ReadyPlanet.com


ที่ดินมรดก


 

ย่าของดิฉัน ได้ยกบ้านทรงไทย ให้กับพ่อของดิฉัน ซึ่งบ้านนี้ปลูกเต็มที่ดิน จำนวน 122 ตารางวา พ่อมีน้อง 2

คน ซึ่งแยกครอบครัวไปก่อนแล้ว เหลือพ่อที่อยู่กับย่า  ในพินัยกรรมของย่า ระบุว่ายกบ้านให้กับพ่อ  ปัจจุบันย่า

และพ่อ, อา ทั้ง 2 คน เสียชีวิตไปนานแล้ว (บ้านหลังนี้มีอายุเกือบ200 ปี )    ตอนนี้ ทายาทของอา ได้มาขอ

แบ่งที่ดินที่ปลูกบ้านนี้   นี้โดยระบุว่าที่ดินนี้ยังไม่ได้แบ่ง เป็นมรดกร่วม  ย่าให้พ่อ เฉพาะบ้าน ไม่ได้ให้ที่ดิน 

เพราะฉนั้นลูกของอาซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิ ในที่ดินนี้ด้วย 

คำถามคือ ถ้าอาต้องการแบ่งที่ดิน  ทางครอบครัวดิฉัน ต้องรื้อบ้านออกในส่วนที่อาจะได้รับหรือไม่  และดิฉัน มีสิทธิ์ได้รับค่ารื้อถอนหรือไม่ ที่ถูกต้องคืออย่างไร

กราบขอบพระคุณ สำหรับคำตอบค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ สับปะรด :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-22 10:49:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2130780)

มรดกของย่าตกแก่ทายาท ปั้ญหาว่าบ้านทรงไทยจะต้องดำเนินการอย่างไร ทางออกที่สามารถเป็นไปได้คือการประมูลที่ดินระหว่างทายาท ถ้าไม่สามารถทำได้ก็อาจต้องขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันโดยกำหนดราค่าที่ดินและแยกส่วนค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกอยู่บนที่ที่ดินนั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-22 21:02:51


ความคิดเห็นที่ 2 (2131191)

เรียนถามเพิ่มเติมค่ะ

1.ถ้าดิฉันไม่ขายทอดตลาด,ไม่ประมูลที่ดินระหว่างทายาท ได้หรือไม่

2.สิทธิในที่ดินที่ลูกของอาจะได้รับ   ดิฉันสามารถให้เป็นเงินตามราคาประเมินของกรมที่ดินได้หรือไม่

3.ถ้าลูกของอาต้องการเป็นที่ดิน ไม่ต้องการเป็นเงิน   ตามกฏหมายแล้วสามารถบังคับให้ดิฉันรื้อบ้านที่ปลูกอยู่นี้ออกไปได้หรือไม่

กราบขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สับปะรด วันที่ตอบ 2010-11-24 10:20:21


ความคิดเห็นที่ 3 (2131325)

1.ถ้าดิฉันไม่ขายทอดตลาด,ไม่ประมูลที่ดินระหว่างทายาท ได้หรือไม่

ตอบ-- ได้ครับ แต่ทายาทเขาต้องการแบ่งตามสิทธิของเขาคุณก็ต้องหาทางออกกันเอง ถ้าทายาทฟ้องศาลก็ต้องให้ขายทอดตลาด ถ้าไม่มีทางออกอื่น ๆ

2.สิทธิในที่ดินที่ลูกของอาจะได้รับ   ดิฉันสามารถให้เป็นเงินตามราคาประเมินของกรมที่ดินได้หรือไม่

ตอบ--ราคาประเมินอาจต่ำเกินไป ทายาทจะยอมหรือไม่ทางคุณคงต้องไปเจรจากันเอง ถามทนายคงตอบแทนไม่ได้ครับ

3.ถ้าลูกของอาต้องการเป็นที่ดิน ไม่ต้องการเป็นเงิน   ตามกฏหมายแล้วสามารถบังคับให้ดิฉันรื้อบ้านที่ปลูกอยู่นี้ออกไปได้หรือไม่

ตอบ--ถ้ารื้อแล้วไม่เป็นประโยชน์กับทายาทและคุณศาลคงหาทางออกให้เป็นอย่างอื่นนอกจากรื้อถอน กฎหมายไม่ได้เขียนไว้ละเอียดขนาดนั้น แต่มรดกก็ต้องแบ่ง

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-11-24 16:18:11


ความคิดเห็นที่ 4 (2131502)

กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้และคำแนะนำ

ความรู้ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยทั่วไป จงย้อนกลับเป็นบุญ กุศล ให้คุณลีนนท์และครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

สุขภาพแข็งแรงทั้งครอบครัว

ผู้แสดงความคิดเห็น สับปะรด วันที่ตอบ 2010-11-25 09:33:45


ความคิดเห็นที่ 5 (2133635)

อยากจะทราบค่ะ คือ แม่ของดิฉันมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง มี นส3. จำนวน 2 ไร่ 2 งาน ติดกับถนนใหญ่  และ อยู่ติดแม่น้ำ สาธารณะของหมู่บ้าน ทางฝั่งซ้าย และ อีกทางฝั่งขวาจะมีคลองน้ำสาธารณะเล็กๆผ่านที่ทำขึ้นเอง(เหมือง) แต่คลองสาธารณะเล็ก ๆ จะอยู่ในที่ของแม่ดิฉัน ตามใบ นส3 จะไม่มีคลองเล็ก ๆ อันนี้ ทางด้านในที่ของแม่จะมีฝายน้ำล้นที่คนในหมู่บ้านทำขึ้นเองใช้ประโยชน์(เป็นฝายไม่มีทะเบียน) คราวนี้ มีปัญหาตรงที่ จะมีมาขอซื้อทาง ที่ติดกับคลองเล็ก ๆ ในที่ของแม่ เพื่อใช้ทางเข้าไปหาฝายด้านใน  แต่แม่ไม่ขาย เพราะได้ปลูกต้นไม้ไว้แล้ว ..และทางคนซื้อได้ไปร้องเรียงทาง อำเภอว่า แม่ของดิฉันปิดทางสาธารณะ (แม่ปิดเพราะมีปัญหาเรื่องนี้แหละค่ะ ถ้าไม่มีปัญหาทางบ้านดิฉันไม่ปิดแน่นอน (และทางที่เดินอยู่มันเป็นที่ดินของเรา) ถึงจะปิดแต่ก็ยังสามารถเดินเข้าออกได้ อีกอย่างทางไม่ใช่ทางสาธารณะ เป็นทางที่ทางบ้านดิฉัน่ทำไว้เดินผ่านเอง และ มีชาวบ้านมาร่วมใช้ด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น  ทางอำเภอให้ทางที่ดินออกมาทำการรังวัดพื้นที่ของฝายน้ำล้น (ที่ดินที่มีคนไปร้องเรียนว่ามีทางสาธารณะ)และมีหนังสือออกมาให้แม่ดิฉันไปชี้เขตแดน  แบบนี้จะทำยังไงได้ค่ะ ถ้าเราไม่ยอมให้วัดจะมีปัญหาไหมค่ะ และถ้าเรายอมให้ทำการรังวัด และ ถ้าที่ดินมันเหลือ แม่ดิฉันจะต้องเสียที่ดินหรือเปล่าค่ะ ขอคำปรึกษาด้วยค่ะ ตอนนี้แม่ไม่สบายใจเรื่องนี้มาก พาลป่วยไปด้วยค่ะ เพราะที่นี้ เป็นที่ทำกินมาตั้งแต่รุ่นตา ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุรีรัตน์ (week-haha-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-02 17:35:30


ความคิดเห็นที่ 6 (2133638)

ตอบคุณสุรีรัตน์

ข้อเท็จจริงที่ให้มานั้น ขอแสดงความเห็นดังนี้ คลองน้ำสาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินแม้จะอยู่ในที่ดินของคุณก็ตาม การที่คุณให้ข้อเท็จจริงมาว่า ทางที่ติดกับคลองเป็นทางที่ฝ่ายคุณเป็นผู้ทำไว้ใช้เดินเองหรือเป็นทางส่วนบุคคล

ปัญหาว่าทางอำเภอให้สำนักงานที่ดินมารังวัดคลองสาธารณะว่าความกว้างของคลองเดิมกินพื้นที่ของทางเดินที่คุณอ้างว่าเป็นทางส่วนบุคคลหรือไม่ ถ้ารังวัดแล้วเป็นที่ดินที่เคยเป็นคลองแต่ตื้นเขินจนมีผู้ใช้เป็นทางเดินและเป็นทางในปัจจุบัน เขาก็คงให้เป็นทางสาธารณะครับ

คำถามว่าไม่ยอมได้หรือไม่??  ตอบได้ว่าสำนักงานที่ดินเขามีสิทธิที่จะทำการรังวัดโดยให้ทางคุณมาระวังแนวเขต ถ้าวัดแล้วคุณไม่ตกลงยินยอมก็อาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ และ/หรือฟ้องต่อศาลให้ชี้ขาดตัดสินต่อไปได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2010-12-02 17:58:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล