ReadyPlanet.com


สอบถามเกี่ยวกับข้อพิพาท ทางที่ดิน


ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่องที่ดินหน่อยครับ เดิมที่ดินผืนนี้เป็นที่มรดก จากนั้นบรรดาลูกๆก็ได้แบ่งสันปันส่วนกัน ซึ่งมีอยู่คนหนึ่งชื่อนางเอ ไม่ขอรับมรดกใดๆทั้งสิ้นเพราะบอกว่าตนเองทำอาชีพรับราชการแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเอา แต่การแบ่งมรดกครั้งนั้น นางนา และนางนวลได้รับการแบ่งมรดกเป็นบ้านหลังใหญ่บนที่ดินผืนหนึ่ง ทั้ง 2 คนจึงอาศัยอยู่ด้วยกัน (ชื่อที่ดินผืนนี้ได้จดทะเบียนเป็นชื่อของนางนา)  ต่อมา นางนวลได้เกิดล้มป่วยขึ้น โดยที่นางนาซึ่งเป็นน้องที่อยู่บ้านหลังเดียวกัน ไม่ค่อยดูแลพี่ของตนเองเลย บรรดาพี่ๆและญาติๆจึงได้ลงความเห็นกันว่า ให้แบ่งบ้านหลังใหญ่และที่ดินผืนนี้ออกเป็น 2 ส่วนอย่างละครึ่ง คือแบ่ง แยกออกไปให้นางนวล นางนาก็ยอมแบ่งบ้านและที่ดินผืนนี้ออกเป็น 2 ส่วนตามความเห็นของพี่ๆและญาติๆ แต่โดยดี

ในการนี้นางเอซึ่งเป็นข้าราชการ ได้เสนอตัวบอกกับนางนวลว่า ตอนนี้นางนวล(ซึ่งเป็นพี่สาวของตน)
ก็ยังไม่ค่อยสบายอยู่ จึงบอกนางนวลไปว่า ให้จดทะเบียนโฉนดที่ดิน ที่นางนาแบ่งกับนางนวลนั้น ส่วนของนางนวล ให้จดเป็นชื่อนางเอไว้ก่อน โดยอ้างต่อว่านางนวลก็กำลังไม่ค่อยสบายอยู่ อีกอย่างลูกนางนวลก็ยังเล็กอยู่ รอให้ลูกของนางนวลบรรลุนิติภาวะก่อน ช่วงนี้นางเอจะดูแลไปให้ก่อน ด้วยความไว้ใจและเชื่อใจว่านางเอเป็นน้องแท้ๆของตน นางนวลจึงยอมให้ นางเอไปจดทะเบียนโฉนดที่ดิน เป็นชื่อของนางเอแทนตน
 
หลายปีผ่านไป นางนวลได้เกิดล้มป่วยอย่างหนักและได้เสียชีวิตลง (ประกอบกับลูกของนางนวลก็ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 24ประกอบอาชีพ พยาบาลวิชาชีพ ชื่อนางสาวหญิง)) หลังจากที่นางนวลเสียชีวิตลง นางสาวหญิงซึ่งเป็นลูก จึงได้ไปทวงสิทธิที่ดินของแม่ตนคืนจากนางเอ แต่นางเอกลับอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ นางเออ้างว่าตนยังไม่ได้รับมรดกใดๆเลยตั้งแต่แรก การที่ตนได้รับที่ดินผืนนี้ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว 
 
อยากทราบว่าการกระทำของนางสาวเอถูกต้องแล้วหรือไม่ครับ
 
และนางสาวหญิงจะมีสิทธิในที่ดินผืนนี้ได้หรือไม่อย่างไร
 
ขอบคุณครับ


ผู้ตั้งกระทู้ Rome :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-22 23:16:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2112037)

การที่นาง เอ พูดด้วยวาจาว่าไม่ขอรับมรดกใด ๆ ไม่มีผลเป็นการสละมรดกเพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือ

มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

เมื่อที่ดินมีชื่อของนาง เอ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียน นาง เอ จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนั้นแล้ว

การที่นาง เอ รับโอนที่ดินมาโดยรู้ว่ารับโอนมาถือครองแทนนางนวลหากเป็นความจริง การมีชื่อในทางทะเบียนก็เป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนนางนวลเท่านั้น เมื่อนางนวลถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาทของนางนวลคือนางสาวหญิง

ในทางปฏิบัติคงเป็นเรื่องพิสูจน์ยากเพราะไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะให้นางเอ ถือแทน

 

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-09-23 18:46:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล