ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หมวด 2 ค้น มาตรา 91 ถึง มาตรา 105

หมวด 2 ค้น

มาตรา 91 ใให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 81/1มาบังคับในเรื่องค้นโดยอนุโลม

มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น

(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน

(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสั ยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น

(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมา ได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78

การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้น และบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้ แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป 

มาตรา 93 ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

ตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน

ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นตัวจำเลยนั้น จำเลยกำลังขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านของจำเลย และมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยจึงไม่ใช่ที่รโหฐาน ที่ตำรวจจะต้องมีหมายค้น แต่เป็นที่สาธารณสถาน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3751/2551 

มาตรา 94 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นในที่ รโหฐานสั่งเจ้าของหรือคนอยู่ในนั้นหรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ ยอมให้เข้าไปโดยมิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควรทุก ประการในอันที่จะจัดการตามหมาย ทั้งนี้ให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมาย หรือถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ให้แสดงนามและตำแหน่ง

ถ้าบุคคลดั่งกล่าวในวรรคต้นมิยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจ ใช้กำลังเพื่อเข้าไปในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตู เรือนหน้าต่าง รั้วหรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันก็ได้

มาตรา 95 ในกรณีค้นหาสิ่งของที่หาย ถ้าพอทำได้ จะให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสิ่งของนั้นหรือผู้แทนของเขาไปกับเจ้าพนักงานใน การค้นนั้นด้วยก็ได้

มาตรา 96 การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้

(1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้

(2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้

(3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ จะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

มาตรา 97 ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมาย ค้นหรือผู้รักษาการแทน ซึ่งต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสาม หรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไป เท่านั้นมีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น

มาตรา 98 การค้นในที่รโหฐานนั้น จะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคน หรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดั่งนี้

(1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมี อำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์ หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย

(2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจ ับบุคคลหรือสิ่งของอื่นใน ที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า

มาตรา 99 ในการค้นนั้น เจ้าพนักงานต้องพยายามมิให้มีการ เสียหายและกระจัดกระจายเท่าที่จะทำได้

มาตรา 100 ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือ จะถูกค้นจะขัดขวางถึงกับทำให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมี อำนาจเอาตัวผู้นั้นควบคุมไว้ หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงาน ในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้การขัดขวางถึงกับทำให้ การค้นนั้นไร้ผล

ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นได้ เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อน ในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ดั่งบัญญัติไว้ตาม มาตรา 85

มาตรา 101 สิ่งของซึ่งยึดได้ในการค้น ให้ห่อหรือบรรจุหีบห่อตีตรา ไว้หรือให้ทำเครื่องหมายไว้เป็นสำคัญ

มาตรา 102 การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงาน ผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อ หน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหา บุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน

การค้นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้ต้องหา หรือจำเลยซึ่งถูกควบคุม หรือขังอยู่ให้ทำต่อหน้าผู้นั้น ถ้าผู้นั้นไม่สามารถหรือไม่ติดใจมากำกับ จะตั้งผู้แทนหรือให้พยานมากำกับก็ได้ ถ้าผู้แทนหรือพยานไม่มี ให้ ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวหรือต่อหน้าพยานดั่งกล่าวในวรรคก่อน

สิ่งของใดที่ยึดได้ต้องให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทนหรือพยานดูเพื่อให้รับรองว่าถูกต้อง ถ้าบุคคล เช่นกล่าวนั้น รับรองหรือไม่ยอมรับรองก็ให้บันทึกไว้

มาตรา 103 ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นบันทึกรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องมีบัญชีรายละเอียดไว้

บันทึกการค้นและบัญชีสิ่งของนั้นให้อ่าน ให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทนหรือพยานฟังแล้วแต่กรณี แล้วให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้

มาตรา 104 เจ้าพนักงานที่ค้นโดยมีหมาย ต้องรีบส่งบันทึกและ บัญชีดั่งกล่าวใน มาตรา ก่อนพร้อมด้วยสิ่งของที่ยึดมาถ้าพอจะส่งได้ ไปยังผู้ออกหมายหรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กำหนด ไว้ในหมาย

ในกรณีที่ค้นโดยไม่มีหมายโดยเจ้าพนักงานอื่น ซึ่งไม่ใช่พนักงาน สอบสวนให้ส่งบันทึก บัญชีและสิ่งของไปยังพนักงานสอบสวนหรือ เจ้าหน้าที่ใดซึ่งต้องการสิ่งเหล่านั้น

มาตรา 105 จดหมาย ไปรษณียบัตร โทรเลข สิ่งพิมพ์หรือเอกสาร อื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลยและ ยังมิได้ส่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา

ถ้าอธิบดีกรมตำรวจ หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่าเอกสาร นั้นต้องการใช้เพื่อการดั่งกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาลมีอำนาจ ขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน

บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น

 




ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น ลักษณะ 1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 15
ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หลักทั่วไป มาตรา 16
หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน มาตรา 17 ถึง มาตรา 21
หมวด 3 อำนาจศาล มาตรา 22 ถึง มาตรา 27
ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา มาตรา 28 ถึง มาตรา 39
หมวด 2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มาตรา 40 ถึง มาตรา 51
ลักษณะ 4 หมายเรียกและหมายอาญา หมวด 1 หมายเรียก มาตรา 52 ถึง มาตรา 56
หมวด 2 หมายอาญา ส่วนที่ 1 หลักทั่วไป มาตรา 57 ถึง มาตรา 65
ส่วนที่ 2 หมายจับ มาตรา 66 ถึง มาตรา 68
ส่วนที่ 3 หมายค้น มาตรา 69 ถึง มาตรา 70
ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย มาตรา 71 ถึง มาตรา 76
ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว หมวด 1 จับ ขัง จำคุก มาตรา 77 ถึง มาตรา 90
หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว มาตรา 106 ถึง มาตรา 119
ภาค 2 สอบสวน ลักษณะ 1 หลักทั่วไป มาตรา 120 ถึง มาตรา 129
ลักษณะ 2 การสอบสวน หมวด 1 การสอบสวนสามัญ มาตรา 130 ถึง มาตรา 147
หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ มาตรา 148 ถึง มาตรา 156
ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง มาตรา 157 ถึง มาตรา 171
ลักษณะ 2 การพิจารณา มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
ลักษณะ 3 คำพิพากษาและคำสั่ง มาตรา 182 ถึง มาตรา 192
ภาค 4 อุทธรณ์และฎีกา ลักษณะ 1 อุทธรณ์ หมวด 1 หลักทั่วไป มาตรา 193 ถึง มาตรา 202
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษาและคำสั่งชั้นศาลอุทธรณ์ มาตรา 203 ถึง มาตรา 215
ลักษณะ 2 ฎีกา หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษาและคำสั่งชั้นฎีกา มาตรา 225
ภาค 5 พยานหลักฐาน หมวด 1 หลักทั่วไป มาตรา 226 ถึง มาตรา 231
หมวด 2 พยานบุคคล มาตรา 232 ถึง มาตรา 237
หมวด 3 พยานเอกสาร มาตรา 238 ถึง มาตรา 240
หมวด 4 พยานวัตถุ มาตรา 241 ถึง มาตรา 242
หมวด 5 ผู้ชำนาญการพิเศษ มาตรา 243 ถึง มาตรา 244
หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา มาตรา 245 ถึง มาตรา 251
หมวด 2 ค่าธรรมเนียม มาตรา 252 ถึง มาตรา 258
ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ มาตรา 259 ถึง มาตรา 267