรณ์ (คำพิพากษาฎีกาที่ 111/2497)

นายบ่าย ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนนายเช้า ผู้ทำพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นย่อมตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698 (1) ต้องนำที่ดินส่วนของนายเช้ามาปันแก่ทายาทโดยธรรมของนายเช้า ต่อไปตาม มาตรา 1699 ประกอบ มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง

นางสาย ไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะขณะที่นายเช้า ตาย นางสาย ไม่ได้เป็นคู่สมรสของนายเช้า แล้ว จึงไม่ใช่ทาายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรคท้าย

นายเที่ยง ตายก่อนนายเช้า จึงไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และ แม้นายสาย จะเป็นมารดาของนายเที่ยง ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายเที่ยง เพราะสิทธิที่จะรับมรดกแทนที่มีได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ตามมาตรา 1643

นายเช้า จึงไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม มรดกย่อมตกทอดแก่แผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753 นายรุ่ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของนายเช้า ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของนายเช้า ตามมาตรา 1713 ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1695/2531 ประชุมใหญ่)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 

มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ 

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส 

มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน 

มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย 

มาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย 

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 

มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรงผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่ 

มาตรา 1666 บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตามมาตรา 1656, 1658, 1660 

มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้

(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ

(3) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง 

มาตรา 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม

(2) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จลง และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจจะสำเร็จได้

(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม

(4) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมมิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายไป 

มาตรา 1699 ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี 

มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้

(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์

(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก

(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร 

มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2497 

พินัยกรรมที่พยานลงชื่อไม่ถูกต้องเสียคนหนึ่ง แต่ยังมีพยานอีกคนหนึ่งและผู้เขียนซึ่งเป็นพยานด้วยอีกคนหนึ่ง รวมเป็น 2 คนดังนี้ ก็ถือได้ว่าพินัยกรรมนั้นมีพยานครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

พยาน 2 คนลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะที่ทำพินัยกรรมนั้นไม่จำต้องลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกหนหนึ่งก็มีผลเท่ากับรับรองลายพิมพ์นิ้วมือผู้ทำพินัยกรรมไปในตัว 

คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นทายาทของนางทองผู้เป็นมารดาซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว โจทก์ขอแบ่งมรดก จำเลยไม่ยอม โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับ

จำเลยต่อสู้ว่าก่อนนางทองวายชนม์ได้แบ่งทรัพย์แก่บุตรเป็นส่วนสัดแล้ว ทรัพย์ที่เหลือรวมทั้งทรัพย์พิพาท มารดาได้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าพินัยกรรมสมบูรณ์ให้ที่นาที่สวนตกได้แก่จำเลย นอกจากนี้คงยืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะตัดคำนายสังพยานจำเลยซึ่งลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลังออกเสียคนหนึ่ง พินัยกรรมฉบับนี้ก็ยังมีพยานครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย 2 คน คือ นายมุกพยาน กับนายสิงผู้เขียนและพยาน โดยพยาน 2 คนนี้ได้ลงชื่อเป็นพยานขณะนางทองทำพินัยกรรม จึงไม่จำต้องลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกหนหนึ่งมีผลเท่ากับรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนางทองไปในตัว ฯลฯ

จึงพิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2531 

กองมรดกซึ่งไม่มีทายาทนั้น แม้มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดินแผ่นดิน ก็มิใช่ทายาท เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น และหากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใด เจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้ได้เลย การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกมีผู้จัดการมรดก ในกรณีเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนฟังได้ว่านายเนียม อุ่นคำมูล ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2522นายเนียมไม่มีทายาท นางทาเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของนายเนียมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางทาเป็นผู้จัดการมรดกของนายเนียมตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1280/2526 แต่การจัดการมรดกยังไม่เสร็จนางทาได้ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของนางทาได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางทา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางทาตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่477/2527 ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกไม่มีทายาทจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายเนียมเป็นคดีนี้

พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาในชั้นนี้ว่าผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของนายเนียมซึ่งไม่มีทายาทเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันจะทำให้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กองมรดกซึ่งไม่มีทายาทนั้นแม้มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดิน แผ่นดินก็มิใช่ทายาท เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น และหากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใด เจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้ได้เลย การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกจึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกมีผู้จัดการมรดก ในกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

ส่วนปัญหาที่ว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่นั้นเห็นว่า แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ซึ่งตามปกติย่อมมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้มีส่วนได้เสียอื่นอีก และพนักงานอัยการก็มิได้คัดค้านไว้ จึงเห็นสมควรตั้งให้ตามที่ขอ"

พิพากษากลับ ให้ตั้งนายชื่น ศรีสุขบุญ ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายเนียม อุ่นคำมูล ผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และแจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานอัยการทราบด้วย

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้เสียหายมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดความเสียหาย
การรอนสิทธิ -ทรัพย์สินซึ่งขายชำรุดบกพร่อง
อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกัน
เช็คขีดคร่อมทั่วไปโอนกันได้
ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการให้รับผิด
การซื้อขายตาม INCOTERMS แบบ DDP
ที่งอกริมตลิ่ง- สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก