ReadyPlanet.com


ช่วยด้วยค่ะ


ดิฉันอยากทราบว่าการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินที่เป็นมรดกของยายซึ่งยายก็มีลูกทั้งหมด 6 คน ซึ่งยายก็ยังไม่ได้แบ่งให้ลูกคนใดเลย  แต่ลูกๆของยายไม่ได้เข้ามาจับจอง  กลับกลายเป็นหลานๆของยายที่เข้ามาจับจองเองโดยไม่ได้มีการแบ่งที่ดินอย่างถูกต้อง และพวกหลานที่เข้ามาจับจองก็อ้างว่าใครมาจับจองก่อน ใครจับจองมากก็ได้มากก็ได้คนนั้นไปเลยหรือไม่ค่ะ..และเขาอ้างว่าเขาจับจองมานานแล้วไม่มีสิทธิ์ที่จะมายุ่งในที่ดินเขาแล้วคราวนี้เราจะทำไงล่ะค่ะเพราะว่ารัฐให้ออกโฉนด ในเมื่อเวลาไปวัดที่จะแบ่งกัน เขาไม่ยอมให้วัดแล้วยังแอบอ้างว่าตนได้ครอบครองปรปักษ์กันแล้ว แล้วอย่างนี้คนที่ไม่ได้เขาไปทำการจับจองเพราะคิดว่ายังไม่ได้มีการแบ่งโดยถูกต้อง ก็ไม่ต้องเสียสิทธิ์ไปเลยหรือค่ะ...ช่วยตอบด่วนนะค่ะเดือนร้อนมากอยากหาข้อยุติ



ผู้ตั้งกระทู้ ภัทร :: วันที่ลงประกาศ 2010-04-28 12:50:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2059402)

ยายเสียชีวิตไปนานแค่ไหนแล้วครับ แล้วมีการตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่??

กฎหมายบอกว่า เมื่อบุคคลใดตายทรัพย์มรดกย่อมตกแก่ทายาท ดังนั้นจึงตกได้แก่ลูกทุกคนคนละส่วนเท่า ๆ กัน

คุณไม่ได้ให้รายละเอียดมาว่าพวกลูก ๆ เขาสละมรดกหรือว่าอย่างไร จึงไม่มาเรียกร้องเอามรดกของแม่??

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-04-28 20:15:50


ความคิดเห็นที่ 2 (2059506)

คือว่ายายดิฉันเสียชีวิตไปประมาณ 20 ปีแล้ว โดยยายมี ลูก 6 คน ลูกได้เสียชีวิตหลังที่ยายเสียไป 4 คน เหลือที่ยังมีชีวิตอยู่ 2 คน โดยที่ดินของยายนั้นยายไม่ได้แบ่งหรือทำพินัยกรรมอะไรเลยว่าจะยกส่วนให้ให้ลูกคนไหน หลังจากนั้น พวกหลานๆของยายซึ่งเป็นลูกของลูกยายคนที่ได้เสียชีวิตไปและลูกของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เข้ามาจับจองที่ดินกันเอง โดยที่ยังไม่มีการแบ่งให้ถูกต้องตามกฎหมายอะไรเลยแล้วคราวนี้ทางรัฐประกาศให้คนที่มี สค.1 ไปยื่นขอทำเป็นโฉนด ทางทายาทก็ตกลงกันไปทำ ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างดำเนินการรอให้เจ้าหน้าที่มารังวัด แต่มีปัญหาตรงที่ว่า พวกหลานๆของยายที่ได้เข้าไปจับจองที่ดินได้กล่าวด้วยว่าจาว่า จะไม่ให้ยอมวัดในส่วนที่ตนได้จับจองไว้ แล้วอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของแล้ว เพราะว่าเขามาจับจองก่อน ดิฉันจึงอยากทราบว่า  ใครเข้ามาจับจองก่อน คนนั้นก็ได้ที่ดินตรงนั้นเลยใช่หรือไม่ แล้วลูกคนอื่นที่ไม่ได้เข้ามาจับจอง เพราะเขาเห็นว่ายังไม่ได้แบ่งหรือจัดการอะไรทีเลยไม่ได้เข้าไปจับจอง และอีกอย่างหนึ่งค่ะขอถามว่าที่ดินตรงนั้นมันเป็นที่ดินมรดกของลูกยาย ไม่ใช่ของหลานยาย และไม่มีการโอนหรือยกให้ใครเลย ไม่ทราบว่าพวกหลานๆยายมีสิทธิ์มาทำหรือไม่ ดิฉันกลุ้มใจมากค่ะ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเพราะพวกเขาเป็นผู้ชายทั้งนั้น แล้วเราเป็นแค่ผู้หญิง เขาขู่จะฆ่าด้วยซ้ำถ้าไปยุ่งในส่วนของที่เขาจับจอง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภัทร วันที่ตอบ 2010-04-29 09:49:32


ความคิดเห็นที่ 3 (2059651)

 ยายเสียไปประมาณ 20 ปีค่ะ แล้วก็ไม่มีผู้จัดการมรดก คือยายไม่ได้สละมรดกให้ใครทั้งสิ้น ในใบ สค.1ก็ยังเป็นชื่อตาอยู่ แต่ตอนนี้มีพวกหลานๆเข้าไปจับจองแล้ว 4 ราย เหลืออีก2รายที่ยังไม่ได้เข้ามาจับจอง โดยพวกหลานๆที่เข้ามาจองนั้น ลูกของยายที่ยังมีชีวิตอยู่ 2 คน เขาก็ไม่ได้ว่าไรเพราะเขาให้ไปจับจองในสิทธิ์ของพ่อแม่เขา ประมาณว่าครอบครองแทนอ่ะค่ะ โดยพวกหลานๆก็ตกลงกันว่าใครจับจองตรงไหนก็ให้เอาเป็นของตนเลย

  แต่ในส่วนของดิฉัน ซึ่งปกติจะได้ในส่วนของแม่ น้องชายได้เข้ามาอยู่ในที่ผื่นนี้โดยขออนุญาติจากป้า เพื่อที่จะทำร้านอาหารแต่พออยู่ๆไป เขาก็ปลูกบ้านในที่ผื่นนี้ จากนั้นก็ขยายจับจองเป็นของเขาเรื่อยๆ ทั้งๆที่แม่ดิฉันก็ห้ามแล้วแต่เขาไม่ยอมหยุดขยายที่ดินจนจากที่เขามีแต่ร้านอาหารตอนนี้เขาสร้างบ้านและขยายที่ดินประมาณ 5 ไร่แล้ว แล้วก็บอกว่าจะไม่แบ่งให้พี่น้องคนใดเลย แล้วเราจะทำไงดีล่ะค่ะเพราะดิฉันก็เป็นลูกคนหนึ่งแต่เขาไม่ยอมแบ่งให้แถมยังจะมาเรียกร้อง เงิน 5 หมื่นบาทด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภัทร วันที่ตอบ 2010-04-29 16:17:07


ความคิดเห็นที่ 4 (2059708)

เมื่อยายตายมรดกตกได้แก่ลูกทั้ง 6 คนคนละส่วนเท่า ๆ กัน แต่ที่ดินไม่มีโฉนด ไม่มีกรรมสิทธิ์ มีแต่สิทธิครอบครอง สามารถแย่งการครคอบครองได้ หากไม่ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี ก็หมดสิทธิฟ้อง

ลูกยาย เสียชีวิต 4 คน ผู้สืบสันดานของผู้ตายมีสิทธิสืบมรดกของยายได้ แต่เนื่องจากมรดกไม่มีการแบ่งภายใน 1 ปี คดีฟ้องเรียกมรดกจึงขาดอายุความเนื่องจากไม่มีการตั้งผู้จัดการมรดก

คำถามที่ถามมาว่าหลาน ๆ มีสิทธิหรือไม่ ตอบได้ว่ามีตามส่วนของบิดาหรือมารดาที่เป็นลูกของยายครับ

การที่บอกว่าจับจองก่อน ใครจับจองมากก็ได้มาก จริง ๆ คือการแย่งการครองครองนั่นเอง ซึ่งผู้ที่เสียประโยชน์ไม่ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนนะครับ รอดูว่าการรังวัดจะเป็นอย่างไร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-04-29 19:38:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล