ReadyPlanet.com


ผู้แทนโดยชอบธรรม


ผู้แทนโดยชอบธรรมหมายถึงใครบ้าง มีอำนาจอย่างไรบ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ ดารณี :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-11 15:09:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1848794)

ผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์โดยทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์

มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สิน ของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่น วิญญูชนจะพึงกระทำหรือให้ความยินยอม / ทำคำอนุญาตแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมใด ๆ

มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใดๆที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะเว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่าย ทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร

มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่นหรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้

 

หรือบอกล้างและให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมที่ผู้เยาว์ทำไป

มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
(2)บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ ความสามารถเมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
(3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่
(4) บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา
30 ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว

ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการ บอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้

สามารถจำแนกผู้แทนโดยชอบธรรมเป็น 3 กรณี คือ

1) กรณีที่ผู้เยาว์มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรม = บิดามารดา
2) กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจการปกครองแล้ว อาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองขึ้นมาและผู้ปกครองที่ศาลมีคำสั่งตั้งขึ้นนี้ย่อมเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรม
3) กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2008-10-11 15:24:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล