ReadyPlanet.com


การคืนของหมั้นในการณีที่ฝ่ายหญิงเป็นคนถอนหมั้น


สวัสดีคะ    ดิฉันอยากถอนหมั้นเพราะสาเหตุการหมั้นของเราเกิดจากความเห็นดีจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย                โดยที่การหมั้นไม่ได้ทำหนังสือสัญญา  เพียงแต่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายรับรู้รวมกัน ตกลงกันว่าจะแต่งกันภายใน ปี 54 แต่ไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอน   คือดิฉันพึ่งจะหมั้นเดือน สิงหานี่  ปี 53 นี้เองค่ะ                                              ของที่เขานำมาหมั้นมีเพียงเงินสด 10,000 บาท คะ แต่ค่าใช้จ่ายในงานดิฉันจ่ายเองทั้งหมด  แต่ตกลงกันไว้ เงินสอนสอด  130,000  ทอง 2 บาท  ที่จริงแล้วดิฉันไม่อยากจะหมั้นหรอกค่ะจึงให้เขาหมั้นไว้เพียง  10,000  เพราะดิฉันไม่อยากมีข้อผูกมัดมากกว่านี้  แต่ก็ไม่อยากจะขัดใจครอบครัว

(ที่ยอมหมั้นเพราะตอนนั้นดิฉันเพิ่งจะ 20 ปีคะ และยังไม่มีแฟน)

ที่อยากจะเรียนถามคือ

1.ถ้าดิฉันจะถอนหมั้นจะทำได้โดยวิธีไดบ้างค่ะ

2.ดิฉันจะต้องคืนของหมั้น เพียง 10,000 บาท  หรือมากว่านั้น (หรือเพิ่มเป็น 2 เท่าคะ)

3.อยากทราบว่าจะต้องจ่ายให้เขา  เป็นสองเท่า ของเงินที่ตกลงกันไว้หรือเปล่า (130,000  และทอง 2 บาทน่ะค่ะ)

ปัญหานี้ดิฉันร้อนใจมากไม่รู้จะปรึกษาใคร  รบกวนตอบด้วยน่ะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ รบกวนตอบด้วยน่ะค่ะ :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-28 14:54:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2113972)

1.ถ้าดิฉันจะถอนหมั้นจะทำได้โดยวิธีไดบ้างค่ะ

ตอบ--การสมรสต้องกระทำด้วยความยินยอมเท่านั้น การถอนหมั้นก็คือการบอกเลิกสัญญาหมั้น เมื่อไม่ใช่ความผิดของเขา คุณจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การที่คุณบอกเลิกสัญญาโดยไม่ใช่ความผิดของชาย ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย(ค่าทดแทน)อันเกิดจากการผิดสัญญาหมั้นได้ครับ

2. 2.ดิฉันจะต้องคืนของหมั้น เพียง 10,000 บาท  หรือมากว่านั้น (หรือเพิ่มเป็น 2 เท่าคะ

ตอบ--

มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

 

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
 

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

3.อยากทราบว่าจะต้องจ่ายให้เขา  เป็นสองเท่า ของเงินที่ตกลงกันไว้หรือเปล่า (130,000  และทอง 2 บาทน่ะค่ะ)

ตอบ-- กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องจ่ายเป็นสองเท่า

 

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-09-30 10:29:21



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล