ReadyPlanet.com


กู้ร่วม แม่กับลูกชาย ถือว่าเป็น "สินสมรส" มั้ยค่ะ


 ในกรณีที่แม่จะกู้ซื้อบ้าน โดยยื่นกู้คนเดียว แต่ทางฝ่ายพ่อ เวลาเวลาทะเลาะกัน ก็อ้างเรื่องสมบัติ ถ้าแม่แข็งกร้าวเมื่อไร จะหย่าและแบ่งสมบัติไปอยู่กับเมียน้อยทันที

(1) ปัจจุบันกำลังจะมีการกู้ซื้อบ้าน ทางฝ่ายแม่กลัวว่าถ้ายื่นกู้คนเดียวจะเกรงว่าเป็นสินสมรส (เจ้าบ้านเป็นชื่อของลูกชาย) เมื่อหย่ากันจะมีปัญหา

ถ้าในกรณีสามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ?

(2) อีกคำถามหนึ่งค่ะ ในกรณีที่ยังไม่หย่า แต่พ่อมีเมียน้อยเป็นตัวเป็นตน ในกรณีนี้ สามารถแบ่งมรดกที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สามี-ภรรยา สร้างร่วมกันมาโดยไม่แบ่งให้ลูกเมียน้อยได้มั้ยค่ะ โดยโอนสมับติทั้งหมดเป็นชื่อลูกชายเมียหลวงค่ะ

(3) ในส่วนของเรา ถ้าเมียน้อยพ่อมาเยือนที่บ้านแฟน(พ่อพาเข้ามา) ในกรณีที่เราอยู่บ้านคนเดียว เราสามารถเรียกตำรวจในข้อหาบุกรุกได้มั้ยค่ะ (เราไม่ใช่เจ้าบ้าน) โดยทางแฟนอยู่ที่ทำงาน โทรตามตำรวจค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ Miracles :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-06 09:50:32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2175122)

ถ้าในกรณีสามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ?

ตอบ ทำอะไรไม่ได้เพราะทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นคู่สมรสกันย่อมเป็นสินสมรส ส่วนในเรื่องใครเป็นเจ้าบ้านไม่ใช่การแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน

สามารถแบ่งมรดกที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สามี-ภรรยา สร้างร่วมกันมาโดยไม่แบ่งให้ลูกเมียน้อยได้มั้ยค่ะ

ตอบ  สินสมรสตกเป็นของคู่สมรส ไม่แบ่งให้ผู้ใดเลยก็ได้ เช่นทำพินัยกรรมยกสินสมรสให้วัดเลยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นลูกเมียน้อย หรือเมียหลวง บิดา มารดา ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยกทรัพย์ให้บุตร แต่ถ้าเจ้าของทรัพย์ (บิดา หรือ มารดา) เสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์นั้นตกเป็นมรดกของผู้ตายและตกได้แก่ทายาท ถามต่อไปว่า ทายาทคือใคร??? 

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
 

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

โดยทางแฟนอยู่ที่ทำงาน โทรตามตำรวจค่ะ

ตอบ  แฟนของใครครับ แล้วพ่อจะมาทำอะไรที่บ้านแฟนใครครับ ไม่เข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานบุกรุกต้องไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปในเคหสถานของบุคคลอื่น ซื่ออต้องมีข้อเท็จจริงที่มากกว่านี้จึงตอบได้

อย่างไรเสียก็เป็นพ่อ มีอะไรที่จะผ่อนปรนกันก็อย่าเข้มงวดเลยครับ เครียดเปล่า เป็นผลร้ายกับทุกฝ่ายครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-05-07 07:41:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล