ReadyPlanet.com


ฟ้องอาญานายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย


คือ 1. กระผมถูกนายจ้างปิดโรงงานหนึ โดยไม่ยอมจ่ายค่าแรง และค่าชดเชย ตามกฏหมายกำหนดแม้แต่บาทเดียว และผมก็ได้ยื่นเรื่องให้แรงงานดำเนินการเรียกร้องค่าชดเชยตามกฏหมายกำหนด แต่นายจ้างก็ไม่จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และเรื่องก็ขึ้นสู่ชั้นศาล และศาลก็มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์นายจ้าง
แต่นายจ้างไม่มีทรัพย์สินอะไรแล้ว ข้อนี้ผมต้องทำอย่างไรต่อไปได้บ้างครับ
2. และอีกด้านหนึ่ง ผมก็ได้แจ้งความคดีกับอาญาไว้แล้ว และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้ทำการสอบสวนสืบสวนนายจ้าง และส่งเรื่องไปให้แรงงานจังหวัด เพื่อให้นิติกรเรียกนายจ้างมาจ่ายค่าชดเชยต่างแล้ว แต่นายจ้างก็ไม่มาอีกเช่นเคย แรงงานจังหวัดก็ได้ส่งเรื่องคืนตำรวจ เพื่อให้ตำรวจส่งเรื่องให้กับอัยการ เพื่อพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง
เมื่อผมสอบถามไปยังตำรวจว่า ส่งเรื่องให้อัยการหรือยัง ตำรวจบอกว่า ส่งหมายเรียกนายจ้างแล้ว ต้องรอนายจ้างมาเพื่อจะนำตัวนายจ้างพร้อมสำนวนส่งเรื่องให้กับอัยการพร้อมกัน ผมจึงสงสัยว่า ส่งเรื่องให้อัยการจำเป็นต้องรอให้นายจ้างมาพบกับตำรวจก่อน เพื่อส่งเรื่องให้อัยการพร้อมกับสำนวนหรือเปล่า ในขั้นตอนนี้มีระยะเวลากำหนดหรือเปล่าครับ
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผมต้องทำอย่างไรต่อไปบ้างครับ
ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
เพราะพฤติกรรมนายจ้างแบบนี้ ผมไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกนะครับ
ผมก็หาเช้ากินค่ำ ยังจะมาโกงค่าแรงพวกเราอีก

 



ผู้ตั้งกระทู้ muutoom :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-22 09:26:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2147262)

1. แต่นายจ้างไม่มีทรัพย์สินอะไรแล้ว ข้อนี้ผมต้องทำอย่างไรต่อไปได้บ้างครับ

ตอบ--ตามปกติบริษัทน่าจะมีทรัพย์สินอยู่บ้างนะครับ ถ้าไม่มีจริง ๆ ก็ต้องทำใจครับ

2. ส่งเรื่องให้อัยการจำเป็นต้องรอให้นายจ้างมาพบกับตำรวจก่อน เพื่อส่งเรื่องให้อัยการพร้อมกับสำนวนหรือเปล่า ในขั้นตอนนี้มีระยะเวลากำหนดหรือเปล่าครับ

ตอบ--ฟ้องคดีอาญาต้องมีหรือได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลครับ จึงจะฟ้องได้ เรื่องระยะเวลาก็ตามอายุความของข้อหานั้น ๆ

3. เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผมต้องทำอย่างไรต่อไปบ้างครับ


ตอบ-- รอสอบถามความคืนหน้าจากเจ้าหน้าที่ตำรวจครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-22 16:47:46


ความคิดเห็นที่ 2 (2147265)

มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 10, มาตรา 22, มาตรา 24, มาตรา 25, มาตรา 26, มาตรา 37, มาตรา 38, มาตรา 39, มาตรา 40, มาตรา 42, มาตรา 43, มาตรา 46, มาตรา 47, มาตรา 48, มาตรา 49, มาตรา 50, มาตรา 51, มาตรา 61, มาตรา 62, มาตรา 63, มาตรา 64, มาตรา 67, มาตรา 70, มาตรา 71, มาตรา 72, มาตรา 76, มาตรา 90 วรรค 1 กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 95, มาตรา 107, มาตรา 118, วรรคหนึ่ง ไม่จ่าย ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 วรรค 1 หรือวรรค 2 มาตรา 121 วรรค 2 หรือ มาตรา 122 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 

การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
 

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
 

สรุป นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย มีโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ถ้าไม่ตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องภายใน 5 ปี ขาดอายุความ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-22 17:09:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล