ReadyPlanet.com


การหมั้นและการมัดจำต่างกันอย่างไร


สวัสดีคะ  คุณอาทนาย  หนูมีเรื่องจะรบกวนถามคะ  หนูคบผู้ชาย  คนหนึ่งตั้งแต่ตนปี  53 โดยที่ยังไม่ได้คิดจะแต่งงานด้วยเพราะพึ่งครบกัน  และจะเรียนต่อปริญญาโท แต่เมื่อประมาณกลางปี  53  ผู้ชายได้ถามพ่อแม่หนูว่าจะมาขอเรียกค่าสินสอดเท่าไหร่   ซึ่งพ่อแม่บอกว่าแล้วแต่จะให้ตามสมควร  ซึ่งทางพ่อแม่หนูไม่ได้เร่งรัดนะคะ   เมื่อประมาณธันวาคม  53  เค้าได้งานอยู่แถวบ้านเลยต้องมาพักอยู่ที่บ้านหนู  และเมื่อวันที่  18  ธันวาคม  2553  พ่อแม่ของผู้ชายได้มาที่บ้านหนู  ซึ่งในวันนั้น  มีผู้ใหญ่บ้านของหนูอยู่ด้วย  และชาวบ้านทั้ง  2  ฝ่ายอีกอีกประมาณ  20 กว่าคน  ซึ่งได้ตกลงค่าสินสอดไว้คือ  เงินสด  100,000.-บาท  และทองอีก  1  บาท  ซึ่งได้วางเงินมัดจำไว้ 10,000.-  บาท  ไม่ได้มีรูปถ่ายนะคะ  ตกลงไว้คือเดือนมิถุนายน  2554  จะมาสู่ขอ   ซึ่งฝ่ายชายได้มาอยู่ที่บ้านหนู  โดยที่ได้ลาออกจากงานมาอยู่บ้านเฉย-เฉย  จนเมื่อวันที่  28  มกราคม  2554  ผู้ชายได้กลับไปบ้านที่  จังหวัดหนองบัวลำภู  โดยที่ไม่ได้ติดต่อกลับมาเลยเป็นเวลา  6 วัน     จึงได้โทรกลับมาทวงโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งหนูแปลกใจมากไม่ถามถึงหนูเลยซักคำ  จึงได้ถามกลับว่า  แล้วเรื่องที่จะมาขอจะเอายังงัย   เค้าตอบมาว่า  พ่อแม่ไม่ให้มาแล้ว  พ่อแม่ไม่ให้ไปที่เลยแล้ว ไม่มีเงิน  และเค้ายังทวงเงินมัดจำคืน  พอดีหนูรับราชการ อยู่อบต.  ถ้าในกรณีนี่หนูจะสามารถแจ้งความดำเนินคดีอะไรกับเค้าได้หรือไม่  จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่เพราะคนรู้ทั้งหมูบ้าน  ถ้าจะต้องจ้างทนายความหนูจะต้องทำอย่างไร  เพราะอีก  3 เดือนก้อจะครบกำหนดแล้ว  ถ้าเค้าไม่ติดต่อมาเลย  จะต้องทำอย่างไร  รบกวนตอบด่วนด้วยคะ เพราะจะได้รีบเตรียมเงินและเอกสารต่างๆ  เพราะทางเค้ายืนยันว่าจะไม่มาสู่ขอตามที่ตกลงไว้ หนูรบกวนคุณอาทนายด้วยนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ดอย :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-05 10:27:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2150961)

การหมั้น เป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างชาย และหญิงคู่หมั้น ที่ตกลงจะสมรสกันในอนาคต

การมัดจำ คือการวางเงินไว้เป็นหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าคู่สัญญาจะปฏิบัติตามสัญญา

คำถาม---  ถ้าในกรณีนี่หนูจะสามารถแจ้งความดำเนินคดีอะไรกับเค้าได้หรือไม่?

ตอบ --- แจ้งความตำรวจไม่รับแจ้งครับ

คำถาม-    จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่เพราะคนรู้ทั้งหมูบ้าน?

ตอบ- ลักษณะเงินมัดจำ 10.000 บาท ไม่ถือว่าเป็นการหมั้นกันครับ เมื่อไม่มีสัญญาหมั้นจึงเรียกร้องอะไรไม่ได้ครับ

คำถาม  -   ถ้าเค้าไม่ติดต่อมาเลย  จะต้องทำอย่างไร?

ตอบ-- ยึดเงินมัดจำ

 ซึ่งตามปกติคู่สัญญาจะไม่สามารถบังคับให้คู่หมั้นต้องสมรสกันตามสัญญา หรือบังคับคู่สัญญาให้สมรสได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของแต่ละบุคคล

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-05 11:27:33


ความคิดเห็นที่ 2 (2151244)

สัญญากู้ยืมที่ฝ่ายชายทำให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเป็นเงิน 5,000 บาท แทนของหมั้นเพราะฝ่ายชายไม่มีเงินโดยมีเจตนาให้เงินตามสัญญากู้เป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กัน เจตนาไม่ได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของ ของหมั้น  และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว หากฟังว่าให้เป็นเบี้ยปรับ เมื่อผิดสัญญาหมั้น จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย หญิงจะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นหาได้ไม่ ทั้งสัญญากู้ไม่มีมูลหนี้เดิมที่มีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ตามสัญญา
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1852/2506

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-06 17:00:30


ความคิดเห็นที่ 3 (2151245)

ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคแรกบัญญัติว่า ของหมั้นคือทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่าชายจะสมรสกับหญิงนั้น แต่สัญญากู้ท้ายฟ้องคดีนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังมิได้มีการมอบหมายทรัพย์สินให้กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของของหมั้น  และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว แม้หากจะฟังว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้เป็นเบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ก็ได้บัญญัติว่า ถ้าได้มีคำมั่นไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นคำมั่นนั้นก็เป็นโมฆะ ในกรณีเช่นนี้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นหาได้ไม่ ทั้งสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามสัญญา ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่นายสวัสดิ์บุตรจำเลยได้ละเมิดทำอนาจารนางสาวเจียมน้องสาวโจทก์ และรูปคดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญากู้รายนี้เป็นเงินสินสอดตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่ ดังที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัย เพราะหากสัญญากู้ดังกล่าวจะเป็นเงินสินสอดตามข้อต่อสู้ของจำเลย สัญญากู้ดังกล่าวก็เป็นเพียงประกันว่าจะมีการให้เงินสินสอดซึ่งเข้าลักษณะจะให้กันโดยเสน่หาเท่านั้น เมื่อยังไม่มีการส่งทรัพย์ให้แก่กัน ก็ไม่สมบูรณ์จะฟ้องเรียกทรัพย์ต่อกันมิได้เช่นกันที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-06 17:01:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล