ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้ 

หนี้่ที่ขาดอายุความนั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าหนี้นั้นระงับไป ดังนั้นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วไม่มีสิทธิจะได้รับคืน

มาตรา 193/28 การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความ รับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วยแต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้

มาตรา 408 บุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ไม่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์คือ
(1) บุคคลผู้ชำระหนี้อันมีเงื่อนเวลาบังคับเมื่อก่อนถึงกำหนดเวลานั้น
(2) บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้ว
(3) บุคคลผู้ชำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม

กำหนดอายุความนั้นมีบัญญัติอยู่ทั่วไปในประมวลกฎหมายนแพ่งและพาณิขย์ และกฎหมายอื่น ๆ กำหนดอายุความจะมีระยะเวลามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งมีกำหนดแตกต่างกันไป เช่น ฟ้องให้รับผิดเพื่อการรอนสิทธิมีกำหนดอายุความสามเดือน ตามมาตรา 481

มาตรา 481 ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันคำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุดหรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น

ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่ามีกำหนดอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563

มาตรา 563 คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่าน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า

สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดตามมาตรา 448 มีกำหนดอายุความหนึ่งปี

มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด

แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิด มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมา นั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ

สิทธิเรียกร้องใดถ้าไม่มีกฎหมายบัญญวัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ก็มีกำนดอายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี

 บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกำหนดอายุความนั้นบางกรณีกฎหมายก็บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นเรื่องกำหนดอายุความ แต่บทบัญญัติของกฎหมายบางมาตราก็ไม่แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องกำหนดอายุความหรือไม่ จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา ตัวอย่างเช่น กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533

มาตรา 533 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดีหรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะ ถอนคืนการให้ได้ไม่

อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น

ปัญหามีว่า กำหนดเวลาหกเดือน ตามมาตรา 533 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้นเป็นอายุความหรือไม่นั้น มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2526 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยว่า เป็นอายุความ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกามิได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2526

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภรรยากัน จำเลยที่ 3 เป็นบุตรจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 4 เป็นพี่ชายจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 เป็นหลานโจทก์โจทก์อุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็ก โจทก์จดทะเบียนยกที่นาโฉนดเลขที่ 1623ให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 โดยเสน่หา บัดนี้โจทก์ชราภาพและยากไร้ ไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ประพฤติเนรคุณต่อโจทก์และหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เมื่อเดือนมิถุนายน 2521 จำเลยที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โดยเสน่หาและโดยไม่สุจริต และจำเลยที่ 3ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 โดยฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2กับที่ 3 และเพิกถอนการจดทะเบียนการขายระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์

จำเลยทั้งสี่ให้การว่า โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้โดยมีค่าตอบแทนจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เคยประพฤติเนรคุณหรือหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 3ขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ด้วยภาวะยากจน และเนื่องจากจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ยืมเงินจากจำเลยที่ 4 เพื่อชำระหนี้แทนโจทก์และให้โจทก์เป็นการตอบแทนขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 แล้วให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์

โจทก์และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ 1623 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ด้วยให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนที่พิพาทกลับคืนแก่โจทก์

จำเลยทั้งสี่ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2โดยเสน่หา จำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังสามารถจะให้ได้และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ทราบเหตุประพฤติเนรคุณแล้วมาฟ้องเป็นเวลาเกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันทราบเหตุคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กำหนดเวลาหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533 วรรคแรกเป็นอายุความ เมื่อความข้อนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

พิพากษายืน

 กรณีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529

มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วัน ผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้น กล่าวอ้าง

เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่ง อาศัยเหตุ อย่างอื่น

ปัญหามีว่า บทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นอยุความหรือไม่ มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514 วินิจฉัยว่า โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนดสามเดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509 เดิม (ปัจจุบันคือมาตรา 1529) และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 วินิจฉัยว่า ฟ้องขอหย่าเมื่อพ้นกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1509 เดิม (หรือมาตรา 1529 ปัจจุบัน) แต่เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิเรียกร้องขึ้นต่อสู้ศาลย่อมไม่วินิจฉัยถึงความระงับแห่งสิทธินั้น




อายุความฟ้องร้องคดี

ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ
ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง