ReadyPlanet.com


เบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างหรือไม่


ค่าแรงเดือนละ 6000 บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ 500 ข้อตกลงมีอย่างนี้ครับ ถ้ามีลูกค้ามาเช่าเครนไปทำงาน15 วัน ผมจะได้เบี้ยเลี้ยง 500x15+เงินเดือน6000 และถ้าไม่มีงานจะได้เเต่เงินเดือนส่วนจะไปเที่ยวใหนก็ไปได้ไม่หักเงินดือนและถ้าหากนายจะปลดผมเขาจะต้องบวกเบี้ยเลี้ยงเข้าเงินเดือนรึเปล่าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ หมู :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-02 11:44:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2114695)

"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย เป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะ เวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้แก่ ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับ ตามพระราชบัญญัตินี้
 

เงินที่คุณเรียกว่า "เบี้ยเลี้ยง" เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เฉพาะเวลาที่มีลูกค้ามาเช่าเครน ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะมีขึ้นทุกเดิอนหรือไม่ จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นการเฉพาะในกรณีพิเศษที่ตกลงกัน จึงไม่ใช่เป็นเงินจำนวนแน่นอนที่นายจ้างจ่ายให้เพื่อตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน

เงินเบี้ยเลี้ยงจึงไม่ใช่ ค่าจ้าง

 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5024/2548
          การที่จำเลยจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรองให้แก่โจทก์ในลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน รวมเป็นเงินเดือนละ 25,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือนโดยไม่ได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถ และค่ารับรองจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงถือว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 1,278,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์

          จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 390,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 45,500 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 65,000 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 130,000 บาท เงินโบนัสค้างจ่ายจำนวน 125,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จและให้จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์คำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2543 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขาย ได้รับเงินเดือนสุดท้ายเดือนละ 40,000 บาท เงินประจำตำแหน่ง 5,000 บาท ค่ารถและค่ารับรองอีกเดือนละ 20,000 บาท โดยเป็นการเหมาจ่าย วันที่ 21 ตุลาคม 2546 จำเลยเลิกจ้างโจทก์

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถ และค่ารับรองที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทุกเดือนเป็นค่าจ้างหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรองให้แก่โจทก์ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน รวมเป็นเงินเดือนละ 25,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือนโดยไม่ได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถและค่ารับรองจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงถือว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์โดยนำเอาเงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถและค่ารับรองไปรวมเข้ากับเงินเดือนอัตราสุดท้ายของโจทก์เป็นฐานในการคำนวณด้วยจึงชอบแล้ว?

          พิพากษายืน.
       

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-02 16:42:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล