ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย

    โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย

    โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองที่ดินถูกรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 และ มาตรา 1337 ทั้งคำฟ้องดังกล่าวยังเป็นการบรรยายฟ้องว่า การใช้สิทธิดำเนินกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 บัญญัติว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14701/2557

การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยออกระเบียบแก่บุคคลที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟของจำเลย ห้ามมิให้ใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ห้ามมิให้ตั้งทีสูงเกิน 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 และกำหนดเวลาเปิดปิดตั้งแต่ 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421, 1337, 1337 และ 1374 เพื่อระงับยับยั้งมิให้การใช้สิทธิของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 5 และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง และเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยในฐานะผู้ประกอบกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟโดยตรงให้กระทำการและเป็นผู้ออกระเบียบ มิใช่เป็นการบังคับบุคคลภายนอกซึ่งสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้

     โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยสร้างแผงตาข่ายกั้นลูกกอล์ฟร่วงหล่นขึ้นใหม่ โดยมีความสูง 30 เมตร มีหลังคาปกคลุมด้านบนมิดชิดและมีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยเพื่อป้องกันลูกกอล์ฟหรือวัตถุอื่นใดหลุดกระเด็นหรือร่วงหล่นจากสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยเข้ามาในที่ดินของโจทก์ และให้จำเลยออกระเบียบมิให้บุคคลที่มาใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพในการตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ที่บริเวณชั้นสองของอาคาร และมิให้ใช้ทีตั้งลูกกอล์ฟสูงเกินกว่า 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้นหนึ่งของอาคาร รวมทั้งการเปิดปิดของสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยตั้งแต่เวลา 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการถาวร หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด

     จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

     ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยป้องกันลูกกอล์ฟหรือวัตถุอื่นใดกระเด็นหลุดออกจากสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยเข้ามาในที่ดินของโจทก์ และให้จำเลยออกระเบียบมิให้บุคคลที่มาใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพในการตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ที่บริเวณชั้นสองของอาคารและมิให้ใช้ที (TEE) ตั้งลูกกอล์ฟสูงเกินว่า 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 ของอาคาร รวมทั้งกำหนดเวลาให้สนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการถาวร ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

     ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยสร้างแผงตาข่ายป้องกันลูกกอล์ฟกระเด็นหลุดหรือร่วงหล่นออกนอกสนามเข้าไปในที่ดินของโจทก์มีความสูงไม่ต่ำกว่า 18 เมตร และให้ทำตาข่ายคลุมด้านบนด้วย โดยให้มีมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และตามคำแนะนำแก้ไขปรับปรุงสภาพของสถานที่ประกอบกิจการของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเป็ด นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท

     จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องว่าการที่นางสิริพรถูกลูกกอล์ฟที่ตีมาจากสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่เป็นการบรรยายฟ้องว่านางสิริพร กรรมการของโจทก์เข้าไปสำรวจที่ดินเพื่อจะว่าจ้างคนงานถมที่ดินเพื่อประกอบธุรกิจบ้านจัดสรร และถูกลูกกอล์ฟที่ตีมาจากสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลย และต่อไปพนักงานและลูกค้าของโจทก์จะต้องเข้ามาทำงานและติดต่อธุระในที่ดินของโจทก์อาจได้รับอันตรายแก่กายและทรัพย์สินได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ติดต่อจำเลยเพื่อให้จำเลยติดตั้งแผงตาข่ายป้องกันลูกกอล์ฟร่วงหล่นออกนอกสนามด้านที่ติดกับที่ดินโจทก์โดยมีหลังคาคลุมหลายครั้งหลายหนแต่จำเลยปฏิเสธ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองที่ดินถูกรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 และ มาตรา 1337 ทั้งคำฟ้องดังกล่าวยังเป็นการบรรยายฟ้องว่า การใช้สิทธิดำเนินกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟของจำเลยมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 บัญญัติว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

     ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้จำเลยออกระเบียบแก่บุคคลที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟของจำเลยห้ามมิให้ใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ห้ามมิให้ตั้งทีสูงเกิน 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 และกำหนดเวลาเปิดปิดตั้งแต่ 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการจำกัดสิทธิพื้นฐานในการประกอบอาชีพของจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นการบังคับบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่ความ และสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือไม่ ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 5 บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน การใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม นั้นจึงต้องไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้งต้องเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพภายใต้กฎหมายเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ดังกล่าวเป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421, 1337 และ 1374 เพื่อระงับยับยั้งมิให้การใช้สิทธิของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการบังคับบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความ และสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องกระทำได้นั้น เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ดังกล่าวเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยในฐานะผู้ประกอบกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟโดยตรงให้กระทำการและเป็นผู้ออกระเบียบ มิใช่เป็นการบังคับบุคลภายนอกซึ่งสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

     พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 4,000 บาท

 ความเดือดร้อนเกินที่ควรคิด

     ศาลชั้นต้นเห็นว่า*แม้บ้านและสิ่งก่อสร้างของจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ยังสามารถใช้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ภายนอกได้ แม้โจทก์จะไม่ได้รับความสะดวกเพราะทางบางช่วงแคบก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337

ข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้นยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองให้เสร็จสิ้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2549

อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ชอบที่จะใช้สอยทางพิพาทได้ การที่จำเลยปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในทางอันเป็นการกีดขวางการเข้าออกที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะเข้าออกได้แต่ก็ขาดความสะดวก จึงเป็นการใช้สิทธิของตนอันมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 421, 1337 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทได้นั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงที่ควรจะฟังอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นและเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า การที่จำเลยปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร และได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ

     โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 13940 ทิศตะวันตกของที่ดินดังกล่าวติดทางสาธารณประโยชน์ กว้าง 3 เมตร ซึ่งโจทก์ใช้เข้าออกที่ดินและบ้านของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นทางเข้าหมู่บ้าน จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2956 ด้านทิศตะวันออกของที่ดินดังกล่าวติดทางสาธารณประโยชน์ยาวตลอดแนวจากทิศเหนือจดทิศใต้ซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่โจทก์ใช้เข้าออกที่ดินและบ้านของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 15/2 ซึ่งปลูกลงในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อประมาณปี 2545 ถึง 2546 จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างโรงเรือนที่ใช้เป็นร้านค้าขายของชำและห้องพักให้ผู้อื่นเช่า ผนังและชายคาด้านทิศตะวันออกรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยที่ 1 ทำความตกลงยินยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ต่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว กลับนำเสาคอนกรีตมาปักแล้วขึงลวดหนามเป็นรั้วยาวตลอดแนวประมาณ 48 เมตร รุกล้ำในทางสาธารณประโยชน์ที่โจทก์ใช้เข้าออกที่ดินของโจทก์ ทำให้ทางบางช่วงเหลือทางเข้าออกเพียง 2.50 เมตร เมื่อปี 2535 จำเลยที่ 2 ได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ 15/2 ลงในที่ดินของจำเลยที่ 1 ผนังด้านทิศตะวันออกและชายคารุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์เหลือทางเข้าออกประมาณ 1.60 เมตร โจทก์แจ้งเหตุแห่งความเสียหายและความเดือดร้อนแก่จำเลยทั้งสองเพื่อรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางสาธารณประโยชน์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้หรือได้รับประโยชน์เข้าออกทางสาธารณประโยชน์ได้โดยสะดวก อันเป็นการใช้สิทธิของจำเลยทั้งสองซึ่งมีแต่ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ทางสาธารณประโยชน์ตามปกติอันถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมรื้อถอนให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

     จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างร้านค้าและห้องแถวอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ห้องแถวด้านหลังติดทางสาธารณประโยชน์ และทำรั้วลวดหนามตามแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยมีหลักเขตของที่ดินบ่งบอกเป็นหลักฐานตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านที่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ จำเลยที่ 1 มิได้บุกรุกหรือล้อมรั้วรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ ทางสาธารณประโยชน์พิพาทแต่เดิมเป็นทางควายเดิน ต้นทางจากคลองบางเดื่อไปสุดทางที่ที่ดินของนายทองอยู่ ทางดังกล่าวคดเคี้ยว มีความกว้างประมาณ 3 เมตร โจทก์และบุคคลอื่นไม่มีทางออก นายทองอยู่จึงอนุญาตให้ใช้ที่ดินเป็นทางออกกว้าง 3 เมตร ยาว 13.50 เมตร เมื่อปี 2547 ผู้ใช้ทางสาธารณประโยชน์ร้องเรียนต่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อว่าจำเลยที่ 1 ปลูกห้องแถวรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อเข้าตรวจสอบปรากฏว่าชายคาห้องแถวรุกล้ำจึงได้ทำหนังสือเป็นบันทึกลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 ให้จำเลยที่ 1 ตัดชายคาห้องแถวให้เสร็จภายในวันที่ 25 เมษายน 2547 จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการรื้อสิ่งที่รุกล้ำทางสาธารณประโยชน์เสร็จก่อนกำหนด ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริการส่วนตำบลบางเดื่อหากมีผู้บุกรุกหรือละเมิดการฟ้องคดีต้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อเป็นผู้ดำเนินการ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

     จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ปลูกบ้านเลขที่ 15/2 ถัดจากร้านค้าและห้องแถวของจำเลยที่ 1 ผนังบ้านด้านทิศตะวันออกติดทางสาธารณและมิได้รุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ ผนังบ้านของจำเลยที่ 2 ตลอดแนวจากผนังบ้านไปถึงรั้วฝั่งตรงข้ามมีความกว้าง 3 เมตรเศษ ขอให้ยกฟ้องโจทก์

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
         โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เห็นว่า โจทก์ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โดยมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาพอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าแม้บ้านและสิ่งก่อสร้างของจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ยังสามารถใช้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ภายนอกได้ แม้โจทก์จะไม่ได้รับความสะดวกเพราะทางบางช่วงแคบก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 เมื่อฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทตามฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ซึ่งเป็นประชาชนคนหนึ่งชอบที่จะใช้สอยทางพิพาทได้โดยสะดวก การที่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิของตนปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณประโยชน์อันเป็นการกีดขวางการเข้าออกที่ดินของโจทก์แม้โจทก์จะเข้าออกได้ แต่โจทก์ก็ขาดความสะดวกในการใช้ทางพิพาท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการใช้สิทธิของตนอันมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421, 1337 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทตามฟ้องได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงที่ควรจะฟัง อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณประโยชน์อันเป็นการกีดขวางการเข้าออกที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร และได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คดีมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรอย่างไร มากน้อยเพียงใด แต่ข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้นยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นเสียได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247”

      พิพากษายกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองให้เสร็จสิ้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ.




ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย article
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด