ReadyPlanet.com


บัญชีออมทรัพย์ใช้ชื่อ 2 คนร่วมกัน คนหนึ่งตาย ทายาทมีสิทธิทวงมรดกได้หรือไม่?


1. บัญชีออมทรัพย์ใช้ชื่อ 2 คนร่วมกัน คือน้าสาว (โสด) กับผมซึ่งเป็นหลาน ปกติผมสามารถเบิกเงินจากบัญชีนั้นได้อยู่แล้ว สมมุติว่าวันหนึ่งน้าสาวเสียชีวิต หลานคนอื่นๆ มีสิทธิทวงมรดกจากบัญชีนั้นได้หรือไม่

2. ถ้าผมเบิกเงินสดออกจากบัญชีนั้นมาก่อนน้าจะเสียชีวิต ในขณะน้าป่วยหนักใกล้ตาย หรือขณะเริ่มไร้ความสามารถทางสมอง (ขณะนี้น้าเริ่มมีอาการสมองเสื่อม) ทายามคนอื่นๆ จะนำมาเป็นข้ออ้างเรียกร้องเงินจำนวนนั้นได้หรือไม่

3. คุณตาผมมีเมีย 2 คน (คนที่ 1. ตาย จึงมีคนที่ 2.) แม่ผมเป็นลูกเมียคนแรก น้าชายและน้าสาวเป็นลูกเมียที่สอง ผมจะมีสิทธิในมรดก (ส่วนที่น้าสาวไม่ได้ทำพินัยกรรมให้ใคร) เท่าเทียมกับลูกๆ ของน้าชายหรือไม่ครับ

หมายเหตุ ผมไม่ได้ถามเพราะความโลภ แต่ทุกวันนี้ผมเป็นหลานคนเดียวที่ดูแลน้าสาว หลานคนอื่นเขาไม่เหลียวแล เงินในบัญชีนั้น ผมจะเอามาก็ได้น้าไม่ว่า แต่ผมรู้สึกผิดต่อน้าครับ มันเลยคาใจ ขอความกรุณาด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เจฟา :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-01 23:25:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2114536)

1. สมมุติว่าวันหนึ่งน้าสาวเสียชีวิต หลานคนอื่นๆ มีสิทธิทวงมรดกจากบัญชีนั้นได้หรือไม่?

ตอบ--  บัญชีเงินฝากเป็นสิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่ง ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารจ่ายเงินให้ เมื่อบัญชีเงินฝากมีชื่อเจ้าของบัญชี 2 คนร่วมกันจึงเป็นกรรมสิทธิรวม เมื่อคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต กึ่งหนึ่งจึงตกเป็นมรดกของผู้ตาย

แม้ข้อตกลงกับธนาคารจะให้คนใดคนหนึ่งมีสิทธิเบิกถอนเงินได้ก็ตาม แต่การเบิกถอนภายหลังจากการเสียชีวิตของอีกฝ่ายหนึ่งจึงถือว่ามีทรัพย์มรดกของผู้ตายรวมอยู่ด้วย

ทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่ทายาทโดยธรรมซึ่งอาจจะเป็นหลาน ๆ คนอื่น ๆ ตามที่คุณอ้างหรือไม่ก็เป็นไปตามลำดับทายาท ตามกฎหมาย

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
 

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

2. ถ้าผมเบิกเงินสดออกจากบัญชีนั้นมาก่อนน้าจะเสียชีวิต ในขณะน้าป่วยหนักใกล้ตาย หรือขณะเริ่มไร้ความสามารถทางสมอง (ขณะนี้น้าเริ่มมีอาการสมองเสื่อม) ทายามคนอื่นๆ จะนำมาเป็นข้ออ้างเรียกร้องเงินจำนวนนั้นได้หรือไม่

ตอบ-- ได้ครับ เพราะการเบิกเงินในขณะที่เจ้าของรวมคนอื่น ๆ ไม่รับทราบยินยอมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะมีสิทธิเบิกถอนได้ตามข้อตกลงกับธนาคารก็ตาม (ความเห็น)

3. คุณตาผมมีเมีย 2 คน (คนที่ 1. ตาย จึงมีคนที่ 2.) แม่ผมเป็นลูกเมียคนแรก น้าชายและน้าสาวเป็นลูกเมียที่สอง ผมจะมีสิทธิในมรดก (ส่วนที่น้าสาวไม่ได้ทำพินัยกรรมให้ใคร) เท่าเทียมกับลูกๆ ของน้าชายหรือไม่ครับ

ตอบ--ข้อมูลไม่เพียงพอตอบ เพราะต้องลำดับทายาทให้ได้เสียก่อน โดยเฉพาะน้าชายซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน กับน้าสาวเป็นทายาทโดยธรรมชั้นใกล้ชิดที่สุดจึงน่าจะตัดทายาทอื่น ๆ แล้ว (ไม่มีข้อมูลว่าใครมีชีวิตและเสียชีวิต ต้องทราบบัญชีเครือญาติจึงจะตอบได้ชัดเจนครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-02 02:21:46


ความคิดเห็นที่ 2 (2114789)

ขอบคุณสำหรับความกระจ่างครับ

ข้อ 3. ขณะนี้น้าชายเสียชีวิตไปแล้วครับ แต่แม่ผมยังมีชีวิตอยู่ จะจัดลำดับทายาทถึงชั้นผมและหลานคนอื่นอย่างไรครับ

3.1 กรณีน้าสาวเสียชีวิตก่อนแม่ผม (แม่รับมรดก แล้วมาถึงผม?)

3.2 กรณีแม่ผมเสียชีวิตก่อนน้าสาว (หลานทุกคนเท่ากัน?)

ข้อ 2. น้ามีอาการหลงลืม แต่ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ พินัยกรรมที่ทำต่อจากนี้ไปจะมีผลชัดเจน ถูกหักล้างได้หรือไม่ มีข้อวินิจฉัยทางการแพทย์แค่ไหนที่ถือว่าไร้ความสามารถ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เจฟา วันที่ตอบ 2010-10-02 23:30:42


ความคิดเห็นที่ 3 (2114857)

ข้อ 3. ขณะนี้น้าชายเสียชีวิตไปแล้วครับ แต่แม่ผมยังมีชีวิตอยู่ จะจัดลำดับทายาทถึงชั้นผมและหลานคนอื่นอย่างไรครับ

ตอบ--เมื่อน้าชายเป็นทายาทชั้นใกล้ชิดกับเจ้ามรดกคือทายาทลำดับที่ 3 มารดาของคุณเป็นทายาทลำดับที่ 4 จึงถูกทายาทลำดับที่ 3 ตัดสิทธิไปแล้ว แม้น้าชายซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 3 เสียชีวิตก่อนเจ้ามรดกก็ตาม แต่ผู้สืบสันดานของทายาท (น้าชาย) ยังมีชีวิตอยู่ก็มีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาของเขาได้ครับ

มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทน ที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

ตามมาตรา 1639 คือน้าชายซึ่งจะเป็นทายาท ลำดับที่ (3) ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ก็ให้บุตร(ผู้สืบสันดาน) รับมรดกแทนที่น้าชายที่เสียชีวิตไปก่อนได้ หากบุตรก็ตายอีกเช่นกัน ก็ให้บุตรของบุตร (หลาน) ต่อไปเรื่อย ๆ จนไม่มี (ขาดสาย) ถึงจะตกเป็นของแม่คุณซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 4

3.1 กรณีน้าสาวเสียชีวิตก่อนแม่ผม (แม่รับมรดก แล้วมาถึงผม?)

ตอบ-- ถ้าน้าสาวเสียชีวิต ก็ตกได้แก่น้าชาย ตามข้อ 3 ข้างต้น และตอนนี้น้าชายตาย ก็ตกได้แก่บุตรของน้าชายจนขาดสาย แต่ถ้าปรากฏว่าลูกของน้าชายเสียชีวิตหมดแล้ว แม่คุณเป็นผู้รับมรดก คุณก็ไม่สิทธิในการรับมรดก เว้นแต่ในขณะมีชีวิตอยู่ยังไม่ได้รับโอนมา มรดกของน้าสาวที่ตกได้แก่แม่คุณนั้น คุณในฐานะผู้สืบมรดกของแม่ (ถ้าแม่เสียชีวิตก่อนโอน)

แต่ตามข้อเท็จจริงที่ให้มา แม่คุณถูกตัดสิทธิก่อนโดยบุตรของน้าชายครับ

3.2 กรณีแม่ผมเสียชีวิตก่อนน้าสาว (หลานทุกคนเท่ากัน?)

ตอบ-- แม่คุณจะเสียชีวิตก่อนหรือหลังก็ต้องกลับไปคำตอบข้อ 3 ใหม่คือ แม่คุณถูกตัดสิทธิโดยบุตรของน้าชายแล้ว มรดกจึงมาไม่ถึงแม่คุณ

ต้องอธิบายเพิ่มเติมคำว่า "หลาน" เสียก่อน ในภาษาไทย คำว่า "หลาย" มีหลายชั้น ผมจึงขอใช้คำว่า "บุตรของน้าชาย" ซึ่งคุณน่าจะหมายถึงหลานตามคำถามข้อนี้

ข้อ 2. น้ามีอาการหลงลืม แต่ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ พินัยกรรมที่ทำต่อจากนี้ไปจะมีผลชัดเจน ถูกหักล้างได้หรือไม่ มีข้อวินิจฉัยทางการแพทย์แค่ไหนที่ถือว่าไร้ความสามารถ

ตอบ-- ต้องให้แพทย์รับรองว่ามีสติสัมปชัญญะ เพียงพอที่จะรับรู้และทำพินัยกรรมได้ มิฉะนั้น พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และอาจถูกบอกล้างได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-03 11:41:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล