ReadyPlanet.com


พิพาทที่ดิน


 

เดิมที่ดินเป็นของ นาง ก. ต่อมาในปี 2537 นางก.ได้นำไปจำนองกับธนาคาร ต่อมาลูกสาว และบุตรเขย ได้แบ่งขายที่ดิน ให้บุคคลอื่น ๆ โดยทำสัญญาซื้อขาย โดยลงนามในสัญญาเป็นบุตรสาว และบุตรเขย (โดยไม่มีการมอบอำนาจจาก นางก.) และมีการปลูกสร้างบ้านเรื่อยมา ต่อมามีการยึดทรัพย์จากธนาคาร มีการประกาศขายทอดตลาด โดยสำนักงานบังคับคดี และต่อมาทรัพย์ตกเป็นของธนาคาร sme และผมได้ประมูลได้กรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าว ขอเรียนถามดังนี้
1. สามารถฟ้องขับไล่ได้หรือไม่ กรณีไม่สามารถตกลงกับผู้อยู่อาศัยได้
2. กรณีนี้ถือว่าเรามีเจตนาไม่สุจริตหรือไม่ เพราะเราก็มีบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าวด้วย
3. บ้านถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่ เพราะถ้าฟ้องขับไล่ เราต้องเสียค่ารื้อถอนหรือค่าบ้านให้ชาวบ้านหรือไม่

4.กรณีตกลงกับผู้อยู่อาศัยได้ส่วนหนึ่ง และไม่ได้ส่วนหนึ่ง กรณีทำแผนที่พิพาท แล้วส่วนที่ตกลงกันได้นี้จะขออำนาจศาลจัดสรรแบ่งขายได้หรือไม่ครับ ส่วนที่ตกลงกันไม่ได้ก็สู้คดีต่อไป ได้หรือไม่อย่างไรครับ
ขอบพระคุณมากครับที่ให้ทานด้านความรู้ และความเข้าใจอย่างมาก ขอให้ท่านและครอบครัวประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง



ผู้ตั้งกระทู้ สาโรจน์ (num-kls-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-17 13:36:45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2075611)

ขอรายละเอียดเพิ่มเติมครับ

1. บุตรสาว บุตรเขย ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์นำไปแบ่งได้อย่างไร สำนักงานที่ดินไม่ทำเรื่องให้อยู่แล้ว

2. ธนาคารยึดทรัพย์ของ ก. หรือของใคร

3. ใครปลูกสร้างบ้าน และโดยอาศัยสิทธิอะไร?

4. คุณประมูลได้จากสำนักงานบังคับคดีหรือซื้อจากธนาคาร

5. คุณปลูกบ้านในที่ดินของใคร เมื่อใด??

6. บ้านในที่ดินแปลงใดที่ถามว่าเป็นส่วนควบหรือไม่??

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-06-17 14:49:33


ความคิดเห็นที่ 2 (2075625)

1. เป็นการซื้อขายแบบชาวบ้านโดยการทำสัญญาซื้อขายเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่มีการแบ่งแยกที่ดิน  เพราะที่ดินติดจำนองกับธนาคาร

2. ธนาคารยึดทรัพย์ของ นางก.

3. ชาวบ้านที่ซื้อตามข้อ 1.  โดยอ้างว่าอาศัยตามสัญญาซื้อขายตามข้อ 1. (ไม่ทราบว่าเกิดสิทธิหรือไม่)

4. ลำดับแรกธนาคารยึดทรัพย์จาก นางก.   และต่อมากรมบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ราคาตามที่กำหนด ต่อมาธนาคาร sme ได้กรรมสิทธิ์ไป และ ข้าพเจ้าได้ประมูลจากธนาคาร sme

5. ข้าพเจ้าก็มีบ้านใน โฉนดของนาง ก. เช่นเดียวกัน ปี 2547 (หลังจำนองกับธนาคาร)

6. บ้านในที่ดิน ของนางก.  ที่ข้าพเจ้าประมูลได้

ผู้แสดงความคิดเห็น สาโรจน์ (num-kls-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-17 15:11:22


ความคิดเห็นที่ 3 (2075786)

1.คุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่ครับ แต่เขาอาจจะต่อสู้เรื่องการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะตามข้อเท็จจริงเขาอาศัยมา 10 ปีแล้ว ส่วนจะครบเงื่อนไขตามกฎหมายหรือไม่ต้องไปว่ากันในชั้นศาล

2. คุณมีบ้านในที่ดิน กับคุณซื้อทรัพย์จากธนาคารเป็นการใช้สิทธิกันคนละประเด็นจึงไม่เกี่ยวกันครับ

3. บ้านเป็นส่วนควบตามกฎหมายก็จริง แต่หากเขาปลูกสร้างโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายโดยผู้ขายส่งมอบการครอบครองแล้ว หากการซื้อขายเป็นโมฆะ ก็ถือว่าไม่มีการซื้อขายกัน บ้านที่เขาปลูกสร้างก็ต้องคืนเขาแต่กฎหมายไม่ได้รับรองให้ต้องจ่ายค่ารื้อถอน หากไม่รื้อเรามีสิทธิรื้อถอนโดยค่าใช้จ่ายของเขาก็เป็นได้

4. หากโฉนดเป็นแปลงเดียวจะดำเนินการแบ่งขายคงไม่ง่ายนะครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-06-18 00:11:02


ความคิดเห็นที่ 4 (2075837)

ขอบพระคุณมากครับ คุณลีนนท์  คงงานมากจริงๆ  เห็นวัน เวลาตอบแล้ว ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้งที่เสียสละอย่างมาก

1. ทนายเขาไม่ต่อสู้เรื่องครอบครองปรปักษ์ เนื่องจากเขามองว่าสิทธิในการครอบครองได้มาโดยไม่ชอบ และที่ดินผ่านการขายทอดตลาดโดยบังคับคดีมาแล้ว  จึงต่อสู้เฉพาะการซื้อขายโดยมิชอบ

2. ตามข้อ 4  การขอแบ่งขายในส่วนที่ไม่พิพาท  ได้ปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดินเขาก็เอาคำสั่งศาลมาให้ดูในกรณีที่ดินพิพาทว่าในส่วนที่ไม่พิพาทสามารถขออำนาจศาลแบ่งขายได้เพราะส่วนที่ไม่พิพาทก็มีคนอยู่อาศัยเหมือนกันแต่เขาก็เข้าใจและพร้อมที่จะซื้อ   กรณีนี้สามารถขออำนาจศาลได้เช่นเดียวกันหรือไม่ครับ  

     ขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น สาโรจน์ (num-kls-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-18 08:37:04


ความคิดเห็นที่ 5 (2076131)

คำปรึกษาจากสำนักงานที่ดินน่าจะแม่นยำกว่าผมนะครับเพราะงานเขาทำทุกวันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-06-19 00:23:10



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล