ReadyPlanet.com


ถูกเด็กลักทรัพย์ แต่แจ้งความไม่ได้


ขอปรึกษาปัญหาค่ะ

 ประมาณ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา มีเด็กชายคนหนึ่งอายุประมาณ 12 ปี ได้ทำการงัดบ้านเรือน และขโมยของมีค่า (โทรศัพท์ เงิน หรือแม้กระทั่งขันเครื่องเงินที่เป็นทรัพย์สินของทางวัดในหมู่บ้าน) ผู้เสียหายมาแล้วหลายราย (4-5 ราย) จากที่มีข่าวในหมู่บ้าน เมื่อล่าสุดประมาณวันจันทร์ที่แล้วเพื่อนบ้านใกล้กับบ้านดิฉัน ถูกงัดหน้าต่างและเด็กคนนั้นได้ขโมยโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง เงินอีกจำนวนหนึ่งที่ทำงานมาได้ รู้ว่าเด็กคนนั้นคือใคร เนื่องจากจับตัวได้ และได้เข้าแจ้งความกับตำรวจที่สถานีตำรวจแห่งหนึ่ง แต่ตำรวจบอกว่า "เค๊าเป็นเด็กทำอะไรเค๊าไม่ได้ และไม่รับแจ้งความนี้ " ทางเพื่อนบ้านดิฉันกลับบ้านด้วยความเสียใจกับสิ่งที่สูญเสีย และไม่สามารถทำอะไรได้เลยจากการเป็นผู้เสียหายครั้งนี้ ดิฉันจึงอยากรียนถามคุณทนายดังนี้ค่ะ

1. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีนี้ไม่รับแจ้งความ ทำได้หรือไม่? มีความผิดหรือไม่ หากทำไม่ได้ ? และผู้เสียหายควรทำอย่างไรต่อ? หากต้องการเอาเรื่องเด็กคนนี้

2. การที่เด็กเข้าไปขโมยสิ่งของในวัด พระภิกษุสงฆ์สามารถเอาความผิดได้หรือไม่? อย่างไร

 



ผู้ตั้งกระทู้ ABB :: วันที่ลงประกาศ 2010-12-01 09:22:26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2133423)

1. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีนี้ไม่รับแจ้งความ ทำได้หรือไม่? มีความผิดหรือไม่ หากทำไม่ได้ ? และผู้เสียหายควรทำอย่างไรต่อ? หากต้องการเอาเรื่องเด็กคนนี้

ตอบ--ตำรวจต้องรับแจ้งความครับ เด็กมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ

2. การที่เด็กเข้าไปขโมยสิ่งของในวัด พระภิกษุสงฆ์สามารถเอาความผิดได้หรือไม่? อย่างไร

ตอบ--วัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนนิติบุคคลดำเนินการแทนวัดได้

 

มาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
        ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

มาตรา 74 เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
        (1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
        (2) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดาหรือ
ผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดซึ่งต้องไม่เกินสามปีและกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้ง
ละหนึ่งหมื่นบาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
         ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาวางข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาสอบถามว่า จะยอมรับข้อกำหนดทำนองที่บัญญัติไว้สำหรับบิดามารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมาข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ยอมรับข้อกำหนด
เช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้แก่บุคคลนั้นไปโดยวางข้อกำหนดดังกล่าว
         (3) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ตาม (2) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้นเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56 ด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น
         (4) ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กนั้นได้หรือถ้าเด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวใน (2) ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อดูแลอบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม ในกรณีเช่นว่านี้ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่นผู้ปกครองเฉพาะเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการกำหนดที่อยู่และการจัดให้เด็กมีงานทำตาม
สมควร หรือให้ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ได้ หรือ
         (5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบ
แปดปี
         คำสั่งของศาลดังกล่าวใน (2) (3) (4) และ (5) นั้น ถ้าในขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ความปรากฏแก่ศาลโดยศาลรู้เอง หรือตามคำเสนอของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือบุคคลหรือองค์การที่ศาลมอบตัวเด็กเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอน หรือเจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้น หรือมีคำสั่งใหม่ตามอำนาจในมาตรานี้

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-12-01 23:17:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล