ReadyPlanet.com


ฟ้องแบ่งทรัพยืสินกับสามี


อยากทราบว่าหากไม่ได้จนทะเบียนสมรสแล้วจาฟ้องแบ่งทรัพย์สินกับสามีได้หรือไม่

สามี ภรรยา อยู่กินกันมา20 ปี  สามีชืื่อที่ดินไว้แต่เป็นชื่อของสามี ต่อมาสามีไปมีภรรยา ใหม่แต่ยังไม่ได้จนทะเบียนสมรส  อยากทราบว่าภรรยาคนแรกจาสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อแบ่งทรัพย์สินได้หรือไม่และต้องทำอย่างไรบ้าง 



ผู้ตั้งกระทู้ ศรวิไล (next-step-at-wiindowslive-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-13 18:33:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2145116)

ถือเป็นเจ้าของรวมมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ฟ้องขอให้แบ่งได้ครับ ติดต่อทนายความ ดำเนินการให้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-13 23:16:43


ความคิดเห็นที่ 2 (2145350)

ก้อต้องดูเป็นกรณีไปครับเพราะทรัพย์สินที่สามีคุณมีนั้นคุณได้มีส่วนร่วมในการทำหั้ยมันเกิดขึ้นรึเปล่าไม่เช่นนั้นถือว่าเป็นของส่วนตัวครับเพราะคุณไม่ได้จดทะเบียน

ผู้แสดงความคิดเห็น ***** วันที่ตอบ 2011-01-14 18:00:31


ความคิดเห็นที่ 3 (2145372)

เป็นสามีภริยากันถึง 20 ปี แม้สามีจะทำงานคนเดียว ภริยาทำงานบ้าน เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำงานจึงเป็นกรณีที่ทำมาหาได้ร่วมกันครับ เป็นเจ้าของรวม เว้นแต่สามีก่อนอยู่กินฉันสามีภริยานั้นมีทรัพย์สินอยู่ก่อนแล้วซึ่งเรียกว่าทรัพย์สินส่วนตัวเมื่อนำไปเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็ไม่ตกเป็นเจ้าของรวม แต่ในทางปฏิบัติคงเป็นเรื่องยากที่จะแบ่งแยกว่าสิ่งใดเป็นทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของรวมหรือทรัพย์สินส่วนตัว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-14 19:46:19


ความคิดเห็นที่ 4 (2145376)

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นพี่สาวร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับผู้ตาย ผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดาน บิดามารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้คัดค้านเป็นสามีของผู้ตายอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ก่อนมาอยู่กินกันฉันสามีภริยากับผู้ตาย ผู้คัดค้านมีภริยาแล้วชื่อนางวิสิทธิ์โดยได้แต่งงานและจดทะเบียนสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2500 ขณะนี้ก็ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมาย

พิเคราะห์แล้ว ที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้คัดค้านไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องนั้น ผู้ร้องให้เหตุผลว่า ผู้คัดค้านมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ในปัจจุบันยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน ไม่ว่าผู้คัดค้านจะมีพฤติการณ์เช่นไร ผู้คัดค้านกับผู้ตายก็ไม่อาจมีสถานภาพเป็นสามีภริยากันได้ ผู้คัดค้านเป็นเพียงชายชู้ของผู้ตายเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นว่า การที่หญิงกับชายอยู่กินร่วมกันและประพฤติปฏิบัติต่อกันฉันสามีและภริยา แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายหญิงชายคู่นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นสามีภริยากันโดยทางพฤตินัย เป็นแต่เพียงกฎหมายยังไม่รับรองว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านกับผู้ตายอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นเวลานานประมาณ 16 ปี ก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันแล้ว ผู้ร้องนำสืบโดยผู้ร้องกับพยานผู้ร้องมาเบิกความลอย ๆ ว่า ผู้ตายไม่มีสามีทรัพย์สินต่าง ๆที่ผู้ตายมีอยู่ ผู้ตายเป็นผู้ซื้อหามาเองเพียงลำพัง โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน แต่ฝ่ายผู้คัดค้านเบิกความว่าผู้คัดค้านเป็นสามีของผู้ตายอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยามานานประมาณ 16 ปีแล้วระหว่างนั้นได้ร่วมกันซื้อหาทรัพย์สินมาเก็บไว้บ้าง และซื้อที่ดินพร้อมอาคารชุดราชเทวีทาวเวอร์ นอกจากนี้ผู้คัดค้านกับผู้ตายยังได้เปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาบางกะปิซึ่งบัญชีดังกล่าวผู้คัดค้านและผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันข้อเท็จจริงดังกล่าวผู้ร้องก็ไม่ได้โต้แย้งหรือนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างว่าไม่เป็นความจริง ข้อนำสืบของผู้คัดค้านดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับการที่ผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันและอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นเวลานานถึง 16 ปีแล้วมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายร่วมกันทำมาหากินจนมีทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้และทรัพย์สินดังกล่าวต้องถือว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมนั้นชอบด้วยเหตุผลแล้ว..."

พิพากษายืน.

( มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ - ครีภูมิ สุวรรณโรจน์ - พรชัย สมรรถเวช )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2534

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-14 20:02:53


ความคิดเห็นที่ 5 (2145382)

การเป็นสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสไม่ใช่ว่าจะไม่มีสิทธิใดๆ ต่อกันเลยก็หาไม่ การที่หญิงชายอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็มีลักษณะทั้งคู่มีเจตนาร่วมชีวิตกัน เกิดผลในเชิงสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาในทางกฎหมายแพ่งดังนี้

1.ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่กินด้วยกันถือเป็นเจ้าของร่วมกัน แม้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินร่วมกันจะไม่เป็นสินสมรสก็ตาม แต่การที่หญิงชายได้ลงทุนลงแรงร่วมกันทำมาหาได้เกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมานั้น มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ถือว่าหญิงชายต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินนั้นโดยมีส่วนคนละครึ่งเท่ากัน

มีข้อสังเกตว่า ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งนี้ หากฝ่ายหญิงหรือชายจดทะเบียนเป็นชื่อของตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว หรือกรณีหญิงดูแลครอบครัว เลี้ยงบุตร ไม่ได้ออกไปร่วมแสวงหาทรัพย์สินด้วย จะถือว่าการที่หญิงเป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียวนี้มีส่วนแบ่งในทรัพย์สินด้วยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่า ไม่ว่าชื่อทางทะเบียนจะเป็นชื่อของชายหรือหญิงเพียงฝ่ายเดียว ก็ยังต้องแบ่งตามสิทธิคนละครี่ง และกรณีของหญิงที่ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียว ถือว่าการที่หญิงดูแลครอบครัวให้ชายเป็นการร่วมกันกับชายในการแสวงหาทรัพย์สินร่วมกันแล้ว หญิงจึงมีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวครึ่งหนึ่งเช่นกัน

2.ถ้าหญิงหรือชายตายลง อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ หญิงชายที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแม้จะไม่ใช่ทายาทที่จะรับมรดกของกันและกันได้ก็ตาม แต่ทรัพย์สินที่หญิงชายหาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยาเป็นเจ้าของร่วมกันมีสิทธิคนละครึ่งดังกล่าวในข้อ  1 มาแล้ว จึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย มีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

สิทธิทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นเพียงสิทธิน้อยนิดที่คู่สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะพอนำมาใช้ในการคุ้มครองสิทธิระหว่างเป็นสามีภริยาได้บ้าง แต่ก็จะเทียบกันไม่ได้เลยกับสิทธิของสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เช่น สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทที่เป็นคู่สมรส สิทธิฟ้องร้องกรณีฝ่ายใดไปมีชู้หรือมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือ สิทธิฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสหรือเลี้ยงดูบุตร

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-14 20:19:05


ความคิดเห็นที่ 6 (2146503)

ผมแต่งงานกับภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียน และมีบุตรด้วยกัน 1 คน นับตั้งแต่แต่งงานกันมา ก้อประมาณ 2 วันดี 5 วันร้ายเรื่องค่าใช้จ่ายบุตรผมไม่เคยบกพร่อง แต่กับภรรยาเหมือนกับแยกกันอยู่ เพราะบ้านอยู่ตรงข้ามกัน ตอนนี้เขามากล่าวหาว่าผมมีเมียน้อย และก้อด่าคนทั้งตระกูลผม ในทางที่เสียหาย โดยกล่าวหาว่าคนในตระกูลผมหาแต่งงานกับคนอื่นไม่ได้ ต้องมาเอากันเอ็ง ต้องมาแย่งสามีชาวบ้านเขา สงสัยได้รับการสั่งสอนมาจากตระกูลของผม คงเป็นกันทั้งโคตร โดยที่ข้อกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง และยังถือมีดเพื่อที่จะเอามาแทงผมอีก ผมจะสามารถฟ้องในข้อหาไหนได้บ้างครับ อยากรู้ด่วนมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น anan วันที่ตอบ 2011-01-19 12:04:34


ความคิดเห็นที่ 7 (2146531)

ช่่วยตอบหน่อยครับ    ผู้หญิงหนีออกจากบ้านไป  7 เดือน  และฝ่ายชายเป็นคนจ่ายบ้านต่อ   มาถึงปัจจุบัน  แล้วจะดำเนินการอย่างไรครับ ฝ่ายหญิงไม่ยอมโอนอำนาจให้ฝ่ายชาย ต้องการแกล้งฝ่ายชาย

ผู้แสดงความคิดเห็น วันชัย วันที่ตอบ 2011-01-19 13:53:20


ความคิดเห็นที่ 8 (2146543)

เกี่ยวกับคำถามในความคิดเห็นที่ 6 และ 7   ยินดีให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ โทร  084 130 2058 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-19 14:42:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล