ReadyPlanet.com


สามีเปิดบัญชีฝากเงินในชื่อบุคคลอื่นโดยไม่แจ้งให้ภรรยาทราบ


 แต่งงานจดทะเบียนสมรสถูกต้อง ภรรยาลาออกจากงานเดิมมากู้เงินร่วมกับสามีทำธุรกิจร่วมกัน เริ่มแรกภรรยาทำหน้าที่ดูแลบัญชีเก็บเงินในร้าน สามีไม่ได้เป็นผู้ถือเงิน ธุรกิจเจริญเติบโต สามารถซื้อบ้านและทรัพย์สินโดยใช้ชื่อร่วมกัน โดยไม่มีปัญหาอะไร หลังจากภรรยาคลอดลูกแฝด ทำให้ต้องอยู่บ้านดูแลลูก สามีขอเป็นผู้ดูแลการเงินเอง ภรรยาจึงมอบบัตรเอทีเอ็มและสมุดบัญชีเงินฝากให้สามีบริหารจัดการ โดยตนเองมิได้เข้าไปดูแลกิจการอีกเลย สามีมอบเงินใช้จ่ายประจำเดือนให้พอเพียงทุกเดือน ในระยะแรกๆสามีปฎิบัติตัวดี รายงานยอดขาย ผลกำไรสมำเสมอ ช่วงหลังๆต้องถาม ก็จะได้ข้อมูลสั้นๆเพียงว่า เหมือนเดิม และมีพฤติกรรมไม่อยากเปิดเผยสมุดบัญชีเงินฝาก(บัญชีเปิดไว้เป็นชื่อสามีตั้งแต่เริ่มกิจการ)และแสดงท่าทีไม่อยากให้ภรรยามายุ่งเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินของกิจการ ภรรยารู้สึกอึดอัดใจมาก สามีชอบให้ญาติยืมเงินโดยไม่บอกกล่าว โดยมีท่าทีว่าตนเองเป็นผู้ทำงานมีสิทธิในการจัดการ ภรรยาไม่ได้ทำงานช่วยอีกแล้วจึงไม่ต้องถามความคิดเห็น ล่าสุดเปิดบัญชีเงินฝากในชื่อผู้อื่น 2 บัญชี(เท่าที่ทราบ)เมื่อสอบถามสามี ให้เหตุผลว่าเพื่อนจะกู้เงินซื้อบ้านเลยให้ช่วยเดินบัญชีให้ ที่ไม่บอกภรรยาก่อนเพราะคิดว่าไม่จำเป็น ไม่เดือดร้อนอะไร อยากทราบว่าภรรยามีสิทธิขอเรียกดูบัญชีเงินฝากทุกเล่มที่สามีฝากหรือไม่ ถ้าสามีปกปิดจะตรวจสอบอย่างไรได้บ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ meili :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-31 00:03:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2123996)

อยากทราบว่าภรรยามีสิทธิขอเรียกดูบัญชีเงินฝากทุกเล่มที่สามีฝากหรือไม่

ตอบ----การขอดูสมุดเงินฝากเป็นเรื่องส่วนตัวของสามีภริยา ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือก็คงจะไปบังคับไม่ได้ครับ

แต่การกระทำใด ๆ ที่คู่สมรสเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหาย อาจร้องขอต่อให้ขอให้แยกสินสมรสได้ครับ

มาตรา 1484 ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส
(1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
(3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส
(4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอัน สมควร
(5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
 

อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรส แต่ผู้เดียว หรือสั่งให้แยกสินสมรสได้

ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนดวิธีคุ้มครอง ชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรสได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณี ฉุกเฉินให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ

 

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-31 12:31:16


ความคิดเห็นที่ 2 (2124000)

เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส

คู่สมรสย่อมมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรส เมื่อสามีเป็นฝ่ายจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหาย

การจัดการสินสมรสคู่สมรสย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรส เมื่อสามีเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่สามีจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายโดยภริยามิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้ที่สามีก่อขึ้น และสามียังนำเงินที่เป็นสินสมรสไปใช้เพื่อประโยชน์ของสามีฝ่ายเดียวโดยภริยาและบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากสามีแต่อย่างใด  เมื่อภริยาขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง สามีไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของสามีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูภริยาด้วย ภริยาจึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 (1) (2) (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3392/2548

อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับย่อยาวได้ที่นี่

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-10-31 12:33:08



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล