ReadyPlanet.com


การคืนค่าสินสอดทองหมั้น


ฝ่ายหญิง(บรรลุนิติภาวะแล้ว)มีความสัมพันธ์กับฝ่ายชาย จนท้อง ๒ เดือนโดยไม่ได้บอกพ่อแม่  พ่อแม่บังคับให้แต่งงาน กับชายอื่นโดยฝ่ายหญิงแจ้งให้เจ้าบ่าวทราบแล้ว  แต่ไม่ได้แจ้งให้ฝ่ายชายที่เป็นพ่อของลูกรับรู้  หลังจากแต่งงานเจ้าสาวถูกบังคับให้ร่วมหลับนอน  ฝ่ายหญิงไม่สามารถจะทนฝืนใจตนเองได้จึงบอกให้พ่อแม่ทราบ ญาติฝ่ายชายไม่ยินยอมจะขอสินสอด(2แสน)และทอง(3บาท)คืน  อยากทราบว่าเขาจะทำได้หรือไม่  ถ้าคืนจะต้องให้เขาหมดไหม หรือฝ่ายหญิงจะทำอย่างไร  ฝ่ายชายที่เป็นพ่อของลูกจะทำอย่างไรบ้าง   ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างกับคนบ้านนอก



ผู้ตั้งกระทู้ พ่อแม่เจ้าสาว :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-25 12:01:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2148201)

คำว่าแต่งงาน ถ้าหมายถึงการจดทะเบียนสมรส เมื่อหญิงได้จดทะเบียนสมรสแล้วจะเรียกสินสอดคืนไม่ได้ ถ้าแต่งงานไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ถือว่าเป็นสินสอด แต่อาจเป็นเงินที่ให้โดยเสน่หา จึงเรียกคืนไม่ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-25 22:48:00


ความคิดเห็นที่ 2 (2148203)

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินค่าสินสอดจำนวน 35,020 บาท กับคืนทองหมั้นหรือใช้ราคา 10,000 บาทให้แก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปีของต้นเงิน 45,020 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดและของหมั้นคืนเพราะเหตุที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสเป็นความผิดของโจทก์เอง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน39,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า เมื่อวันที่6 มีนาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2ทำสัญญาหมั้นและแต่งงานกันตามประเพณีที่บ้านของจำเลยที่ 2ในพิธีแต่งงานดังกล่าวโจทก์นำเงินสินสอดจำนวน 22,000 บาททองหมั้นหนัก 2 บาท และเงินค่าสุกร 2 ตัว ราคา 7,000 บาทมอบให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นสินสอดและของหมั้นหลังจากแต่งงานแล้วโจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากันที่บ้านของจำเลยที่ 2 ต่อมาวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 โจทก์และจำเลยที่ 1และญาติทั้งสองฝ่ายไปเจรจาตกลงกันในเรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่บ้านของกำนันในท้องที่ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นและจะต้องคืนสินสอดของหมั้นให้แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่าพยานโจทก์คงมีลำพังตัวโจทก์และบิดาโจทก์ที่เบิกความว่าโจทก์ไม่ได้มีความประพฤติเสียหาย จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์จนถึงกับต้องไปทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ที่บ้านกำนันแห่งท้องที่แต่ตามคำเบิกความของบิดาโจทก์ระบุว่าบิดาโจทก์ไม่ทราบสาเหตุที่ไม่ได้ไปจดทะเบียนสมรสว่าเป็นความผิดของฝ่ายใด จึงเป็นพิรุธ ผิดวิสัยผู้ที่เป็นบิดาและเป็นบุคคลใกล้ชิดกับโจทก์ ที่จะต้องรู้สาเหตุความเป็นมาต่าง ๆ ได้ดีกว่าบุคคลภายนอก นอกจากนี้ปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า โจทก์ยังไม่ได้ประกอบอาชีพรับจ้างที่อื่น แต่เบิกความต่อมาขัดแย้งกันเองว่า ไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพมหานครบ้าง รับจ้างเป็นกรรมกรในหมู่บ้านบ้าง คำเบิกความของโจทก์จึงสับสนฟังไม่ได้แน่นอนว่าโจทก์ประกอบสัมมาชีพเป็นกิจจะลักษณะเยี่ยงสามีหรือผู้นำครอบครัวทั้งหลายได้ปฏิบัติกันหรือไม่ พยานจำเลยนอกจากตัวจำเลยทั้งสองแล้วยังมีนายสมโภชน์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่และเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ได้เสียร่วมกับฝ่ายใด จึงไม่มีเหตุระแวงว่านายสมโภชน์จะเบิกความเข้าข้างช่วยเหลือฝ่ายจำเลยทั้งสอง คำเบิกความของนายสมโภชน์ที่เบิกความสอดคล้องถึงความประพฤติของโจทก์อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสด้วย พยานจำเลยทั้งสองจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานโจทก์ และเมื่อพิเคราะห์ถึงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินกันฉันสามีภริยานานถึง 8 เดือน โดยอยู่ร่วมกันตลอดเวลา จึงมีเหตุน่าเชื่อตามคำเบิกความของจำเลยที่ 1ว่าโจทก์ร่วมหลับนอนกับจำเลยที่ 1 เกินกว่า 20 ครั้ง และหากจำเลยที่ 1 ไม่เต็มใจให้โจทก์ร่วมหลับนอนด้วยดังอ้างแล้วโจทก์คงไม่มีโอกาสร่วมหลับนอนกับจำเลยที่ 1 ได้ดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 มิได้มีความรังเกียจตัวโจทก์นอกจากความประพฤติของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า โจทก์เรียกร้องที่จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เพียงครั้งเดียวก่อนที่จะออกจากบ้าน แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจอยู่กินด้วยกันเป็นระยะเวลานานโดยมิได้มีฝ่ายใดกล่าวอ้างหรือเรียกร้องให้ไปจดทะเบียนสมรสด้วยกันมาก่อน เหตุแห่งการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสจึงเกิดจากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่า การที่ไม่ได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด โจทก์เพิ่งจะมาเรียกร้องให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนสมรส เมื่อโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ต่อว่าที่เอารถจักรยานยนต์ไปเที่ยวไม่กลับบ้าน และโจทก์ออกจากบ้านที่อยู่อาศัยไปในวันที่21 พฤศจิกายน 2538 จึงได้ไปตกลงกันที่บ้านกำนันและทำบันทึกไว้ว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปและตามบันทึกดังกล่าวจำเลยทั้งสองนำสืบว่าได้ตกลงกันให้โจทก์ปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ก่อนที่จะไปจดทะเบียนสมรส แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ได้มีการบันทึกไว้ในเอกสารหมาย จ.1 ก็ตามแต่จำเลยก็มีนายสมโภชน์เป็นพยานบุคคลยืนยันว่าได้มีการตกลงกันดังกล่าวจริง ประกอบกับโจทก์เบิกความกลับไปกลับมา ยอมรับแล้วปฏิเสธในเรื่องข้อตกลงดังกล่าว ทำให้เชื่อว่าได้มีการตกลงดังที่จำเลยทั้งสองนำสืบ พฤติการณ์ของโจทก์จึงเจือสมกับพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้เรียบร้อยก่อน การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกสินสอดและของหมั้นคืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบแล้วฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

( อัธยา ดิษยบุตร - ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ - อภิชาต สุขัคคานนท์ )

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-01-25 22:51:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล