ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้

ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้

กฎหมายห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ที่นำที่ดินของโจทก์ไปขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปจำนองไว้กับจำเลยที่ 3 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ และฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในคดีเดียวกันนั้นต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2549

ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 195 ต. เขาทราย อ. ทับคล้อ จ. พิจิตร โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตาม ป.พ.พ. 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้

มาตรา 1336  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 195 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พร้อมบ้านเลขที่ 947 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนโจทก์ และให้จำเลยที่ 2 และบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านดังกล่าว

จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์แล้ว โจทก์แถลงว่าจำเลยที่ 1 เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จริง และก่อนคดีนี้โจทก์ได้ร้องขอให้พนักงานอัยการจังหวัดพิจิตรฟ้องจำเลยที่ 1 ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 340/2540 ของศาลชั้นต้น และต่อมาศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดการชี้สองสถานและงดสืบพยาน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 195 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นบุพการีของโจทก์ ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมตกไปด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในชั้นนี้ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้

 อุทลุม (อ่านว่า-อุดทะลุม)  ซึ่งมีความหมายประมาณว่า ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง ซึ่งคำว่า  "อุทลุม"  ในทางกฎหมายแล้วใช้เรียกบุคคลที่ฟ้องร้องบุพการีผู้มีพระคุณเป็นคดีในศาล จึงเรียกว่า คนอุทลุม และเรียกคดีว่า เป็นคดีอุทลุม ซึ่งมีปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ดังนี้คือ

-มาตรา 21 อนึ่ง ในฟ้องนั้นเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อันหาความแก่พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ดี ให้ยกฟ้องเสีย

-มาตรา 25 ผู้ใดเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา  ยาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกรรจ์ อย่าให้มันคนร้ายนั้นดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป แล้วอย่าให้บังคับบัญชาว่ากล่าวคดีของมันนั้นเลย
 
คณะกรรมการร่าง ป.พ.พ. ได้รับเอาหลักว่าด้วยคุณธรรมของมนุษย์หลายเรื่องจากกฎหมายตราสามดวงมาไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายของประเทศอื่น ๆ  และเรื่องคดีอุทลุมด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว, ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร, หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร ที่ยังใช้บังคับอยู่จนปัจจุบัน ห้ามผู้สืบสันดาน ฟ้องบุพการี ของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา โดยบัญญัติว่า
 
"มาตรา 1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้"
 
ศาลไทยตีความโดยเคร่งครัดว่า "บุพการี" หมายถึง "ผู้ที่ทำการอุปการะมาก่อน"  ก็ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และทวด โดยทางสายโลหิตเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงกรณีที่บุตรบุญธรรมจะฟ้องบุพการีบุญธรรมของตน จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547/2548 " ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงต้องถือว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นการห้ามเฉพาะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ฎีกาจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น"
 
อย่างไรก็ดี การที่บุตรจะฟ้องบุพการีของตนมิใช่เพื่อให้รับผิดต่อกันในทางส่วนตัว หรือในฐานะอื่นที่ไม่ถือว่าเป็นการพิพาทกันระหว่างบุตรกับบุพการี ไม่จัดเป็นอุทลุมตามกฎหมายปัจจุบัน
 
การที่โจทก์ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนผู้เยาว์เป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามตามมาตรา 1562 แต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลย ก็ไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะฟ้องในฐานะที่เป็นมารดาและ
เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2519)

 




บิดามารดา กับ บุตร

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร