ReadyPlanet.com


ที่ สค.1 , สปก.4-01 และที่ว่างเปล่า


เรื่องที่ 1  ปู่ดิฉัน(ปู่และย่าเสียชีวิตแล้ว) มีบุตรทั้งหมด 7 คน (บุตรปู่คนที่ 3 และคนที่ 7 ได้เสียชึวิตแล้ว) พ่อของดิฉันเป็นบุตรคนที่ 3 (ซึ่งเสียชีวิตแล้ว) จดทะเบียนสมรสกับแม่ดิฉันมีบุตรด้วยกัน  3 คน  (ดิฉันเป็นบุตรคนที่ 2) เรื่องมีอยู่ว่า....ปู่ของดิฉันมีที่ดินเป็น สค.1 อยู่ 1 แปลง ตอนที่ปู่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ดินนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น สปก.4-01 แบ่งเป็น 3 แปลง เป็นชื่อ 3 คนๆละแปลง (ชื่อ 3 คนนี้เป็นบุตรของปู่คนที่ 2,3,5)  ที่ดินแปลงที่เป็นของพ่อดิฉัน(ที่ดิน สปก.4-01)  เปลี่ยนมาเป็นชื่อแม่ดิฉันหลังจากที่พ่อดิฉันเสียชีวิตไปแล้ว และต่อมาบุตรของปู่ (บุตรคนที่ 1,4,6) ที่ไม่ได้ที่ดินดังกล่าว(ที่ดินทั้ง 3 แปลงนั้น) เกิดอยากได้ขึ้นมา เขาจึงได้ไปจ้างทนายความเพื่อจะฟ้องต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดก (โดยใช้ ส.ค.1 เป็นเอกสารที่ยื่นต่อศาล) เพื่อจะมาแบ่งที่ดินดังกล่าวนั้นใหม่ และตอนนี้ศาลได้แต่งตั้งเขาเป็นผู้จัดการมรดกเรียบร้อยแล้ว  และก็ดำเนินการฟ้องขับไล่แม่ดิฉันออกจากมรดก ตอนนี้แม่ดิฉันกำลังอยู่ในขั้นโต้แย้งสิทธิ์   ดิฉันอยากจะทราบผลของคดีดังกล่าว แม่ของดิฉันมีสิทธิ์ชนะหรือไม่

   เรื่องที่ 2  ที่ดินที่บ้านตั้งอยู่เป็นที่ดินว่างเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ เลย แต่ก็เป็นที่ดินที่ปู่กับย่าแบ่งให้พ่อกับแม่ดิฉัน(แบ่งทางวาจา)เพื่อสร้างบ้านอาศัยอยู่ตั้งแต่ดิฉันยังไม่เกิดและอาศัยอยู่มาจนถึงปัจจุบัน (เป็นเวลา 30 กว่าปีแล้ว) และที่ดินดังกล่าวนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายให้ทำเป็นฉโนดที่ดินได้ แต่พอเจ้าหน้าที่รางวัดมาวัดที่ดิน ลูกของคุณปู่คนที่ 1 ก็มาคัดค้านไม่ให้ทำ เจ้าหน้าที่รางวัดก็เลยไม่ทำการรางวัดต่อ ทำให้ดิฉันไม่สามารถทำเป็นฉโนดที่ดินได้ และตอนนี้ดิฉันก็ได้ยิ่นฟ้องต่อศาลเป็นที่เรียบร้อยและผลยังไม่รู้จะเป็นอย่างไร

        ถ้าลูกของปู่จะมาแบ่งเอาที่ดินดังกล่าวจะกระทำได้หรือไม่  (ซึ่งตอนนี้ศาลได้แต่งตั้งเขาเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว)



ผู้ตั้งกระทู้ ทายาท :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-20 09:32:44


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2097650)

เรื่องที่ 1 คำถาม ดิฉันอยากจะทราบผลของคดีดังกล่าว แม่ของดิฉันมีสิทธิ์ชนะหรือไม่

ตอบ----

ผลของคดีคงต้องรอศาลตัดสินชี้ขาดนะครับไม่มีใครรู้หรอกครับ แต่รูปคดีผมมีความเห็นว่า ที่ดิน ส.ค. 1 จะด้วยประการใดจึงตกไปเป็นที่ ส.ป.ก. 4-01 ได้ ผมไม่มีข้อเท็จจริง แต่พอสรุปว่าที่ดินดังกล่าวได้ตกอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินทำกินให้เกษตรกรผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่ใช่มรดกของปู่อีกต่อไป จึงไม่อาจฟ้องขอแบ่งใหม่ได้

เรื่องที่ 2 คำถาม  ถ้าลูกของปู่จะมาแบ่งเอาที่ดินดังกล่าวจะกระทำได้หรือไม่  (ซึ่งตอนนี้ศาลได้แต่งตั้งเขาเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว)

ตอบ--- เป็นเรื่องการพิสูจน์ว่าที่ดินแปลงนี้เป็นมรดกหรือไม่ ซึ่งจะตอบฟันธงว่าเป็นมรดกหรือไม่ต้องประกอบด้วยข้อมูล (ข้อเท็จจริง) ในรายละเอียด หากเป็นที่ดินเป็นมรดกก็ตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย  แต่หากเป็นที่ดินที่ปู่ ยกให้พ่อแม่คุณจริง มันก็ไม่ใช่มรดกของปู่ที่ทายาทอื่นจะมาร้องขอแบ่งมรดกได้ และเรื่องอายุความมรดกก็เป็นเรื่องที่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้อีกประเด็นหนึ่ง

 

 

                                                         ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-08-20 11:19:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล