ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการให้รับผิด

ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย 

ข้อ 7. บริษัทสยาม จำกัด ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แบ่งทุนเป็น 100,000 หุ้น มูลค่าจดทะเบียนหุ้นละ 10 บาท นายเอก ถือหุ้น 45,000 หุ้น นายโท ถือหุ้น 45,000 หุ้น และนายตรี ถือหุ้น 10,000 หุ้น บริษัทมีนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม เป็นกรรมการ ต่อมาคณะกรรมการทั้งสามคนได้ขายที่ดินของบริษัทให้แก่นายสี่ ซึ่งราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาดมากโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรทางธุรกิจที่จะทำเช่นนั้น นายเอกได้มีหนังสือถึงบริษัทสยาม จำกัด เพื่อให้ฟ้องคณะกรรมการทั้งสามคนให้ชดใช้ค่าเสียหายในการขายที่ดินดังกล่าวต่อ บริษัท แต่บริษัทสยาม จำกัด ได้มีหนังสือถึงนายเอกยืนยันว่าจะไม่ฟ้องนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม เพราะทั้งสามคนเป็นกรรมการจึงมีอำนาจขายที่ดินดังกล่าวได้ แม้ว่าราคาจะต่ำกว่าราคาตลาดมากโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) นายเอกจะฟ้องนายหนึ่ง นายสอง และนายสามให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทฐานทำผิดหน้าที่กรรมการได้หรือไม่

(ข) นายเอกจะฟ้องนายสี่ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะได้หรือไม่

ธงคำตอบ

(ก) ในการจัดกิจการของบริษัทนั้น กรรมการมีหน้าที่จะต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 การที่กรรมการขายที่ดินต่ำกว่าราคาตลาดมากโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท กรรมการจึงต้องรับผิดในการชดใช้ค่าเสียหายต่อบริษัทฐานไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขาย ผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง ตาม มาตรา 1168 เมื่อบริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง นายเอก จึงมีสิทธิฟ้องนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม ฐานทำผิดหน้าที่กรรมการได้ ตาม มาตรา 1169

(ข) ในประเด็นเรื่องฟ้องร้องนายสี่ ขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะนั้น เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้ว ถือว่าเป็นบุคคลมีสิทธิหน้าที่ต่างหากจากผู้ถือหุ้น กรรมการเท่านั้นมีอำนาจในการทำหน้าที่แทนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 นายเอกเป็นเพียงผู้ถือหุ้นไม่ใช่กรรมการ จึงไม่มีอำนาจฟ้องนายสี่เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1426/2542)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1168 ในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทนั้นกรรมการต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง

ว่าโดยเฉพาะ กรรมการต้องรับผิดชอบร่วมกันในประการต่าง ๆ ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) การใช้เงินค่าหุ้นนั้น ได้ใช้กันจริง
(2) จัดให้มีและรักษาไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งบรรดาสมุดบัญชีและเอกสาร ที่กฎหมายกำหนดไว้
(3) การแจกเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้เป็นไปโดยถูกต้องตามที่ กฎหมายกำหนดไว้
(4) บังคับการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามมติของที่ประชุมใหญ่

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ผู้เป็นกรรมการประกอบการค้าขายใด ๆ อัน มีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัทนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างค้าขายอื่นซึ่งประกอบกิจการ มีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของบริษัท โดยมิได้รับความยินยอมของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น

บทบัญญัติที่กล่าวมาข้างบนนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนของกรรมการด้วย

มาตรา 1169 ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้

อนึ่ง การเรียกร้องเช่นนี้ เจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับก็ได้ เท่าที่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่

มาตรา 1144 บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน ด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2542

การฟ้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้อำนาจแก่ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งโดยปกติบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต้องฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4เป็นโมฆะเช่นนี้ หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลย จะไม่ให้การต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่นซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด โดยโจทก์กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันจัดตั้งบริษัท โดยจำเลยที่ 1 จัดหาที่ดินที่ตั้งบริษัทได้ที่โครงการหมู่บ้านสินเก้าถนนศรีนครินทร์ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โจทก์ส่งเงินให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 219931 และ219932 อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร กับบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เรียลเอสเตท จำกัด เนื้อที่รวม 1 ไร่ 14 ตารางวา และสัญญาจ้างบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ปลูกสร้างอาคารโดยจำเลยที่ 1 ลงนามแทนบริษัท ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนตั้งบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด และยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารตึก 2 ชั้นเลขที่ 2/3 หมู่ 2 หมู่บ้านสินเก้า แขวงหนองบอน เขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร โจทก์ส่งเงินให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาบ้านและที่ดิน ประมาณเดือนธันวาคม 2532 จำเลยที่ 1 ได้นำสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินไปขายหรือสละสิทธิให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยมิชอบ เป็นเหตุให้บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เรียลเอสเตท จำกัด จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และได้ขายอาคารเลขที่ 2/3 ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยอ้างว่า คณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้ขายได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์และกรรมการอื่นไม่เคยทราบ ขอให้แสดงว่านิติกรรมขายสิทธิหรือสละสิทธิการซื้อขายที่ดินและนิติกรรมสัญญาขายอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 219931 และ 219932 ระหว่างบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เรียลเอสเตท จำกัด กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นโมฆะ ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวกลับมาเป็นของบริษัท เซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4หากไม่สามารถบังคับตามคำขอดังกล่าวได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้เงิน 60,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 1 ให้การว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจโจทก์เป็นลายมือชื่อปลอมฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์เคยฟ้องบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด กับจำเลยที่ 1 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 15282/2533 เรียกเงินที่โจทก์กับผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่นอีก 2 คน นำมาลงทุนในบริษัทคืน คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนจำเลยที่ 1 ร่วมกับโจทก์ตั้งบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด แต่จำเลยที่ 1 จองซื้อที่ดินพิพาทในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 1 ยอมให้ใช้ชื่อบริษัทเป็นเจ้าของอาคารเพื่อลดหย่อนภาษีโดยจำเลยที่ 1 นำเงินของโจทก์กับผู้ถือหุ้นชาวญี่ปุ่นมาจ่ายเป็นค่าก่อสร้างอาคารด้วยจำเลยที่ 1 ขายอาคารพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นตัวแทนบริษัทโดยได้รับมอบหมายตามมติที่ประชุมกรรมการบริษัทซึ่งขายโดยสุจริตในราคาท้องตลาด โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอเพิกถอนมติภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงมติ ราคาที่ดินที่โจทก์อ้างสูงเกินความจริง ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้การและแก้ไขคำให้การว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์และหนังสือมอบอำนาจทำขึ้นภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เรียลเอสเตท จำกัด ได้จดทะเบียนการโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผยไม่เคยมีผู้ใดโต้แย้ง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่เคยติดต่อกับบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด และจำเลยที่ 1 โจทก์กล่าวอ้างราคาที่ดินเกินความจริง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

จำเลยทั้งสี่ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องบริษัทเซเว่นส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็น จำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นตามคดีหมายเลขดำที่ 15282/2533 คดีหมายเลขแดงที่ 18365/2534 เรียกเงินทดรองค่าใช้จ่ายซื้อที่ดินพิพาทและอาคารที่ทำการของบริษัทคืนแก่โจทก์ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ต่อมาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 2,628,376.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

พิเคราะห์แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย)จำกัด โจทก์และจำเลยที่ 1 ร่วมกันตั้งบริษัทเซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2530 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 219931 และ 219932 ตำบลหนองบอน อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร จากบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เรียลเอสเตท จำกัด และทำสัญญาว่าจ้างบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด ปลูกสร้างอาคารเลขที่ 2/3 ในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 ลงนามแทนบริษัท ต่อมาจำเลยที่ 1นำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารไปขายหรือสละสิทธิให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยมิชอบ ทำให้บริษัทเสียหายขอให้พิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะและให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โอนที่ดินและอาคารคืนแก่บริษัท เซเว่นซีส์ แฟชั่น ซิสเต็มส์ (ไทย) จำกัด เห็นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ๆ จะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่ากล่าวก็ได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจแก่ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการบริษัทผู้ทำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งโดยปกติบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต้องฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นโมฆะเช่นนี้ หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการบริษัท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่า ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขแดงที่ 18365/2534 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา"

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้เสียหายมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดความเสียหาย
การรอนสิทธิ -ทรัพย์สินซึ่งขายชำรุดบกพร่อง
อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกัน
เช็คขีดคร่อมทั่วไปโอนกันได้
เจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมมรดกย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน
การซื้อขายตาม INCOTERMS แบบ DDP
ที่งอกริมตลิ่ง- สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก