ReadyPlanet.com


บ้านแม่ถูกยีดจากกรมบังคับคดีแล้วแต่เงินไม่พอใช้หนี้


แม่เป็นหนี้ธนาคารแล้วถูกยึกบ้านไปแล้วเงินไม่พอใช้หนี้ 800000กรมบังคับคดีสืบว่าแม่มีที่อีกที่หนึ่ง แต่มีซื่อน้องชายแม่ด้วยเพราะเป็นมรดกแล้วแม่ก็เอาไปเข้าจำนองอีก100000 ก่อนหน้านานแล้ว ส่วนที่ดินประเมินได้ 400000 ถ้าหนี้ยังใช้ไม่พอบุตรต้องใช้ให้ไหนเกี่ยวกันไหมครับ แล้วทางกรมจะยึดที่ที่เหลือได้ไหมเพราะแม่เอาไปจำนองกับคนอื่นนานแล้ว



ผู้ตั้งกระทู้ หนี้ของแม่บุตรเกี่ยวไหม :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-05 19:54:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2151078)

เมื่อไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ยืมได้ ธนาคารเจ้าหนี้ก็จะฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนอง นำเอาที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้ไว้ นำออกขายทอดตลาด

การขายทอดตลาดเป็นการนำเอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดมาออกประมูลแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจในทรัพย์ที่นำออกขายทอดตลาดนั้น

การกำหนดราคาทรัพย์ในการขายทอดตลาดนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะกำหนดราคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของราคาประเมินในการขายครั้งแรก และมีอำนาจกำหนดราคาขายต่ำกว่าร้อยละ 80 ในการขายครั้งต่อไปได้ แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ดังนั้นเมื่อทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีนำออกขายทอดตลาดได้เงินมาตามที่ขายทรัพย์ได้ ซึ่งตามปกติก็จะไม่พอชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้ และจะมียอดค้างชำระเป็นจำนวนมาก

ยอดค้างชำระดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอากับลูกหนี้ได้ ในกรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงทำสัญญากันว่า หากขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันของลูกหนี้แล้ว ได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ยังขาดอยู่เท่าใด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะนำทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ในส่วนที่ยังค้างชำระอยู่ได้ ซึ่งเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินมีอาชีพปล่อยสินเชื่อจะมีฝ่ายกฎหมายที่จัดทำสัญญากำหนดเงื่อนไขดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้น ตามคำถามว่า ทางเจ้าหนี้จะยึดที่ดินที่เหลือที่แม่นำไปจำนองไว้กับเจ้าหนี้รายได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ครับ เพราะ การจำนองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง ผลของการที่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของเจ้าของเดิมอยู่จึงทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดที่ดินแปลงอื่นดังกล่าวได้อีก แต่....

เจ้าหนี้ที่นำยึดที่ดินนั้นจะต้องนำเงินที่ขายได้นั้นไปชำระหนี้จำนองของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองแปลงนั้นเสียก่อน หากมีเงินเหลือจึงจะตกได้แก่เจ้าหนี้ที่นำยึดทรัพย์นั้นครับ

การเป็นหนี้กู้ยืม หนี้จำนอง เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่มีผลของบุตรที่จะต้องรับผิดชอบด้วย เว้นแต่ลูกหนี้เสียชีวิต และด้วยเหตุผลข้างต้นที่ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือทรัพย์สินยังเป็นของลูกหนี้ มีผลให้ที่ดินตกเป็นมรดกและตกได้แก่ทายาท ทำให้ทายาทต้องรับไปทั้งสิทธิ (ในการรับมรดก) และหน้าที่ (ในการชำระหนี้) แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่ามรดกที่ทายาทได้รับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-05 20:25:26



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล