ReadyPlanet.com


ทำลายทรัพย์สินของหลวงหรือไม่


ในปี 2513 เทศบาลกรุงเทพฯได้ทำถนนและคูระบายน้ำและปักป้ายชื่อซอยในที่ดินส่วนบุคคลโดยที่เจ้าของไม่ได้เซ็นยกที่ดินให้เป็นที่สาธารณะและไม่ได้เขียนข้อความว่าเป็นถนนส่วนบุคคล โฉนดก็ไม่ได้แบ่งถนนออกไป  ชาวบ้านก็ได้ใช้ถนนตลอดมา ตั้งแต่ปี2513 ทางเทศบาลก็เข้ามาดูแลความสะอาดเรียบร้อย จนถึงปัจจุบันต่อมา ปี 2551 เจ้าของที่ดินถึงแก่กรรม ที่ดินจึงตกเป็นของทายาททั้งหลาย ในปลายปี 2552 ทายาทที่ได้ที่ดินปากซอย ได้ถอนป้ายชื่อซอยออก ปักป้ายห้ามผ่าน และทำการเทคอนกรีตทับบนถนนและคูระบายน้ำเป็นเนื้อเดียวกันแล้วปลูกสร้างอาคาร ในกลางปี2552 ดิฉันได้ซื้อที่ดินแปลงที่อยู่กลางซอยเดือดร้อนออกไม่ได้ ต้องใช้ทางออกอีกด้านที่ทายาทคนอื่นยังไม่ปิดถนน(คงดูว่าปากซอยทำสำเร็จหรือเปล่า) ดิฉันขอถามว่าถนนนี้เป็นถนนสาธารณะประโยชน์หรือไม่ ทายาทที่ได้รับที่ดินแปลงนี้มีความผิดหรือไม่สถานใด ถ้าถนนนี้เป็นสาธารณะประโยชน์ ผู้ที่ฟ้องร้องทายาทที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เป็นใคร เช่น ดิฉัน หรือ ผู้เช่าบ้าน หรือเทศบาลหรือโยธาธิการ ถ้าเรื่องนี้เทศบาลหรือโยธาธิการไม่รู้เรื่อง จะทำอย่างไรให้เขาทราบ และอายุความตั้งแค่เขาทำลายถนนสาธารณะกี่ปีคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้เดือดร้อน :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-16 01:26:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2161433)

ถนนดังกล่าวถ้าเจ้าของไม่ได้แสดงเจตนายกให้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก็ไม่ตกเป็นถนนสาธารณะประโยชน์ครับ แต่ ก็จะตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมของที่ดินที่ใช้ทางถนนนี้เป็นทางผ่านครับ ถ้าที่ดินแปลงที่ได้ภาระจำยอมฟ้องขอให้เปิดทางคุณก็อาจได้ประโยชน์ในการใช้ทางได้ด้วย หรือที่ดินแปลงที่คุณซื้อต่อจากผู้ขายได้ใช้ทางนั้นเกิน 10 ปี คุณก็มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมได้ครับ คงต้องมีข้อเท็จจริงมากกว่านี้ แต่รูปคดีน่าจะมีทางชนะคดีนะครับ

สำหรับเรื่องทำลายทรัพย์สินสาธารณะนั้นรัฐเป็นผู้เสียหาย จึงไปแจ้งทางเทศบาลได้ครับ อายุความยังไม่หมดหรอกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-03-16 11:09:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล