ReadyPlanet.com


แรงงาน


ขอเรียนสอบถามดังนี้

ข้อเท็จจริง กรณีลูกจ้างได้รับเงินค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน (โดยเป็นค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1- วันสิ้นเดือน เป็นการจ่ายเงินเดือนล่วงหน้า)

1. ปัญหา หากบอกเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ 25 เมษายน 2554 เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554

     1.1 แต่นายจ้างประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างออกจ้างงานทันทีในวันที่ 25 เมษายน 2554 กรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวนเท่าใด คิดเป็นจำนวนวัน หรือเป็นเดือน

 2. ปัญหา หากบอกเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ 4 เมษายน 2554 เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554

      2.1 แต่นายจ้างประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างออกจ้างงานทันทีในวันที่ 4 เมษายน 2554 กรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวนเท่าใด คิดเป็นจำนวนวัน หรือเป็นเดือน

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เอกวิทย์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-13 09:35:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2176965)

ทั้งสองกรณีตามคำถามเป็นกรณีไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างจนถึงเวลาบอกเลิกสัญญา ส่วนเท่าใดนั้นคงคำนวนเอาเองได้นะครับ เพราะจากคำถามของคุณไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา น่าจะมีความรู้กฎหมายไม่น้อยทีเดียว

มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะ เวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้าง อาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่าย หนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง คราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราว ถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน
ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตาม มาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้าง ให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอก กล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตาม มาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การบอกกล่าวล่วงหน้าตาม มาตรา นี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้าง ตาม มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และ มาตรา 583 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-05-14 09:48:19


ความคิดเห็นที่ 2 (2176967)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2550

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-05-14 09:50:49



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล