ReadyPlanet.com


มีปืนสั้นอัดลม ไม่มีทะเบียนในครอบครอง


คือผมได้รับปืนมรดกมาครับ 4กระบอก  3กระบอกแรกมีทะเบียนถูกต้องทุกอย่าง    รับโอนเรียบร้อย
แต่มีอยู่กระบอกนึง เป็นปืนสั้นอัดลม เบอร์1     ไม่มีทะเบียน  พร้อมกระสุนอีก 4ตลับ (2000นัด)
จากที่ตามหาข้อมูลมาจากคนไกล้ชิด  พบว่าแอบนำเข้ามาโดยลูกเรืิอของกองทัพ เมื่อ20ปีก่อน 
และไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียน 

ไม่ทราบว่าหากโดนจับ และเรื่องถึงศาล คดีจะออกมาในรูปแบบไหนครับ  

ขอบคุณครับ 



ผู้ตั้งกระทู้ sakana :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-22 00:14:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2147261)

ปืนอัดลม ไม่ใช่อาวุธ นอกจากจะต้องการใช้อย่างอาวุธ เช่น เอาไปปล้น หลอกว่าเป็นอายุธปืนจริง ปืนอัดลม เห็นมีขายในท้องตลาดทั่วไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-22 16:40:38


ความคิดเห็นที่ 2 (2147312)

คือ เป็นปืนสั้นอัดลม  เบอร์1 กระสุน.177     ลำกล้องมีเกรียว และกระสุนเป็นโลหะ  

3กระบอก ที่ผมบอกว่ามีทะเบียน  1ในนั้นก็เป็นปืนสั้นอัดลมเช่นกัน     ใช้ในการกีฬา   ต้องขออณุญาติเหมือนปืนจำพวก.22  9มม.

ผู้แสดงความคิดเห็น sakana วันที่ตอบ 2011-01-22 21:07:07


ความคิดเห็นที่ 3 (2147408)

 
ศาลเคยมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีแบบนี้ว่า อาวุธปืนยาวอัดลมซึ่งมีอานุภาพไม่ร้ายแรง  ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติจะแก้ไขฟื้นฟูให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ จึงให้รอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4084/2543

 พนักงานอัยการ จังหวัดอุบลราชธานี         โจทก์
 

          แม้อาวุธปืนที่จำเลยทำ ประกอบ และซ่อมแซมจะมีหลายกระบอกแต่ก็เป็นเพียงอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) อาวุธปืนยาวอัดลมซึ่งมีอานุภาพไม่ร้ายแรง จำเลยร่างกายพิการเนื่องจากเป็นโรคเรื้อนอยู่ระหว่างรักษาตัว ได้ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตัวรับทำเครื่องมือเครื่องใช้ ในการเกษตรกรรม เพื่อมิให้เป็นภาระแก่สังคม ชาวบ้านเห็นว่าเป็นคนมีฝีมือ จึงไหว้วานให้ช่วยซ่อมแซมอาวุธปืนของกลางซึ่งมีไว้ยิงหนู ยิงกบหรือยิงสัตว์เล็กๆ ที่มากัดกินต้นข้าวเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัว พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่า จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติ จะแก้ไขฟื้นฟูให้จำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ การลงโทษจำคุก จำเลยระยะสั้นนอกจากจะไม่เกิดผลในการฟื้นฟูแก้ไขความประพฤติ ของจำเลยแล้ว ยังทำให้จำเลยมีประวัติเสื่อมเสีย เมื่อพ้นโทษแล้ว ก็ยากที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเองและ ครอบครัวโดยสุจริตต่อไปได้ การรอการลงโทษจำคุกจำเลยและคุม ความประพฤติจำเลยไว้น่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่า
________________________________
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 24, 72, 73 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 91 และริบของกลาง

          จำเลยให้การรับสารภาพ

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง, 24, 73 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานทำ ประกอบซ่อมแซมอาวุธปืนสำหรับการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ริบของกลาง
          จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง


          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "แม้อาวุธปืนที่จำเลยทำ ประกอบ ซ่อมแซมจะมีหลายกระบอกแต่ก็เป็นเพียงอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) อาวุธปืนยาวอัดลมซึ่งมีอานุภาพไม่ร้ายแรง จำเลยร่างกายพิการเนื่องจากเป็นโรคเรื้อนอยู่ระหว่างรักษาตัวได้ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตัวรับทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรม เช่น จอบ เสียม มีด และเคียว เป็นต้น เพื่อมิให้เป็นภาระแก่สังคม ชาวบ้านเห็นว่าเป็นคนมีฝีมือจึงไหว้วานให้ช่วยซ่อมแซมอาวุธปืนของกลางซึ่งมีไว้ยิงหนู ยิงกบหรือยิงสัตว์เล็ก ๆ ที่มากัดกินต้นข้าวเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัว พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติจะแก้ไขฟื้นฟูให้จำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ ศาลฎีกาจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่ไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย เพราะโทษจำคุกระยะสั้นนอกจากจะไม่เกิดผลในการฟื้นฟูแก้ไขความประพฤติของจำเลยแล้ว ยังทำให้จำเลยมีประวัติเสื่อมเสีย เมื่อพ้นโทษแล้วก็ยากที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดยสุจริตต่อไปได้ การรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติจำเลยไว้น่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่า ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งและคุมความประพฤติจำเลยด้วย"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งโดยข้อหาฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตปรับ 20,000 บาท ฐานทำ ประกอบ และซ่อมแซมอาวุธปืนสำหรับการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตปรับ 20,000 บาท รวมปรับ 40,000 บาทลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว คงปรับ 20,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี และคุมความประพฤติจำเลยไว้ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติปีละ 3 ครั้ง ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด ให้จำเลยละเว้นการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดทำนองนี้อีก กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรมีกำหนด 30 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามมาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
( สกนธ์ กฤติยาวงศ์ - ทองหล่อ โฉมงาม - ธำรงศักดิ์ ขมะวรรณ )

          

ผู้แสดงความคิดเห็น โดยทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-23 11:47:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล