ReadyPlanet.com


จดทะเบียนรับรองบุตร และ จดทะเบียนหย่ากับภรรยาคนเก่า


ผมกับภรรยาจดทะเบียนสมรสประมาณ 5 ปี โดยมีบุตรที่เกิดในทะเบียนสมรส 1 คน

ภรรยาผมหนีตามคนอื่นไปในภายหลังประมาณเกือบ 5 ปี และผมไม่สามารถติดตามตัวได้อีกเลย 

ต่อมาผมได้พบกับหญิงอื่นและอยู่กินกัน จนมีบุตรด้วยกัน 2 คน ผมมีความประสงค์ที่จะจดทะเบียนรับรองบุตร

ทางอำเภอแจ้งว่า บุตรยังอายุไม่ถึง 7 ปี ไม่สามารถจดทะเบียนรับรองบุตรได้

แต่ต่อมาภรรยาคนเก่าได้ติดต่อกลับมา เพื่อขอหย่าโดยสมัครใจและเรียกร้องขอปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว

คำถามถามว่า

1. ภายหลังจากการหย่ากับภรรยาเก่าไป ผมจะเป็นพ่อตามกฎหมาย กับ บุตรทั้ง 2 คนที่เกิดจากภรรยาใหม่หรือไม่ (กรณีไม่จดทะเบียนสมรส)

2. และผมยังเป็นพ่อตามกฎหมายรวมทั้งการลดหย่อนภาษี กับบุตรที่เกิดจากภรรยาคนเก่าหรือไม่ ในกรณีภรรยาขอเป็นฝ่ายปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว 

3. และหาก ผมมีเจตนาที่จะไม่จดทะเบียนสมรสกับภรรยาใหม่อันเนื่องมาจาก เหตุผลทางธุรกิจส่วนตัว โดยผมมีความประสงค์แค่จดทะเบียนรับรองบุตร ผมจะต้องทำอย่างไร โดยไม่ต้องรอบุตรให้อายุ ครบ 7 ขวบปี

ผมสามารถนำใบหย่าไปแจ้งต่ออำเภอไ้ด้ไหม 

4. ส่วนเรื่องสินทรัพย์และมรดก - (กรณีผมเสียชีวิตโดยไม่เขียนพินัยกรรม) บุตรคนแรกที่เกิดจากภรรยาเ่ก่า ยังมีสิทธิ์ในการรับมรดกเทียบเท่า กับบุตร  2 คน ที่เกิดจากภรรยาใหม่โดยไม่จดทะเบียนสมรส หรือไม่ และภรรยาใหม่ทีสิทธิ์ในทรัพย์ มรดกนี้หรือไม่

ขอบคุณครับ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ JK :: วันที่ลงประกาศ 2010-07-10 07:20:23


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2084385)

1. ภายหลังจากการหย่ากับภรรยาเก่าไป ผมจะเป็นพ่อตามกฎหมาย กับ บุตรทั้ง 2 คนที่เกิดจากภรรยาใหม่หรือไม่ (กรณีไม่จดทะเบียนสมรส)

--บุตรที่เกิดกับภริยานอกกฎหมายย่อมเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้

2. และผมยังเป็นพ่อตามกฎหมายรวมทั้งการลดหย่อนภาษี กับบุตรที่เกิดจากภรรยาคนเก่าหรือไม่ ในกรณีภรรยาขอเป็นฝ่ายปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว 

-แม้บิดามารดาจะได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน แต่บุตรก็ยังคงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเช่นเดิม

3. และหาก ผมมีเจตนาที่จะไม่จดทะเบียนสมรสกับภรรยาใหม่อันเนื่องมาจาก เหตุผลทางธุรกิจส่วนตัว โดยผมมีความประสงค์แค่จดทะเบียนรับรองบุตร ผมจะต้องทำอย่างไร โดยไม่ต้องรอบุตรให้อายุ ครบ 7 ขวบปี ผมสามารถนำใบหย่าไปแจ้งต่ออำเภอได้ไหม 

-ติดต่อทนายความให้ดำเนินเรื่องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่ต้องรอให้เด็กโตครบ 7 ปี

4. ส่วนเรื่องสินทรัพย์และมรดก - (กรณีผมเสียชีวิตโดยไม่เขียนพินัยกรรม) บุตรคนแรกที่เกิดจากภรรยาเก่า ยังมีสิทธิ์ในการรับมรดกเทียบเท่า กับบุตร  2 คน ที่เกิดจากภรรยาใหม่โดยไม่จดทะเบียนสมรส หรือไม่ และภรรยาใหม่ทีสิทธิ์ในทรัพย์ มรดกนี้หรือไม่

-บุตรทุกคนเป็นทายาทโดยธรรมของคุณมีสิทธิรับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน แต่ทางที่ดีควรทำพินัยกรรมให้ชัดเจน คนข้างหลังจะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน โดยเฉพาะเป็นบุตรต่างมารดา และบุตรที่ไม่ได้พักอาศัยกับบิดาอาจไม่สะดวกในการขอรับมรดกจากผู้จัดการมรดกหรือถูกกีดกัน ฯลฯ..

ภริยาใหม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม แต่อาจเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาต้องแบ่งคนละครึ่งก่อนตกเป็นมรดกของคุณ(เฉพาะส่วนที่ได้มาด้วยกันไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวที่คุณมีอยู่ก่อน)

 มาตรา 1547  เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

มาตรา 1548  บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2010-07-11 09:31:44


ความคิดเห็นที่ 2 (2401012)

จดทะเบียนรับรองบุตร

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับรองบุตร (เด็กหญิง ป.) ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง (มารดา)ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาล เพราะไม่ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรผู้เยาว์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนรับรองบุตรเป็นหนังสือไปยังผู้คัดค้านและผู้เยาว์ เมื่อผู้คัดค้านคลอดบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้คัดค้านเลี้ยงดูผู้เยาว์มาโดยตลอด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรอีก ขอให้ยกคำร้อง

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-08-15 22:14:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล