ReadyPlanet.com


การแสดงเจตนาเพิกถอนสัญญาประนีประนอมตามคำพิพากษา


เกี่ยวจากข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลย, อำนาจปกครองบุตร

โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยศาลท่านกรุณาพิพากษาตามยอมนั้น โดยมีข้อตกลงเกี่ยวเนื่องด้วยว่า จำเลยยอมหย่ากับโจทก์ อำนาจปกครองบุตรจะแบ่งกันปกครองบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยมิได้พูดถึงสินสมรสแต่อย่างใด

ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องเพิกอำนาจปกครองบุตร ดังนั้นจำเลยจึงได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกแบ่งสินสมรส หลังจากนั้นโจทก์ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้กลับมาฟ้องจำเลย(โจทก์ในแบ่งสินสมรส)ใหม่ โดยฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษา(ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว) โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

ถามว่าโจทก์สามารถฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร ?โดยเพียงอ้างเหตุว่า จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะจำเลยในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เพื่อแบ่งสินสมรส โดยกล่าวอ้างว่า ประเด็นแห่งสินสมรสได้ยุติไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ทั้งที่ในสัญญาประนีประนอมฯ นั้นมิได้กล่าวถึงสินสมรสนั้นเลย เพียงแค่เคยอ้างในคำให้การของจำเลยว่า "หากโจทก์และจำเลยต้องหย่าขาดจากกันนั้น สินสมรสที่มีมาหาได้ร่วมกัน ควรแบ่งให้จำเลยกึ่งหนึ่งด้วย" แค่นั้น แต่ในสัญญาประนอมฯ มิได้กล่าวไว้แต่ประการใด

 



ผู้ตั้งกระทู้ ไมนา :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-03 13:51:52


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2125182)

ขอตอบตามที่เข้าใจข้อเท็จจริงด้านบนนะครับ (เพราะ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมดครับ)

1. ถามว่าโจทก์สามารถฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร ?

ตอบ--การที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมบังคับคดีได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้เพราะคำพิพากษาผูกพันคู่ความทุกฝ่าย และคดีถึงที่สุดแล้ว

มาตรา 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอม ความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนี ประนอมยอมความเหล่านี้ไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความ

2. ประเด็นเรื่องสินสมรสนั้น เมื่อมีการหย่าขาดจากกัน ให้แบ่งสินสมรส เมื่อสินสมรสยังไม่มีการแบ่งอยู่ตราบใด ก็ยังคงมีสภาพเป็นสินสมรสและฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งสินสมรสได้ หาได้ยุติไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ได้ตกลงแบ่งสินสมรสไม่

3. ประเด็นอำนาจปกครองบุตร

เมื่อบิดามารดาที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ฝ่ายใดใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ไม่ชอบ อีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองได้ ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะเหตุไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่

 

ยินดีรับฟังความคิดเห็นที่ต่างจากนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-03 21:49:18


ความคิดเห็นที่ 2 (2129086)

เพียงแค่เคยอ้างในคำให้การของจำเลยว่า "หากโจทก์และจำเลยต้องหย่าขาดจากกันนั้น สินสมรสที่มีมาหาได้ร่วมกัน ควรแบ่งให้จำเลยกึ่งหนึ่งด้วย" แค่นั้น แต่ในสัญญาประนอมฯ มิได้กล่าวไว้แต่ประการใด

คือว่า คำให้การดังกล่าวได้ยื่นต่อสู้ไปในคดีที่โจทก์ฟ้องหย่า, เพิกถอนอำนาจปกครองบุตร แต่คดีดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงการกล่าวอ้างของจำเลยลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ทั้งคดีดังกล่าวก็มิได้นำคำให้การดังกล่าวของจำเลยมากำหนดเป็นประเด็นพิพาท จึงถือว่าคำให้การดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นพิพาทหรือไม่อย่างไรค่ะ?

ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นน่ะค่ะ ว่าสัญญาประนีประนอมที่ได้ทำกันนั้น มีเพียงแค่ จำเลยยอมหย่าฯ, อำนาจปกครองแบ่งกันคนล่ะกึ่งหนึ่งฯ, และค่าอุปการะเลี้ยงดูฯ

แต่มีข้อสุดที่ท้ายที่ ระบุว่า "โจทก์และจำเลยยอมรับข้อตกลงที่..และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใด ๆ อีก"

ข้อนี้ล่ะค่ะ ที่โจทก์อ้างมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ว่า จำเลยได้สละสิทธิต่าง ๆ แล้วไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ อีก แต่จำเลยกลับไปฟ้องเรียกสินสมรสอีก ถือว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษา โจทก์อ้างประเด็นนี้ ในฐานะที่ท่านเป็นนักกม.ท่านคิดว่าเขาอ้างได้หรือไม่ค่ะ?

 

พอดีเพิ่งเริ่มสายงานทางด้านกม.ค่ะ ไม่ค่อยมีประสบการณ์สักเท่าไรนัก จึงขอความรู้จากทนายรุ่นพี่เป็นวิทยาทานค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไมนา วันที่ตอบ 2010-11-17 10:16:51


ความคิดเห็นที่ 3 (2129194)

ขอแสดงความเห็นดังนี้

1. เรื่องสินสมร เมื่อยังไม่มีการแบ่งอยู่ตราบใด สินสมรสก็ยังอยู่ (หากพิสูจน์ได้) ดังนั้นในคดีเดิมไม่มีการแบ่งสินสมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมยกขึ้นมาติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนได้ตาม มาตรา 1336

2. ในสัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อความว่า..."และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใด ๆ อีก "

ข้อเรื่องนี้มีความเห็นว่าไม่เกี่ยวกับสินสมรสครับ

ประเด็นตามคำถาม..เป็นเรื่องข้อกฎหมาย คงต้องให้ศาลชี้ขาดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-17 15:22:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล