ReadyPlanet.com


สามี มีภรรยาน้อย ไม่เลี้ยงดู


 

ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับสามีมาประมาณ 20 ปี ต่อมาเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วสามีดิฉันทะเลาะกับดิฉันและได้ออกจากบ้านไป คือสามีดิฉันรับราชการเป็นตำรวจ ได้ออกไปพักอยู่ที่พักของตำรวจซึ่งอยู่คนละจังหวัดกับดิฉัน ดิฉันจะตามไปก็ติดที่ต้องดูแลแม่ที่อายุแก่มากแล้ว ตอนหลังดิฉันได้ไปตามให้กลับมาอยู่ที่บ้านจึงได้รู้ว่าเขามีภรรยาน้อยอยู่ที่จังหวัดเดียวกันนั้นและมีลูกด้วยกันอายุประมาณ 4 ขวบแล้ว

     ตั้งแต่ออกไปสามีไม่เคยกลับมาอีกเลย ซึ่งเมื่อ 3 ปีก่อนนี้ดิฉันได้ไปขอให้สามีลงชื่อกู้ร่วมกันในการกู้ธนาคาร เขาก็เซ็นชื่อก็ร่วมให้ แก่ก็ไม่เคยช่วยผ่อนจ่ายธนาคารเลย

     ตอนนี้ดิฉันได้รู้จากเพื่อนของสามีว่าสามีได้ลาออกจากราชการก่อนครบกำหนด ได้เงินมาแต่ก็ไม่ได้มาจ่ายหนี้เงินกู้หรือมาให้ดิฉันเลย  ดิฉันจึงยากจะขอความกรุณาคุรลีนนท์ช่วยกรุณาแนะนำดิฉันว่าต้องทำอย่างไรได้ค่ะ

ข้อ 1 มีคนให้คำแนะนำว่าดิฉันสามารถฟ้องภรรยาน้อยและสามีให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ดิฉันได้ จริงแล้วดิฉันจะฟ้องได้หรือเปล่าค่ะ

ข้อ 2 เงินที่สามีได้มาจากการลาออกก่อนกำหนด ซึ่งไม่ทราบว่าเท่าไร ดิฉันจึงอยากทราบว่าดิฉันจะทราบได้อย่างไรว่าเขาได้เงินมาเท่าไร เพราะถ้าไปถามเขาคงไม่บอกแน่ 

       -และเงินนี้ดิฉันจะให้เขาเอามาใช้หนี้ที่ร่วมกันกู้ได้หรือเปล่าค่ะ

       -เงินที่ได้มานี้ดิฉันจะมีส่วนได้ด้วยหรือเปล่าค่ะ

       ดิฉันป่วยมาปีกว่าแล้ว และอยากได้เงินมาใข้หนี้ จึงกลุ้มใจมาก จึงอยากขอความกรุณาคุณลีนนท์ช่วยแนะนำให้แก่ดิฉันด้วยน่ะค่ะ  ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ อกภรรยาหลวง :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-07 22:38:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2105428)

ข้อ 1 มีคนให้คำแนะนำว่าดิฉันสามารถฟ้องภรรยาน้อยและสามีให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ดิฉันได้ จริงแล้วดิฉันจะฟ้องได้หรือเปล่าค่ะ

ตอบ--- ฟ้องได้ครับ กฎหมายเรียกว่าค่าทดแทนครับ

มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
 

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้
 

ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้        

ข้อ 2 เงินที่สามีได้มาจากการลาออกก่อนกำหนด ซึ่งไม่ทราบว่าเท่าไร ดิฉันจึงอยากทราบว่าดิฉันจะทราบได้อย่างไรว่าเขาได้เงินมาเท่าไร เพราะถ้าไปถามเขาคงไม่บอกแน่ 

       -และเงินนี้ดิฉันจะให้เขาเอามาใช้หนี้ที่ร่วมกันกู้ได้หรือเปล่าค่ะ

       -เงินที่ได้มานี้ดิฉันจะมีส่วนได้ด้วยหรือเปล่าค่ะ

ตอบ-- เรื่องเงินนั้นสามารถตรวจสอบได้จากต้นสังกัดของสามีได้ ไม่ยากครับ และเงินดังกล่าวกฎหมายถือว่าเป็นสินสมรสครับ คุณเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายจึงมีสิทธิในเงินนั้นกึ่งหนึ่งเมื่อการสมรสสิ้นสุด

สำหรับคำถามว่าจะเอาเงินมาใช้หนี้ที่ร่วมกันกู้ได้หรือไม่ ถ้าเขาให้ก็ได้ครับ เขาไม่ให้เราก็คงต้องฟ้องครับ แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่าเขามีทรัพย์สินหรือไม่ สามารถฟ้องและบังคับคดีได้มากน้อยเพียงใด ต้องไปว่ากันในทางคดีครับ

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
 

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

 

 

                 ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-09-08 11:21:32


ความคิดเห็นที่ 2 (2105457)

คือว่าดิฉันป่วยอยู่ต้องรักษาโดยอาศัยสิทธิเบิกค่ารักษาจึงไม่ต้องการหย่า ดิฉันจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้หญิงคนนั้น และเรียกเงินที่คุณลีนนท์บอกว่าเป็นสินสมรส จากสามี และหญิงคนนั้นจะได้หรือเปล่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ถามต่อ วันที่ตอบ 2010-09-08 12:05:27


ความคิดเห็นที่ 3 (2105466)

1. ดิฉันจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้หญิงคนนั้น

ตอบ--ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงคนนั้นได้ครับ โดยไม่ต้องฟ้องหย่า

2. และเรียกเงินที่คุณลีนนท์บอกว่าเป็นสินสมรส จากสามี

ตอบ-- การเรียกเงินดังกล่าวเป็นเรื่องการจัดการสินสมรส ตามกฎหมายสามีมีสิทธิที่จะจัดการสินสินรสร่วมกันได้ แต่สินสมรสที่เป็นเงินตรา คู่สมรสจัดการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม และการสินสมรสในลักษณะที่คุณกล่าวถึงนั้นเป็นลักษณะของการแบ่งสินสมรส เมื่อการสมรสยังไม่สิ้นสุดก็ไม่อาจแบ่งสินสมรสได้ครับ แต่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับความเสียหายร้องขอต่อศาลให้แยกสินสินสมรสได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3392/2548

 

                 ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-09-08 12:27:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล