ReadyPlanet.com


คดี ครอบครอง ยาไอ๊ซ์ เพื่อเสพ


สวัสดีครับ ผมอยากจะทราบ การสู้คดี กับ ทางเจ้าหน้าที ร้อยเวร คือผมถูก จับตรวจ โดย ปส 7 โดยถูกตรวจพบว่า ใช้ยา แต่ของกลางที่ยึดใด้ จากที่ผม ครอบครอง คือ 0.55 กรัม ในกรณี ปริมาณดังกล่าว ทางร้อยเวร ใด้แจ้งข้อหาเพิ่ม ต่อทางศาลว่า ผม ครอบครอง เพื่อจำหน่าย ใด้ หรือครับ เพราะของน้อยมาก ถามจาก สืบ7 (ผู้กอง ก) เขาบอกผมว่า จำนวนเท่านี้ ไม่สามารถแจ้งเป็นเสพใด้ สืบ7 ลง บันทึก ประจำวันว่า ผม แค่ ครอบครอง แต่ พอส่งตัว ถึง สน ร้อยเวร กล่าวแจ้งโทษ เพิ่ม เหมือนเจตนา จะเรียกเงิน แจ้งว่า ผม จำหน่าย ถ้า ผม ต้องการ สู้คดี ดังกล่าว ไดยไม่ยอมรับ ข้อหา จำหน่าย จะทำใด้หรือไม่ ผมมีงานการทำ เป็น หลักแหล่ง มีบ้าน ที่ซื้อด้วยตัวเอง ครับ พิสูจน์ ตัวตนใด้ แต่ไปเสียท่า ตอน ดันถูกกึ่ง บังคับ ให้จับเซ็น ตอน ลงบันทึกที่ สน ตอนนี้ ประกันตัวออกมา



ผู้ตั้งกระทู้ สำรวย :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-17 02:07:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2200816)

การกระทำความผิดฐานครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ครอบครองเพื่อเสพ  ครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนน้อยหรือมากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ หรือข้อเท็จจริง หรือความจริงว่าเป็นอย่างไร

กฎหมายให้สันนิษฐานว่าหากครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 1 มีปริมาณเกิน 0.375 กรัม หรือ 15 หน่วยการใช้(เม็ด) เป็นการครอบครองเพื่อจำหน่ายครับ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยจะพิสูจน์ความจริงว่า ไม่ได้ครอบครองเพื่อจำหน่ายตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้

มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ เว้นแต่รัฐมนตรีได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

(๑) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป

(๒) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป

(๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ นอกจาก (๑) และ (๒) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามกรัมขึ้นไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-07-30 12:42:24


ความคิดเห็นที่ 2 (2257284)

ขอปรึกษาหน่อยค่ะ แฟน โดน0.7รวมน้ำหนักถุง. แบบนี้ตีเป็นข้อหาอะไรหร่อค่ะ แล้วประกันในชั้นศาลต้องเสียค่าใช้จ่ายประมานเท่าไร

ผู้แสดงความคิดเห็น Tj วันที่ตอบ 2012-03-01 07:28:41


ความคิดเห็นที่ 3 (4046809)

 แล้วสรุปโดนจำหน่ายหรือป่าวคับ ผมก็โดนเหมือนคุณแต่ทางร้อยเวรเเจ้งครอบครอง แต่ผมได้ประกันตัวออกมาด้วยวงเงิน30000บาทแต่พอฟ้องกลัวจะฟ้องจำหน่าย

ผู้แสดงความคิดเห็น มิตร วันที่ตอบ 2016-07-18 15:18:39


ความคิดเห็นที่ 4 (4132335)

 คดีครอบครองยาไอ๊ซ์เพื่อเสพต้องเสียค่าปรับที่ศาลเท่าไร่คะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น รัตนา วันที่ตอบ 2017-02-09 13:56:45


ความคิดเห็นที่ 5 (4139180)

 ติดคดีครอบครองไว้เพื่อเสพติดคุกกี่ปีคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปนัดดา วันที่ตอบ 2017-02-18 01:06:19


ความคิดเห็นที่ 6 (4193932)

 อยากทราบว่าแฟนนหนูโดน 0.55 กรัม ถ้าใปแยกสารบริสุทธิ์แล้ว จะออกมาเหลือเท่าไหร่ค้ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Lalida (Nnanptei-at-icloud-dot-com)วันที่ตอบ 2017-06-17 19:23:35


ความคิดเห็นที่ 7 (4250600)

 อยากทราบข้อความตอนเเรกร้อยเวรเเจ้งมีไวครอบครองรองผลการตรวจของสารยาเสพติดผลตรวจออกมาเกิน375มิลิกรรมแต่สาร..ยังไม่ได้ตัดสิ้น..ตำรวจเปลี่ยนสำนวนเป็นครอบเพื่อจำหน่ายเลยเปลี่ยนสำนวนให้เราเช็นขอทราบคะ..ว่าสำนวนเปลี่ยนเลยใช้ใหมคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้อย วันที่ตอบ 2018-04-27 19:48:27


ความคิดเห็นที่ 8 (4360593)

 

 
มียาบ้า 15 เม็ด จะพิสูจน์ต่อสู้ได้หรือไม่ว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย
 
แต่เดิม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 บัญญัติการกระทำความผิดไว้โดยกฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่าหากมีปริมาณยาเสพติดตามจำนวนที่กำหนดไว้ ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดตามที่กำหนด
 เช่น นายไก่ มียาเสพติด 15 เม็ดไว้เสพ เมื่อถูกจับจะถูกดำเนินคดีข้อหามียาเสพติดไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งอัตราโทษ คือ จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1 ล้านบาท ถึง 5 ล้านบาทหรือประหารชีวิต นั่นหมายความว่า นายไก่ ไม่สามารถสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าตนแค่เสพไม่ได้จำหน่ายได้เลย เพราะการที่กฎหมายถือว่า...เป็นการบัญญัติกฎหมายในลักษณะปิดปาก(คือ ห้ามพิสูจน์เพื่อให้เห็นเป็นอย่างอื่น)
 
แต่ปัจจุบันได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ โดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 ได้เปิดโอกาศให้ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยมีช่องทางได้ต่อสู้หรือพิสูจน์ความจริงได้ โดยแก้ไขจากเดิมบัญญัติเป็น "ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด" มาเป็น "ข้อสันนิษฐานเบื้องต้น" เท่านั้นจึงทำให้สามารถสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดได้
 
กฎหมายฉบับใหม่นี้ คงเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้กระทำผิด ได้มีความหวังมากขึ้นในการต่อสู้คดี แต่หากมองถึงทิศทางในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนั้นคงเป็นการยากที่จะจัดการปัญหานี้ให้หมดไป
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความลีนนท์ 085-9604258 วันที่ตอบ 2020-02-17 13:27:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล