ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร 

มิได้จดทะเบียนสมรสกัน อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว เรียกบุตรคืน บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตร 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2559

โจทก์และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กหญิง ว. โจทก์จึงมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวย่อมมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น ซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.พ.พ. 1567 (1) และ (4) ขณะที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปอยู่ที่บ้านบิดามารดาจำเลยที่สุราษฎร์ธานี ผู้เยาว์ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว จำเลยจะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนรับรองบุตร และต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยจะได้จดทะเบียนรับรองผู้เยาว์เป็นบุตรอันทำให้จำเลยมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ก็ตาม ก็หากระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ถูกต้องแห่งอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกบุตรคืนจากจำเลยได้

กรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรผู้เยาว์ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น และการที่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกับมารดาทำข้อตกลงกันว่าให้บิดาใช้อำนาจปกครองในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และให้มารดาใช้อำนาจปกครองบุตรในวันเสาร์อาทิตย์นั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีกฎหมายให้ตกลงกันเช่นนั้นได้ ต่อมาเมื่อมารดาชอบด้วยกฎหมายประสงค์จะเรียกบุตรคืนจากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 1567 ที่กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย มารดาเรียกบุตรคืนได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543

 โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)

คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้ส่งบุตรคืนโจทก์ ณ บ้านเลขที่ 305/56 หมู่ที่ 2 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยกับโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชายจตุรงค์ กลางปี 2539 โจทก์และจำเลยแยกทางกัน โจทก์นำบุตรไปพักอาศัยอยู่กับญาติของโจทก์ที่จังหวัดราชบุรี แต่ไม่สนใจบุตรเอาแต่เที่ยวเตร่ เล่นการพนัน จนบุตรป่วยหนัก จำเลยจึงนำบุตรกลับมารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลกรุงเทพ แพทย์ตรวจแล้ววินิจฉัยว่าบุตรเป็นโรคไวรัสลงกระเพาะ หากรักษาไม่ทันอาจถึงแก่ความตายได้ หลังจากนั้นจำเลยได้นำโจทก์และบุตรมาพักอาศัยอยู่กับจำเลยที่บ้านของจำเลย โดยจำเลยจ่ายค่าใช้จ่ายรายเดือนให้แก่โจทก์ ต่อมาปี 2541 โจทก์ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง จึงขอแยกทางกับจำเลย โดยมีข้อตกลงให้บุตรอยู่กับจำเลยระหว่างวันจันทร์ถึงวันวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์อยู่กับโจทก์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 โจทก์ทะเลาะกับนางสาวชติกาโดยจำเลยไม่ทราบเรื่อง ต่อมาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 โจทก์ขนของย้ายทรัพย์สินโจทก์ออกจากบ้านไปเองโดยจำเลยไม่ได้ขับไล่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้ส่งมอบบุตรเพราะเป็นการปฏิบัติผิดข้อตกลงที่มีระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ไม่พอใจที่จำเลยไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูรายเดือน จึงแกล้งฟ้องคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ดูแลบุตรไม่ดี เอาแต่เที่ยวเตร่ เล่นการพนัน ไม่เอาใจใส่ดูแลบุตร ปล่อยให้ญาติดูแล บุตรป่วยโจทก์ก็ไม่รักษาพยาบาลโดยเร็ว เป็นการใช้อำนาจปกครองแก่ตัวบุตรผู้เยาว์โดยมิชอบและไม่สมควร ขอให้ยกฟ้อง และขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองของโจทก์ และตั้งจำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ได้ประพฤติตัวตามฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ได้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบหรือประพฤติชั่วร้าย โจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครอง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

    ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยส่งมอบเด็กชายจตุรงค์ให้แก่โจทก์ ให้ยกฟ้องแย้งจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับทั้งสองฝ่าย
    จำเลยอุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งเห็นสมควรให้เป็นพับ

   จำเลยฎีกา

 ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ปี 2536 โจทก์จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ต่อมามีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กชายจตุรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2538 ในปลายปี 2541 โจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกเป็นสามีภริยากันโดยมีข้อตกลงว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์เด็กชายจตุรงค์อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นฝ่ายเลี้ยงดู ส่วนวันเสาร์ถึงวันอาทิตย์เด็กชายจตุรงค์อยู่กับโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายเลี้ยงดู ปัจจุบันเด็กชายจตุรงค์อยู่กับจำเลย คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเด็กชายจตุรงค์คืนจากจำเลยได้หรือไม่ ในปัญหานี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จากข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเด็กชายจตุรงค์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ส่วนอำนาจปกครองเด็กชายจตุรงค์นั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้บัญญัติแก้ไขใหม่ในปี 2533 ว่าบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา แม้บทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติยกเว้นเช่นกฎหมายเก่าก่อนมีการแก้ไขที่ให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรก็ตาม เมื่อเด็กชายจตุรงค์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว ตามมาตรา 1546 อำนาจปกครองเด็กชายจตุรงค์ก็ต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยซึ่งเป็นบิดาเด็กชายจตุรงค์ แต่เด็กชายจตุรงค์มิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เด็กชายจตุรงค์จึงไม่ต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของจำเลยตามความหมายของมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์มีอำนาจปกครองเด็กชายจตุรงค์ฝ่ายเดียว การที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้เด็กชายจตุรงค์อยู่กับจำเลยในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และจำเลยเป็นฝ่ายเลี้ยงดู โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกระทำได้ตามมาตรา 1567 (1) ในเรื่องการกำหนดที่อยู่ของเด็กชายจตุรงค์ซึ่งเป็นบุตร ครั้นต่อมาเมื่อโจทก์มีความประสงค์ที่จะไม่ให้เด็กชายจตุรงค์อยู่กับจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะกระทำได้ตามมาตรา 1567 (4) ในเรื่องเรียกเด็กชายจตุรงค์คืนจากจำเลยที่เป็นบุคคลอื่น เพราะจำเลยเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกักเด็กชายจตุรงค์ไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ แม้โจทก์จำเลยจะมีข้อตกลงกันไว้ก่อนดังกล่าวแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องบิดามารดาตกลงกันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) เนื่องจากจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชายจตุรงค์ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชายจตุรงค์ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชายจตุรงค์คืนจากจำเลยได้

ปัญหาต่อไปโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยฎีกาว่า ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยได้ระบุว่า โจทก์ไม่พอใจที่จำเลยไม่ให้ค่าใช้จ่ายรายเดือนแก่โจทก์เช่นเคย จึงแกล้งฟ้อง การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ไม่ได้ให้การแก้ฟ้องแย้งในส่วนนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต ในปัญหานี้ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวนั้น เป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น เนื่องจากข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างดังกล่าวนั้นมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เป็นหน้าที่จำเลยจะต้องนำสืบ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย จำเลยไม่คัดค้าน ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบข้อเท็จจริงส่วนนี้ จึงไม่มีประเด็นที่จะให้วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ในปัญหาข้อนี้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้นทุกข้อ

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับทั้งสองฝ่าย.

  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น

มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของ บิดามารดาอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547

 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ 3 ระบุว่า? จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ

สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร ๑ คน คือเด็กชายมาร์ค แวนลู จำเลยใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตรโดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลย และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ผู้เดียว ชั้นพิจารณาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยผิดสัญญาไม่นำบุตรให้มาอยู่กับโจทก์ตามที่ตกลงกัน ขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ผู้เดียว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่นำบุตรให้มาอยู่กับโจทก์ตามสัญญา อำนาจปกครองบุตรจึงอยู่กับโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมโดยไม่จำต้องบังคับคดี ยกคำร้อง ค่าคำร้องให้เป็นพับ โจทก์มีอำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตรตาม ป.พ.พ. ต่อไป

จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้จำเลย ขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสัญญาและส่งมอบบุตรให้แก่จำเลย

โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่นำบุตรให้มาอยู่กับโจทก์ ขอให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า ตามพฤติการณ์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้สิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยเป็นไปตามสัญญาเดิม

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากนี้ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ประการแรกว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า สัญญาประนีประนอม ยอมความข้อ ๑ ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชายมาร์ค แวนลู โดยทั้งสองฝ่ายจะไปดำเนินการ ให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันทำสัญญานี้ โดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ ๒. โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ ๓ ระบุว่า ?หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และ บังคับได้ทันที ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชายมาร์ค แวนลู การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันทำสัญญา ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชายมาร์คเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๗ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วโจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนสัญญาข้อ ๓ ที่ระบุว่า ?หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันที ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ ๑ ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายรับเด็กชายมาร์คเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันที มิใช่ว่าโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ ๑. อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๗ ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น

อย่างไรก็ตามปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมหรือไม่ เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) เห็นว่า สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ ๒ และข้อ ๓ ได้จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ ๑ ก่อน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๖ บัญญัติว่า "เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น" และมาตรา ๑๕๔๗ บัญญัติว่า "เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันใน ภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร" และมาตรา ๑๕๖๖ บัญญัติว่า "บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา?" คดีนี้ได้ความว่าโจทก์และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือเด็กชายมาร์ค แวนลู จำเลยซึ่งเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรเพียงผู้เดียว ตามมาตรา ๑๕๔๖ และ ๑๕๖๖ แม้ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกัน แต่ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและ ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายโดยร้องขอต่อศาล ให้พิพากษาว่าเด็กชายมาร์คเป็นบุตรของโจทก์ หรือโจทก์ได้จดทะเบียนรับว่าเด็กชายมาร์คเป็นบุตรของโจทก์ หรือโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายมาร์ค แวนลู จึงไม่อาจเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชายมาร์ค แวนลู ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ ๑ โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ ๓ ได้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ ๒ และข้อ ๓ หรือไม่

 พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรรณ์และยกคำร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ.

   สามีภริยาสมรสกันตามกฎหมาย

 ชายหญิงเมื่อทำการสมรสกันแล้ว ทั้งคู่ย่อมเป็นสามีภริยากันตามกฏหมาย มีความสัมพันธ์ฉันท์สามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันและต้องอยู่กินกันฉันสามีภริยา เมื่อเกิดบุตร เด็กจะถูกกำหนดให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายและหญิงนั้น ในด้านความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ง่าย โดยปกติแล้วเด็กเกิดจากครรภ์ของหญิงใดย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น โดยไม่มีทางปฏิเสธเป็นอย่างอื่น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551 ส่วนความเป็นบิดากับบุตรเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ยาก กฏหมายจึงได้กำหนดข้อสันนิษฐานไว้ในเบื้องต้นว่า เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีมารดา แต่เนื่องจากการกำหนดความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ความจริงแล้วเด็กนั้นอาจมิใช่บุตรที่แท้จริงของชายที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นบิดาก็ได้ กฏหมายจึงกำหนดให้มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้โดยฝ่ายชายผู้เป็นบิดาตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และแม้แต่เด็กเอง ก็ยังสามารถฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้เช่นกัน

 ความเป็นบิดามารดาและบุตรเป็นข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ เด็กทุกคนที่เกิดมาย่อมต้องมีทั้งบิดาและมารดา แต่กฎหมายจะยอมรับหรือไม่เพียงใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งความเป็นมารดาและบุตรเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ง่าย เด็กเกิดจากครรภ์ของหญิงใดโดยปกติแล้ว ย่อมเป็นบุตรของหญิงนั้น แต่อาจมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้ กฏหมายจึงได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 ว่า

"เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น"

ตามบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายใช้คำว่า"ให้ถือว่า" ซึ่งเป็นถ้อยคำที่หนักแน่นกว่าการสันนิษฐาน เนื่องจากความเป็นมารดาและบุตรเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ง่ายนักและสามารถนำสืบได้ง่ายกว่าความเป็นบิดาและบุตร โดยปกติแล้วเด็กย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเสมอ ไม่ว่าหญิงมารดาจะได้สมรสกับชายใดหรือไม่ก็ตาม

หากหญิงมารดาไม่ได้สมรส เด็กนั้นจะมีสถานะเป็นบุตรนอกสมรส แต่หากหญิงมารดาสมรสกับชายใดเด็กที่เกิดมาภายหลังย่อมถูกสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้นั้น

ในกรณีที่เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว มารดาเท่านั้นที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร มีสิทธิเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นที่ไม่มีอำนาจกักตัวบุตรไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2518 

ผู้เยาว์ซึ่งเกิดจากบิดาและมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา และมารดามีอำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ได้

การนำสืบว่าผู้มีชื่อในโฉนดไม่ใช่เจ้าของที่ดิน แต่ลงชื่อในโฉนดแทนผู้อื่นนั้น หาใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนายทรวง เกิดจากนางสายหยุด นายทรวงซื้อที่ดินมีโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยเจตนาซื้อให้โจทก์แต่นายทรวงเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ก็เป็นผู้เยาว์ จึงตกลงกับจำเลยให้จำเลยลงชื่อเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนไปพลางก่อนแล้วให้โอนยกให้โจทก์ในภายหลัง หลังจากนั้นนายทรวงก็ถึงแก่กรรม นางสายหยุดมารดาโจทก์ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามข้อตกลง จำเลยกลับฟ้องขับไล่อ้างว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ ให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนให้โจทก์ หากไม่จัดการโอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาว่านายทรวงกับนางสายหยุดไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จึงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของนายทรวง นางสายหยุดจึงไม่มีอำนาจฟ้องแทนเด็กชายยกซิมโจทก์นั้นเห็นว่าโจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายทรวงหรือไม่ หาใช่เป็นสิ่งสำคัญไม่ เพราะโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสายหยุด นางสายหยุดจึงมีอำนาจฟ้องแทนเด็กชายซิมบุตรผู้เยาว์ได้

ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์นำสืบว่าจำเลยลงชื่อในโฉนดที่ดินแทนเด็กชายยกซิมโจทก์เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้น เห็นว่า การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายที่จำเลยอ้าง

ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่แทนโจทก์นั้น ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้ลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทแทนเด็กชายยกซิมโจทก์ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์จำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันโจทก์มีสิทธิเรียกบุตรคืนได้

เมื่อโจทก์จำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายจึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่า เด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว ตามมาตรา 1546 และอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ตามมาตรา 1566 วรรคท้าย โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  มีสิทธิเรียกเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิที่จะกักเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย ไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2529

บทบัญญัติมาตรา 1536 ซึ่งบัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี หมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิง ขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์อยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยา โจทก์ให้กำเนิดบุตรหญิง 1 คนชื่อเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกัน ตกลงเลิกอยู่กินด้วยกัน และแยกกันอยู่ แล้วจำเลยพรากเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย ไปจากโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยส่งเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย บุตรผู้เยาว์ให้แก่โจทก์

จำเลยให้การว่า จำเลยอยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย เป็นบุตรของจำเลยที่เกิดกับโจทก์ โจทก์มีประพฤติไม่ดีขาดความเมตตาต่อบุตร ไม่สมควรอุปการะเลี้ยงดูบุตร ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำให้การของจำเลยไม่มีประเด็น ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย นัดฟังคำพิพากษา แล้วพิพากษาให้จำเลยส่งเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย   ผู้เยาว์แก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษายืน

จำเลยฎีกาว่า เด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติ มาตรา 1536 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยโจทก์จำเลยต่างก็มีอำนาจปกครองเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  และตามพฤติการณ์จำเลยสมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเลี้ยงดูเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย 

ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส มาตรา 1457 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บัญญัติว่า การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น และมาตรา 1547 บัญญัติว่าเด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้นบทบัญญัติมาตรา 1536 ซึ่งบัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี หมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิงขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี ในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย เมื่อโจทก์จำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายจึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่า เด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว ตามมาตรา 1546 และอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ตามมาตรา 1566 วรรคท้าย โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  มีสิทธิเรียกเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย  บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิที่จะกักเด็กหญิงเปิ้ลหรือเพทาย ไว้ได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน




บิดามารดา กับ บุตร

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ article
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร