ReadyPlanet.com


จ้างออก


ดิฉันกับแฟนทำงานที่เดียวกัน  เป็นบริษัทเกี่ยวกับออร์แกไนซ์  (จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด งาน Event  งานขายสินค้า หาพนักงาน MC Pretty PC ) ต่อมามีพี่ในออฟฟิตออกไปตั้งบริษัทในรูปแบบเดียวกัน และแฟนดิฉันได้ออกไปทำด้วย   เจ้าของบริษัทมีความเห็นว่า ดิฉัน เป็นหัวหน้าแผนกสรรหาพนักงาน ทำมาแล้ว 4 ปีครึ่ง จึงเกรงว่าดิฉันจะส่งข้อมูลพนักงานให้กับแฟนดิฉัน ทางบริษัทจะจ้างฉันออกโดยให้ค่าชดเชย 3 เดือน  แต่เท่าที่ดิฉันหาข้อมูลมา ดิฉันต้องได้ค่าชดเชย 180 วัน หรือ 6 เดือนใช่ไหมคะ และหากเค้าบอกกระทันหัน ต้องให้ชดเชยอีก 1 เดือนใช่ไหมคะ  ดิฉันเคยได้ยินมาว่า บางคนพอบริษัทให้ออก แล้วให้แค่ 1 เดือน ซึ่งความจริงต้องได้มากกว่านั้น พอพนักงานรู้เรื่องกฎหมายแรงงาน ทางบริษัทก็เงียบไป ไม่จ้างออก  หากดิฉันเจอแบบนี้ ต้องทำอย่างไรบ้างคะ และมาตรา 49 ต้องมีการฟ้องศาล และหากถูกยกฟ้อง จะเรียกค่าชดเชยอะไรได้อีกบ้างคะ  หากมีอะไรแนะนำเพิ่มเติม ช่วยตอบกลับหน่อยนะคะ  ในเมลล์ที่ดิฉันให้ไว้  ขอบคุณมากๆๆ เลยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ pick (pickaro1911-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-15 13:17:14


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2177655)

การจ้างออก กับการเลิกจ้างอาจมีความหมายที่แตกต่างกันบ้าง ระมัดระวังว่า หย่าเขียนใบลาออก เพราะคุณลาออกเองจะไม่ได้ค่าชดเชยเพราะเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกันเอง

เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีทำงานครบสามปีแต่ไม่ครบหกปีเป็นจำนวนค่าจ้าง 180 วันตามที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ศาลจะยกฟ้องในกรณีที่คุณฟ้องเรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ตามที่คุณเข้าใจ แต่ถ้าเป็นการเลิกจ้างที่ลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยและเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้อยู่แล้ว

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้างดังต่อไปนี้
 (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบ หนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 (2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่า ค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปีให้ จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่ น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 (5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อย กว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ การทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 การเลิกจ้างตาม มาตรา นี้ หมายความว่า การกระทำใดที่ นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะ เป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความ รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุ ที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
 ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะ เวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
 การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของ งานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนด การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-05-17 08:26:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล