ReadyPlanet.com


ถอนการจดทะเบียนรับรองบุตร


 สวัสดีครับ ผมมีเรื่องอยากสอบถามถึงการถอนจดทะเบียนรับรองบุตร , ฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม

โดยพ่อผมได้แจ้งเกิดและจดทะเบียนรับรองบุตร ให้กับลูกชายของคนรู้จัก เพราะทางพ่อแม่ของเด็กคนนั้นยังไม่มีสัญชาติไทย มาได้สัญชาติไทยในภายหลัง ทั้งนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวพันธ์เป็นพ่อลูกกันจริง จดทะเบียนไว้ตั้งแต่ ปี 2529 ซึ่งเกิดหลังจากการจดทะเบียนสมรสของพ่อและแม่ผมโดยมีผมเป็นบุตรคนโตแล้วให้เด็กคนนั้นเป็นบุตรคนที่สอง รวมถึงใช้นามสกุลด้วย จากนั้นก็ไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดู ให้อยู่ในความดูแลของพ่อและแม่เด็กเพียงแค่มีชื่อในใบเกิดว่าพ่อและแม่ของผม เป็นบิดา มารดาของเด็กคนนั้น และมีการสมัครเรียน หรือการติดต่อราชการโดยใช้ชื่อของพ่อแม่ผมเป็นบิดา มารดา  ตอนนี้ เด็กคนนั้นอายุ 24 ปี และหลังจากพ่อผมเสียทำให้ต้องจัดการเรื่องทรัพย์สิน จึงอยากถามว่า

ทางครอบครับผมสามารถฟ้องร้องให้มีการถอนการจดทะเบียนรับรองบุตร ของพ่อผมกับเด็กคนนั้นได้หรือไหม เพราะจากการจดทะเบียนรับรองผ่านมาเกิน 10 ปีแล้ว
แต่สามารถตรวจสอบทาง DNA ได้แน่นอนว่าไม่มีความเกี่ยวพันธ์ทางสายเลือด ผมจึงอยากสอบถามว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เพราะไม่แน่ใจเรื่องอายุความ และหากถอนการรับรองบุตรจะมีผลอย่างไรต่อเด็กคนนั้นบ้างครับ ขอบคุณมากครับ
 



ผู้ตั้งกระทู้ ศิลป์ศรุต :: วันที่ลงประกาศ 2010-05-31 19:33:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2070015)

สามารถทำได้ ครับ แต่ยากในการพิสูจน์ หากพ่อแม่เขาและตัวเขายินยอม ให้พ่อแม่เขาเป็นผู้ร้องหรือตัวเขาเองเป็นผู้ร้องว่าเขาไม่ได้เป็นบุตรของพ่อแม่คุณก็ได้

ผลที่ตามมาอาจถูกถอนสัญชาติหรือไม่ต้องมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดมากกว่านี้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-06-01 02:04:20


ความคิดเห็นที่ 2 (2238331)

สวัสดีค่ะมีปัญหาจะเรียนถามคุณค่ะว่าถ้าต้องการถอนชื่อบิดาของบุตรออกจากการรับรองได้หรือไม่แต่ดิฉันไม่ได้แต่งงานใหม่นะค่ะแต่ว่าต้องเลิกกับพ่อของเด็กเพราะเขามีภรรยาใหม่และไม่อยากให้เขามาเกี่ยวข้องกับทางครอบรคัวเราอีกลูกใช้นามสกุลของดิฉันอยู่แล้ว้ค่ะรบกวนหน่อยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น napat วันที่ตอบ 2011-12-14 11:40:08


ความคิดเห็นที่ 3 (2402954)

การถอนชื่อบิดาของบุตรออกจากการรับรองได้หรือไม่

ตอบ - ไม่ได้ครับ เอกสารทางราชการที่ออกให้แล้วและถ้าข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-21 12:43:10


ความคิดเห็นที่ 4 (2402955)

ฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม, การเลิกรับบุตรบุญธรรม

มาตรา 1598/31  การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา และให้นำมาตรา 1598/20 และมาตรา 1598/21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/21 วรรคสอง มาตรา 1598/22 มาตรา 1598/23 มาตรา 1598/24 หรือมาตรา 1598/26 วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ[159]
การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
 
มาตรา 1598/32  การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451
 
มาตรา 1598/33  คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้นเมื่อ
(1)[160] ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(2)[161] ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(3)[162] ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(4) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
(5) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
(6) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(7) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 1564 มาตรา 1571 มาตรา 1573 มาตรา 1574 หรือมาตรา 1575 เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(8)[163] ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดและเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(9)[164] (ยกเลิก)
 
มาตรา 1598/34  ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้นหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น
 
มาตรา 1598/35  การฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน แต่ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใด
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้
 
มาตรา 1598/36  การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล ย่อมมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่ได้จดทะเบียนแล้ว
 
มาตรา 1598/37  เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/31 หรือนับแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น
ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองของผู้เป็นบุตรบุญธรรมไว้ก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือก่อนการเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไป เว้นแต่บิดามารดาโดยกำเนิดจะร้องขอ และศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอเป็นผู้มีอำนาจปกครอง

การเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองตามวรรคหนึ่งหรือผู้ปกครองตามวรรคสองไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิที่บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือก่อนจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
ให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเป็นประการอื่นตามวรรคหนึ่ง
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-08-21 12:46:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล