ReadyPlanet.com


กรณีนี้ขาดอายุความหรือไม่ครับ


สัญญากู้ยืมกับกรมแรงงาน ให้ผ่อนชำระ โดย ผ่อน 671.96x18 ด. เริ่มชำระตั้งแต่ 01/02/2543 จนถึง 01/07/2544       แต่ได้มีการผ่อนแล้ว 6 งวดแรก วันสุดท้ายที่ชำระคือ 05/07/2543    ต่อมาได้มีหนังสือขอยกเลิกสัญญา วันที่ 08/07/2553   และมีหมายศาลวันที่ 27/02/2554 ให้ไปไกล่เกลี่ยและสืบพยาน วันที่ 28/04/2554 กรณีนี้ขาดอายุความหรือยังครับ  และต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง กรณีขาดอายุความ   ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ กวีวัฒน์ (kaweewat-dot-k-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-27 22:08:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2156912)

กรณีตามคำถามนั้น อายุความนับเป็นงวด ๆ แต่ละงวดเมื่อกำหนดชำระแล้วไม่ชำระ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องมีอายุความ 5 ปี (ของแต่ละงวด) คำถามว่าต้องทำอย่างไร ในคดีแพ่ง เรื่องอายุความ จำเลยต้องยกอายุความต่อสู้มิฉะนั้นศาลก็ต้องพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดีไปตามพยานหลักฐาน หมายความว่า ศาลไม่อาจยกอายุความขึ้นตัดฟ้องได้เอง ดังนั้นคำตอบก็คือ ต้องหาทนายความต่อสู้คดีครับ

มาตรา 193/33    สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
(1) ดอกเบี้ยค้างชำระ
(2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
(3) ค่าเช่าทรัพย์สินค้าชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 193/34 (6)
(4) เงินค้างจ่ายคือเงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-28 07:11:10


ความคิดเห็นที่ 2 (2156913)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2550

หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือรับรองว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่โดยตกลงผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกำหนดวีธีชำระหนี้โดยผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 (2) เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้แต่ละงวดได้ตั้งแต่เมื่อครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้เป็นงวดนั้นๆ สิทธิเรียกร้องในหนี้งวดใดที่พ้นกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่วันฟ้องขึ้นไปจึงเป็นอันขาดอายุความ

อ่านคำพิพากษาฉบับย่อยาวคลิ๊กที่นี่ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-02-28 07:19:36



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล