ReadyPlanet.com


ปรึกษาเรื่อง ค่าเสียเวลาและค่าตกใจ เนื่องจากความผิดพลาดของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง


ข้าพเจ้าขอคำปรึกษา และเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหาย (เสียเวลา และ วิตกกังวล) เนื่องจากความผิดพลาดของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง อันเป็นเหตุให้เสียเวลาส่วนตัวไปร้องเรียน ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค และ เป็นเหตุให้ไม่สามารถขับรถคันดังกล่าวได้เป็นเวลา 2 อาทิตย์

หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ติดต่อนัดเจรจา โดยตัวผมเป็นผู้ร้อง โดยให้บริษัทประกันภัยชี้แจงถึงสาเหตุของความผิดพลาดคร้งนี้ พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายให้ต่อคู่กรณี และ ให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหาย (เสียเวลา , เสียอารมณ์ และจำเป็นต้องให้รถยนต์คันอื่นมาทำงาน)

หลังจากนัดเจรจา ทางบริษัทประกันภัยได้ ยอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของพนักงาน อันเป็นเหตุให้กรมธรรม์ขาดช่วง และ บริษัท ยอมรับผิดชอบในการซ่อมแซม รถคู่กรณี และจะนำเรื่องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องไปพิจารณา และจะมาชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในอาทิตย์ถัดไป

แต่ปรากฎว่าหลังจากบริษัทประกันไปพิจารณาแล้ว ทางบริษัทประกันภัยมีความเห็นว่ามิอาจชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนได้ เนื่องจากทางบริษัทประกันภัยได้ส่งจดหมายชี้แจงถึงผู้ร้อง โดยนัยจดหมายกล่าวว่า ทางบริษัทประกันภัยมีความรู้สึกเสียใจ ต่อการทำงานผิดพลาดของพนักงานครั้งนี้ และจะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป และทางบริษัทประกันภัยได้รับผิดชอบซ่อมแซ่มรถคู่กรณีให้แล้ว และทำถูกต้องตามหลักเกณท์แล้ว และให้คำชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เรื่องจดหมายดังกล่าวและขอโทษและชี้แจงต่อผู้ร้องว่าเป็นเรื่องของความผิดพลาดของพนักงาน ( จริงๆ เหตุการณ์ เกิดวันที่ 1 แต่ผู้ร้องได้รับจดหมายดังกล่าวเกือบ 2 อาทิตย์ถัดมาคือวันที่ 14) โดยบริษัทประกันภัยให้คำชี้แจงมิอาจชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องได้ (เสียเวลา , เสียอารมณ์ และ ค่าเสียหายเนื่องจากนำรถคันอื่นมาใช้เนื่องจากความไม่มั่นใจในกรมธรรม์ที่ออกให้)

และบริษัทคุ้มครองผู้บริโภคได้บันทึกลงนามในวันให้คำดังกล่าวของบริษัทประกันภัยมิอาจชดใช้ค่าเสียหายของตัวข้าพเจ้าได้ ผมเองในส่วนผู้บริโภค มีความรู้สึกเสียใจ และ รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมต่อการชี้แจงของบริษัทประกันภัย ครั้งนี้มาก คำถามถามว่า

1. มีช่องทางทางกฏหมายใดบ้างที่สามารถให้บริษัทประกันภัยดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ร้องได้

2. การคิดคำนวณค่าเสียหายดังกล่าวจะใช้อะไรเป็นเกณท์ในการพิจารณา

3. เป็นการเสียเวลาหรือไม่ถ้าผู้ร้องต้องการฟ้องร้องต่อบริษัทประกันภัย ในการไม่ชดใช้ค่าเสียหายในครั้งนี้ และค่อนข้าง ไม่พอใจกับการให้คำต่อเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้

4. ผลของการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ได้มาต่อค่าเสียหายของผู้ร้อง จะคุ้มกันไหมครับ

5 ผู้ร้องสามารถยึ่นฟ้องบริษัทประกันภัย และขอยกเลิกกรรมธรรม์ กับบริษัทประกันภัยแห่งนี้เลย

รบกวนช่วยตอบคำถามด้วยครับ ผมมีความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมเอาเสียมากๆ



ผู้ตั้งกระทู้ SDK :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-25 23:29:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2164589)


1. มีช่องทางทางกฏหมายใดบ้างที่สามารถให้บริษัทประกันภัยดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ร้องได้

ตอบ   นำคดีขึ้นสู่ศาล เพื่อขอให้ศาลชี้ขาดความเสียหาย

2. การคิดคำนวณค่าเสียหายดังกล่าวจะใช้อะไรเป็นเกณท์ในการพิจารณา

ตอบ  โดยปกติต้องพิจารณาความเสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้นว่า เราขาดประโยชน์หรือเสียหายอะไรบ้าง กรณีนี้ปรึกษากับทนายความได้เมื่อตัดสินใจฟัอง

3. เป็นการเสียเวลาหรือไม่ถ้าผู้ร้องต้องการฟ้องร้องต่อบริษัทประกันภัย ในการไม่ชดใช้ค่าเสียหายในครั้งนี้ และค่อนข้าง ไม่พอใจกับการให้คำต่อเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้

ตอบ   เป็นคำถามที่ตอบยากครับ คุณคิดว่าอย่างไรครับ??

4. ผลของการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ได้มาต่อค่าเสียหายของผู้ร้อง จะคุ้มกันไหมครับ

ตอบ   คุ้มหรือไม่ อยู่ที่ความเสียหายที่คุณได้รับ การฟ้องร้องคดี ย่อมต้องเสียเงินและเสียเวลา ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่อาจฟันธงได้ครับ

5 ผู้ร้องสามารถยึ่นฟ้องบริษัทประกันภัย และขอยกเลิกกรรมธรรม์ กับบริษัทประกันภัยแห่งนี้เลย

ตอบ   ได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2011-03-27 11:21:04


ความคิดเห็นที่ 2 (2164674)

ขอบคุณมากครับสำหรับ คำตอบกลางๆ

1. ผมเองก็ไม่มั่นใจว่า การเรียกร้องค่าเสียหายครั้งนี้ผลออกมาจะคุ้มค่าหรือไม่ ผมคงจำเป็นต้องนำเอกสารทั้งหมดไปปรึกษาหารือกับคุณทนายในเชิงลึกกันอีกที ว่าการคำนวณค่าเสียหายครั้งนี้นั้น สามารถเรียกร้องได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ซักเท่าใดและคุ้มค่าหรือไม่ (เพียงแต่เป็นมีความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม ในการร้องเรียนที่ คปภ และผลการพิจารณาของบริษัทประกันภัยที่มิได้ชดเชยค่าเสียหายใดๆต่อตัวผู้ร้อง ซึ่งเสียเวลาไป ร้องเรียนติดต่อกันเป็นเวลา 3 อาทิตย์เลย)

2. ผมทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายปรับปรุงงานก่อสร้างให้กับโรงเรียน นานาชาติแห่งหนึ่ง แถวซอยลาซาล จริงๆแล้วเวลาส่วนตัวค่อนข้างยุ่งมากๆ แต่ด้วยความไม่พอใจที่บริษัทประกันภัยไม่รับผิดชอบต่อผู้ร้องและคู่กรณี หรือ แม้เพียงตรวจสอบให้ทันท่วงทีในวันที่เกิดเหตุ เป็นผลทำให้ผู้ร้องเสียจริต (เต็มไปด้วยความกลัว ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุซ้ำสองเป็นเหตุให้เสียชีวิต) ในการขับรถคันดังกล่าวกลับบ้านขณะเดินทาง และไม่อาจจะขับรถคันดังกล่าวได้ในวันถัดมา เพราะกรมธรรน์ชี้ชัดเจน เป็นเหตุให้ผู้ร้องจำเป็นต้องขับรถยนต์ส่วนตัวคันอื่น ไปทำงานแทน

3. และได้ยินว่า ในการฟ้องร้อง หากไม่ได้ไปตามศาลนัดหมาย จะเป็นการขัดต่อศาลและกลายเป็นอาญาในที่สุด

4. ไม่ทราบว่า สำนักงานเปิดทำการใน เวลาเสาร์อาทิตย์หรือไม่ เวลาเปิด-ปิด กี่โมงและคุณทนายลีนนท์สะดวกเวลาใด ถ้าเป็นไปได้จะรีบไปปรึกษาภายในอาทิตย์หน้าให้เร็วที่สุดครับ

 

รบกวนตอบคำถามด้วยครับ

ขอบคุณครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น SDK วันที่ตอบ 2011-03-27 17:22:40


ความคิดเห็นที่ 3 (2164995)

ในการฟ้องคดีแพ่ง หากไม่ไปศาลก็ไม่มีความผิดในทางอาญาครับ สำหรับคำตอบอื่น ๆ ได้ตอบทางโทรศัพท์ไปแล้ว จึงขอตอบประเด็นเดียวที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2011-03-28 16:39:48



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล