ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดกลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ห้ามมิให้ลูกจ้างทำธุรกิจส่วนตัวประเภทเดียวกับนายจ้าง

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามมิให้ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่วนตัวที่เป็นประเภทเดียวกันกับธุรกิจของนายจ้าง การที่ภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสของลูกจ้างถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับนายจ้างถือเป็นความผิดร้ายแรงที่นายจ้างมีสิทธิไล่ออกโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2550

ท. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการเขตภาคเหนือของบริษัท ฮ. มีหน้าที่บริหารงานของบริษัท ฮ. ให้สามารถผลิตสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยมีประสิทธิภาพ รับผิดชอบโรงงานของบริษัท ฮ. ถึง 4 แห่ง แต่กลับให้ บริษัท ช. ซึ่งประกอบกิจการอย่างเดียวกันกับบริษัท ฮ. จัดตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ในบริเวณโรงงานของบริษัท ฮ. โดย อ. ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของ ท. ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ช. พฤติการณ์ของ ท. จึงเป็นปรปักษ์ต่อทางการค้าและเป็นการดำเนินธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง บริษัท ฮ. จึงเลิกจ้าง ท. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 655,220 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 65,522 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 3,931,320 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 65,522 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จ่ายค่าชดเชยจำนวน 655,220 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะใช้ให้โจทก์เสร็จ

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการเดียวว่า โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย บทที่ 7 ข้อ 39 ระบุว่า "พนักงานเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่วนตัวที่มีลักษณะงานประเภทเดียวกันหรือเหมือนกันกับนายจ้างถือว่าเป็นความผิดขั้นร้ายแรง" ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวห้ามมิให้พนักงานเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่วนตัวประเภทเดียวกันหรือเหมือนกันกับนายจ้างเพื่อมิให้พนักงานซึ่งรับทราบข้อมูลภายในธุรกิจของนายจ้างแล้วไปดำเนินธุรกิจซึ่งอาจเป็นการแข่งขันกับนายจ้างอันมีผลให้ประโยชน์ส่วนตนของพนักงานกับประโยชน์ของนายจ้างมีความขัดแย้งกัน และอาจเสียหายแก่นายจ้างได้ ตามข้อเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ปรากฏว่าจำเลยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จโดยโจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2537 จนกระทั่งได้เป็นผู้จัดการเขตภาคเหนือประจำจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 ได้มีการจัดตั้งบริษัทเชียงใหม่คอนกรีตโปรดักส์ (2003) จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จเช่นเดียวกับจำเลย มีที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในบริเวณเดียวกันกับโรงงานของจำเลย (โรงงานแม่โจ้ เชียงใหม่ 3) โดยมีนางสาวอำพรรณ์ ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของโจทก์เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่จำนวน 9,999 หุ้น นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2546 ได้มีการจัดตั้งบริษัทเชียงใหม่เพอร์เฟกท์โฮม จำกัด ประกอบกิจการจัดสรรที่ดินและค้าอสังหาริมทรัพย์ โดยโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวด้วย ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการเขตภาคเหนือของจำเลย มีหน้าที่ในการบริหารงานของจำเลยให้สามารถผลิตสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยมีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบโรงงานของจำเลยถึง 4 แห่ง คือโรงงานที่จังหวัดเชียงใหม่ 3 แห่ง และโรงงานที่จังหวัดพิษณุโลก 1 แห่ง ไม่ดูแลรักษาประโยชน์ของจำเลย ทราบว่าบริษัทเชียงใหม่คอนกรีตโปรดักส์ (2003) จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จเช่นเดียวกับจำเลย จัดตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ในบริเวณเดียวกับโรงงานของจำเลย และให้นางสาวอำพรรณ์ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นปรปักษ์ต่อทางการค้าของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นการดำเนินธุรกิจแข่งขันกับจำเลย แม้โจทก์จะไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทเชียงใหม่คอนกรีตโปรดักส์ (2003) จำกัด ด้วยตนเอง แต่เป็นการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจส่วนตัวที่มีลักษณะงานประเภทเดียวกันหรือเหมือนกันกับนายจ้างอันเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานบทที่ 7 ข้อ 39 ซึ่งจำเลยสามารถเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานบทที่ 9 ข้อ 4 เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงซึ่งจำเลยจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ ทั้งการเลิกจ้างเพราะเหตุที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงย่อมมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

มาตรา ๔๙ การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 583 ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดีหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดีละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดีหรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้

 




คำพิพากษาศาลฎีกา

สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง article
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง