ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความผิดฐานหมิ่นประมาท

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ข้อ 6. นายแสงชัย นายอำเภอสาระขัณฑ์ ถูกตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงว่า ประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ นายสมศักดิ์ ปลัดอำเภอในอำเภอดังกล่าวซึ่งถูกคณะกรรมการเรียกไปเป็นพยาน ได้ให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการว่า ตนได้ยินข่าวลือว่า นายแสงชัย ชอบเรียกนางสาวขวัญใจ ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าไปอยู่ในห้องนายอำเภอตามลำพังในเวลาเช้าและหลังเวลาราชการเกือบทุกวัน เคยได้ยินข้าราชการในอำเภอพูดกันมากว่านายอำเภอและนางสาวขวัญใจ มีความสัมพันธ์ถึงขั้นได้เสียกัน ต่อมานายชวลิต นักข่าวเขียนข่าวลงในหนังสือพิมพ์ว่า นายอำเภอสาระขัณฑ์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องความประพฤติ พยานใกล้ชิดระดับปลัดอำเภอให้ถ้อยคำยืนยันชนิดดิ้นไม่หลุดว่านายอำเภอได้เสียกับผู้ใต้บังคับบัญชาในห้องทำงานเป็นประจำ งานนี้ตำแหน่งนายอำเภอคงสั่นคลอนอย่างแน่นอน

ให้วินิจฉัยว่า นายสมศักดิ์และนายชวลิตมีความผิดฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ

การที่นายสมศักดิ์ ให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาของตนแต่งตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่นายแสงชัย นายอำเภอสาระขัณฑ์ ถูกกล่าวหาว่าประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ถ้อยคำที่สนายสมศักดิ์กล่าวเป็นการกล่าวในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวมและเป็นการกล่าวไปตามข่าวลือ ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นความจริงและไม่ตั้งใจให้ผู้ฟังเชื่อว่านายแสงชัย มีพฤติกรรมตามข่าวลือนั้น นายสมศักดิ์ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2034/2530)

สำหรับนายชวลิตเขียนข่าวยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าพยานใกล้ชิดเหตุการณ์ที่เป็นปลัดอำเภอให้ถ้อยคำยืนยั้นว่า นายแสงชัย ได้เสียกับผู้ใต้บังคับบัญชาในห้องทำงานซึ่งเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง นายชวลิต เป็นนักข่าวสมควรตรวจสอบข้อเท็จจริงที่อาจทำให้ผู้อื่นเสียหายให้รอบคอบก่อนนำไปเขียนเป็นข่าว การกระทำของนายชวลิต เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความนายแสงชัย ด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้นายแสงชัย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ซึ่งมิใช่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมไม่เป็นการกระทำตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3) แต่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนายแสงชัย โดยการโฆษณาด้วยเอกสารตามมาตรา 328 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3520/2543)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับ
ตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2530

การที่จำเลยให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้กล่าวหา ส. ว่าประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกล่าวว่า จำเลยได้ยิน ข่าวเล่าลือว่า ส. กับโจทก์เดิน ด้วยกันนอกโรงเรียนและมีความสัมพันธ์ถึงขั้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม และเป็นการกล่าวไปตามข่าวลือ ไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง และไม่ตั้งใจให้ผู้ฟังเชื่อ ว่าโจทก์มีพฤติกรรมตามข่าวลือนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326.  

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้องไว้พิจารณา

จำเลยปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาชั้นฎีกาว่าการกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326หรือไม่

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ที่จำเลยกล่าวว่าเห็นนายเสนาะจันทร์สุริยา ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมกุฎกษัตริย์อยู่ในห้องผู้อำนวยการโรงเรียนกับโจทก์ตามลำพังในเวลาเช้า เย็น และหลังเวลาราชการบ่อย ๆ ...จำเลยได้ยินข่าวเล่าลือกันว่า นายเสนาะจันทร์สุริยา กับโจทก์เดินด้วยกันนอกโรงเรียน และเคยได้ยินครูและนักเรียนพูดกันว่า นายเสนาะ จันทร์สุริยา มีความสัมพันธ์ถึงขึ้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในการให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการที่อธิบดีกรมสามัญศึกษาแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีกล่าวหาว่านายเสนาะ จันทร์สุริยา ประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์เป็นกรณีที่จำเลยกล่าวในฐานะที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาถูกถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม ทั้งข้อความที่จำเลยกล่าวเป็นการกล่าวตามข่าวลือไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง ส่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้ฟังเชื่อว่าโจทก์มีพฤติกรรมดังข่าวลือนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ตามฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน.

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2543

ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานข้อความทั้งสองประการดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็น การแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำไม่ จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร

เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 แล้วไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 326 อีก

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เขียนและโฆษณาตีพิมพ์ข้อความใส่ความหมิ่นประมาทนายจุลพงศ์ จุลเกศผู้เสียหายต่อประชาชนโดยทั่วไปลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันฉบับประจำวันที่ 4 เมษายน 2539 ความว่า "จุลพงศ์" หน้ามืดไม่สนคุก หวังพ้นผิดเอาใจเทศบาลเชียงใหม่ลงนามป้อนโรงไฟฟ้าถึงขั้นไม่กลัวอาญา งบจ้างเหมาเคเบิล 92.2 ล้านบาท อนุมัติเกินอำนาจพบไม่โปร่งใสเพียบทุกอย่างแล้วเสร็จภายในวันเดียว ไม่แคร์มติบอร์ดห้ามจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ และมีรายละเอียดประกอบว่าเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นายจุลพงศ์ จุลเกศ ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อนุมัติให้มีการดำเนินการจ้างเหมาก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวิธีพิเศษในลักษณะ TURN KEY ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมติที่ประชุมของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุด ห้ามมิให้นายจุลพงศ์จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษโดยเด็ดขาด แต่ปรากฏว่านายจุลพงศ์ ไม่ยอมปฏิบัติแต่อย่างใด ฯลฯ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวไม่อยู่ในแผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2539 แต่อย่างใด แต่นายจุลพงศ์พยายามผลักดันโดยการให้สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคเหนือ เป็นผู้เสนอโครงการขึ้นมาโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความต้องการเร่งด่วน และยังมีการหมกเม็ดโดยการเขียนบันทึกในการอนุมัติว่าอนุมัติในหลักการเสนอคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (บอร์ดเล็ก) เพื่อเลี่ยงมิให้บอร์ดยับยั้งโครงการนี้ รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่าได้มีการเสนอหลักการและเหตุผลของโครงการนี้ว่าเป็นความร่วมมือเทศบาลนครเชียงใหม่ในการฉลองวาระครบ 700 ปี ของเมืองเชียงใหม่ในปี 2539 โดยใช้งบประมาณในการดำเนินการ 92.2 ล้านบาท รายงานข่าวแจ้งว่ายังมีการกำหนดวงเงินค่าก่อสร้างจำนวน 92.2 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการในชั้นต้นประมาณ 70 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งมีส่วนต่างกันถึง 22 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไปที่เป็นเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนคู่สัญญาตามเงื่อนไขข้อ 1.4 จะต้องมีประวัติเป็นคู่สัญญากับทางราชการหรือองค์การของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงโดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท เท่ากับเป็นการปิดทางเอกชนรายอื่น ๆ ที่มีประสบการณ์ในงานวางระบบเคเบิลใต้ดิน แต่ไม่เคยมีประวัติในฐานะคู่สัญญาของหน่วยราชการมาก่อน และส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับนายจุลพงศ์มายาวนานยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งว่าในวันที่ 22 มีนาคม 2539 เป็นวันที่นายชาญ ถิระศุภะ ผู้อำนวยการฝ่ายเร่งรัดโครงการได้รับหนังสือจากกองจัดการโครงการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วอนุมัติเสนอต่อนายจุลพงศ์ แล้วมีการลงนามในวันเดียวกันโดยไม่มีขั้นตอนในการพิจารณารอบคอบแต่อย่างใด รายละเอียดข้อความดังกล่าวปรากฏในสำเนาภาพถ่ายหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเอกสารท้ายฟ้อง หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้วางจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักร ข้อความดังกล่าวมีความหมายเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามว่าผู้เสียหายซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ผิดระเบียบ มีเงื่อนงำ เร่งรัดจ้างเหมาโดยวิธีพิเศษ กำหนดประมาณการวงเงินค่าก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่สูงผิดปกติ เป็นการอนุมัติวงเงินเกินอำนาจโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและกำหนดเงื่อนไขพิเศษต่างหากเพื่อให้โอกาสกับบริษัทเอกชนที่เป็นพรรคพวกได้รับงานประมูลการก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงทำให้ผู้เสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งทางด้านส่วนตัวและทางการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326,328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484มาตรา 48 จำคุก 2 เดือน ปรับ 10,000 บาท จำเลยที่ 2 ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน และประกอบอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง เห็นควรให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาตามฎีกาจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุได้มีข้อความเรื่องการอนุมัติโครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ของผู้เสียหายตามฟ้องตีพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา สำหรับข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่าผู้เสียหายอนุมัติโครงการเกินวงเงินที่ผู้เสียหายมีอำนาจ งบจ้างเหมาเคเบิลพิเศษ 92.2ล้านบาท สูงกว่าประมาณการขั้นต้นประมาณ 70 ล้านบาทเท่านั้น โครงการนี้ไม่อยู่ในแผนการลงทุนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปี 2539 แต่ผู้เสียหายพยายามผลักดันเพื่อเลี่ยงมิให้บอร์ดยับยั้งโครงการและการอนุมัติของผู้เสียหายเป็นการดำเนินการที่เกินอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายชัดเจนผู้เสียหายไม่มีอำนาจดำเนินการอนุมัติการจัดซื้อ จัดจ้างในวงเงิน 92.2 ล้านบาทโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่เห็นว่า ข้อความทั้งสองประการดังกล่าว มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพูดกันว่า คณะกรรมการเคยมีมติห้ามผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จำเลยที่ 2 ในฐานะสื่อมวลชนต้องการเสนอข่าวโดยฉับไวและเข้าใจว่าคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีมติห้ามผู้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนเพราะฝ่ายบริหารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพยายามปกปิดข้อมูลนั้น เห็นว่า แม้จำเลยที่ 2 จะต้องเสนอข่าวโดยฉับไว แต่ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง จำเลยที่ 2 มิได้ตีพิมพ์โฆษณาว่าพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพูดกันว่าคณะกรรมการการไฟฟ้าภูมิภาคเคยมีมติห้ามผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษเท่าที่ได้ข่าวมา แต่กลับตีพิมพ์โฆษณายืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่เป็นการตีพิมพ์โฆษณาโดยเข้าใจคลาดเคลื่อนดังที่อ้างและที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ตีพิมพ์โฆษณาข้อความว่าผู้เสียหายเจตนาจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย จากพฤติกรรมการอนุมัติโครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้ารอบคูเมืองจังหวัดเชียงใหม่ของผู้เสียหายที่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและขัดต่อระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ผู้เสียหายจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาเป็นการกระทำคนละส่วนกับการอนุมัติโครงการก่อสร้าง การที่จำเลยที่ 2 ตีพิมพ์โฆษณาข้อความว่าผู้เสียหายเจตนาจัดทำคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย โดยไม่มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นว่าผู้เสียหายได้กระทำดังที่ตีพิมพ์โฆษณาจริงย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์ใส่ความผู้เสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารเฉพาะข้อความสองประการดังที่วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้นแต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กระทำผิดเฉพาะข้อความสองประการจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทุกข้อความตามฟ้องเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นผลร้ายน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำเลยที่ 2 ก็ควรเปลี่ยนไปในทางลดลงจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ศาลฎีกาก็แก้ไขโดยกำหนดโทษให้เหมาะสมได้

อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 มาด้วยนั้น เห็นว่า ยังไม่ถูกต้อง เพราะในความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยกมาตรา 326ขึ้นปรับบทลงโทษอีก"

พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 เดือนและปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 61 (วิชากฎหมายอาญา)

การเลิกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างมีครรภ์
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
ความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ
การฉกฉวยเอาทรัพย์ไปซึ่งหน้า
คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง