ReadyPlanet.com


เป็นผู้ค้ำประกันรถ โดนฟ้อง แต่เพิ่งรู้ภายหลังว่าผู้ซื้อโดนฟ้องคดีรถหลายคัน


ผู้ซื้อผิดนัดชำระอีก (ยอด 3 แสนกว่าบาท) หลังจากไปทำเรื่องประนอมในศาลแล้ว พอติดต่อผู้ซื้อ ๆ บอกว่า โดนอาญัติบ้านที่อยู่ แต่เป็นฝ่ายกฏหมายของรถอีกคัน ไม่ใช่คันที่ดิฉันค้ำ ในเมื่อโดนอาญัติบ้านไปแล้วเลยไม่จ่ายค่างวดรถคันที่ดิฉันค้ำ รอมีเงินแล้วเอาไปปิดบัญชีทีเดียว ติดต่อไปฝ่ายกฏหมายของรถคันที่ดิฉันค้ำ เขาบอกว่าจะส่งเรื่องตรวจสอบทรัพย์สินแล้ว อยากถามว่า ถ้าผู้ซื้อยังมีบ้านที่โดนอาญัติก่อนหน้านี้อยู่ เรื่องจะถึงผู้ค้ำมั้ยค่ะ หรือเขาจะยึดบ้านขายทอดตลาด และถ้าทำได้ ใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ถึงจะยึดบ้านผู้ซื้อได้ค่ะ

และเรามีสิทธิ์ขอถอนออกจากคดีนี้มั้ย มีทางมั้ยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ :: วันที่ลงประกาศ 2014-06-12 21:27:14


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3662123)

1. สาระสำคัญของสัญญาค้ำประกันก็คือ ผู้ค้ำประกันสัญญาว่า หากลูกหนี้หรือผู้ซื้อรถผิดนัด ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทน ดังนั้นในกรณีของคุณ ผู้ซื้อรถ และผู้ค้ำประกัน ถูกผู้ให้เช่าซื้อฟ้องเป็นจำเลยไปแล้ว คุณในฐานะผู้ค้ำประกันถือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับคดีเอากับคุณได้โดยตรงในฐานะลูกหนี้ร่วมจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน(สิ้นเชิง) และคุณไม่สามารถเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปบังคับเอากับลูกหนี้ (ผู้ซื้อ) ก่อนได้

2.  ที่เจ้าหนี้แจ้งคุณว่าจะส่งเรื่องตรวจสอบทรัพย์ก็หมายความว่า หากสืบทรัพย์แล้วพบว่าคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินก็ดำเนินการบังคับคดีเอากับทรัพย์ของคุณเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้เลย โดยไม่คำนึงว่าผู้ซื้อจะยังมีบ้านที่โอนอายัดอยู่หรือไม่ สรุปคือเจ้าหนี้เขายึดบ้านได้ครับ

3. ระยะเวลาในการบังคับคดีไปจนถึงขายทอดตลาดใช้เวลาไม่เท่ากัน ถ้าถามว่าจะโดนยึดอีกนานแค่ไหน ก็คงประมาณ 2 เดือน ส่วนทรัพย์จะขายได้เมื่อใดนั้นตอบไม่ได้ครับ

4. สิทธิของผู้ค้ำประกันเมื่อได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแล้ว สามารถใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเท่าจำนวนเงินที่ได้ชำระแทนลูกหนี้ไปครับ

5. ขอถอนออกจากคดีได้ไหม?  คงหมายถึงถอนจากการะเป็นผู้ค้ำประกัน ไม่ได้แล้วครับ เพราะศาลมีคำพิพากษาไปแล้วครับ

 

บอกล้างสัญญาค้ำประกัน ขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกัน การจัดการสินสมรส

ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์ สัญญาค้ำประกันระบุว่านางนิดาภริยาโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของผู้กู้จนกว่าจำเลยผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงและตกลงยินยอมเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ถ้าผู้กู้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญากู้นั้นทันที เป็นสัญญาที่นางนิดาภริยาโจทก์ยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จึงเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลซึ่งผูกพันตัวนางนิดาภริยาโจทก์ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยมิได้เกี่ยวกับสินสมรสและมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือแต่อย่างใด โจทก์(สามี) จึงขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันไม่ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258 วันที่ตอบ 2014-06-27 14:57:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล