ReadyPlanet.com


เลิกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชย


 นายจ้างแจ้งเลิกจ้างในวันสิ้นเดือนและให้ออกเลย โดยแจ้งว่ามีเรื่องที่เคยทำผิด เมื่อวันที่ 6  มค เจ้าของบริษัทโทรเข้ามาสั่งให้จ้างคนเอาเอกสารไปส่ง แล้วเจ้าของไม่ได้จ่ายเงินให้กลับมาเก็บที่บริษัท แต่บริษัทยังไม่ได้โอนเงินเดือนให้ทำให้ไม่มีเงินจ่าย จึงหยิบเงินในลิ้นชักของบริษัทออกไปจ่าย 100 บาท เมื่อคนรับผิดชอบกลับมาถึงได้ทำการแจ้ง  จึงถูกตักเตือนว่าห้ามกระทำ ก็รับทราบ  แต่ถึงวันที่ 31 มค บริษัทแจ้งให้ออกเนื่องจากสาเหตุนี้และแจ้งว่าไม่ใส่ใจกับงาน ให้ออกทันที ตอนนี้ยื่นเรื่องที่กรมสวัสดิการไว้  ส่วนประกันสังคม แจ้งมาว่านายจ้างแจ้งเรื่องว่าไล่ออกทำให้ไม่ได้รับเงินชดเชย  แต่นายจ้างยังไม่ได้ส่งเอกสารให้ประกันสงคม เรืองที่กรมสวัสดิการจะครบ 60วัน ในวันที่ 3 เมย นี้  ไม่ทราบว่าตอนนี้ต้องทำยังไงบ้างค่ะ

เพิ่มเติมค่ะ ก่อนหน้าที่จะออก  คนที่เป็นหัวหน้างานได้มีการส่งข้อความไปหาแฟน  กล่าวหาในทำนองเสียหาย  และมีการโทรเข้าไปว่าเสียหายต่าง ๆ นานา โดยมีการอัดคลิปเสียงเอาไว้ค่ะ  อย่างนี้เราสามารถทำอะไรได้ไหมค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ มิว :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-04 14:54:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2158765)

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสามารถกระทำได้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น สำหรับข้อเท็จจริงที่ให้มานั้น ความเห็นผมคิดว่าไม่น่าเป็นเหตุให้นายจ้างถึงกับเลิกจ้างได้เพราะขาดเจตนาที่จะทุจริตต่อหน้าที่และไม่ได้จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และไม่ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและอื่น ๆ อย่างไรก็ตามตอนนี้คุณได้ใช้สิทธิไปที่พนักงานตรวจแรงงานแล้วคิดว่าน่าจะไปตามเรื่องที่กรมสวัสดิการแรงงานดูอีกครั้งนะครับอาจได้ความคืนหน้า ส่วนคำถามเกี่ยวกับการโทรเข้าไปว่าเสียหายต่าง ๆ นั้นผมว่ายังไม่มีความร้ายแรงอะไรมากนัก อะไรที่พอจะปล่อยวางไปบ้างก็อย่าให้โต้ตอบกันไปมาจนต้องขึ้นถึงโรงถึงศาลเลยจะได้ไม่คุ้มเสียนะครับ เสียทั้งเวลาและเงินทอง บอกตรง ๆ ว่า ในสังคมแบบไทย ๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา ๆ แม่ค้าในตลาดเขาด่ากันหนักกว่านี้ยังไม่ถึงศาลเลยครับ แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสิทธิของคุณถ้ามองว่าได้รับความเสียหายก็อาจไปแจ้งความร้องทุกข์ในความผิดฐานหมิ่นประมาทดู ดูว่าทางตำรวจเขาให้ความเห็นอย่างไร??

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
 หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-06 10:56:31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล