ReadyPlanet.com


อยากหย่าแต่อดีตสามีไม่ยอม และอยากเปลี่ยนนามสกุลได้หรือไม่


อยากหย่ากับอดีตสามีแยกกันอยู่นานแล้วแต่เค้าไม่ยอมหย่าแต่เค้าก็มีครอบครัวใหม่แล้วนะและไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลเจ้าหน้าที่บอกเปลี่ยนไม่ได้ต้องหย่าก่อนจึงจะเปลี่ยนได้จริงหรือ



ผู้ตั้งกระทู้ นกน้อย :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-14 18:33:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2186723)

มาตรา 9 หญิงมีสามีซึ่งใช้ชื่อสกุลของสามีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามีได้ต่อไป แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนหรือมีข้อตกลงระหว่างสามีภรรยาเป็นประการอื่น

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-06-15 13:07:51


ความคิดเห็นที่ 2 (2186724)

พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548
เป็นปีที่ 60 ในรัชกาลปัจจุบัน 

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล
 พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 31 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548"
 มาตรา 2[1] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 6 ชื่อตัวต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
 ชื่อรองต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง และต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นกรณีที่คู่สมรสใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งหรือกรณีบุตรใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองของตน
 คู่สมรสอาจใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรองได้เมื่อได้รับความยินยอมของฝ่ายนั้นแล้ว"
 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของ มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 "เมื่อนายทะเบียนท้องที่พิจารณาเห็นว่าชื่อสกุลที่ขอตั้งนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้เสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง เมื่อได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนกลางแล้ว ให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้นและออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนชื่อสกุลให้แก่ผู้ขอ แต่ในกรณีที่สำนักทะเบียนใดสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับเครือข่ายข้อมูลของสำนักทะเบียนกลาง ตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดแล้ว ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนกลาง"
 มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสาม ของ มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505
 "ในกรณีที่ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลตายแล้ว ให้ผู้สืบสันดานของผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลในลำดับที่ใกล้ชิดที่สุดซึ่งยังมีชีวิตอยู่ และใช้ชื่อสกุลนั้นมีสิทธิอนุญาตตามวรรคหนึ่ง"
 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 12 และ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 " มาตรา 12 คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
 การตกลงกันตามวรรคหนึ่ง จะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้
 ข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสจะตกลงเปลี่ยนแปลงภายหลังก็ได้
 " มาตรา 13 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน
 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นได้ต่อไป แต่เมื่อจะสมรสใหม่ ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน"
 มาตรา 7 ให้ยกเลิก มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530
 มาตรา 8 ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
 มาตรา 9 หญิงมีสามีซึ่งใช้ชื่อสกุลของสามีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามีได้ต่อไป แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนหรือมีข้อตกลงระหว่างสามีภรรยาเป็นประการอื่น
 มาตรา 10 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

"อัตราค่าธรรมเนียม
 (1) การออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง ฉบับละ 100 บาท
 (2) การออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล ฉบับละ 200 บาท
 (3) การออกหนังสือสำคัญแสดงการรับจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล
 (ก) การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุสมรส
 (1) การเปลี่ยนครั้งแรกภายหลังการจดทะเบียนสมรส หรือเปลี่ยนเพราะการสมรสสิ้นสุดลง ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
 (2) การเปลี่ยนครั้งต่อๆ ไป ฉบับละ 100 บาท
 (ข) การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่น ฉบับละ 200 บาท
 (4) การออกใบแทนหนังสือสำคัญตาม (1) (2) หรือ (3) ฉบับละ 50 บาท"

 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 21/2546 ว่าพระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 12 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นอันใช้บังคับมิได้ ประกอบกับหลักเกณฑ์ในการใช้ชื่อรองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังไม่รัดกุมและอาจมีการนำชื่อสกุลของบุคคลอื่นมาใช้เป็นชื่อรอง อันจะทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้น อีกทั้งวิธีการขอตั้งชื่อสกุลที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการให้บริการประชาชนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการกำหนดให้ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเท่านั้นที่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ชื่อสกุลก่อให้เกิดปัญหา ในทางปฏิบัติในกรณีผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลเสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ อัตราค่าธรรมเนียมเดิมใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลชื่อบุคคลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง สมควรปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-06-15 13:08:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล