ReadyPlanet.com


การอายัดเงินเดือน


 คดีครบอายุความ 10 ปี  23 มิ.ย. 53 แต่มีหนังสือบังคบคดีอายัดเงินเดือน 21 มิ.ย. 53 แต่ยังมิได้นำส่งชำระ และมีหนังสือทวงถามอีกเมื่อ 12 ก.ค. 54 ถามว่ากรณีนี้ ยังสามารถอายัดได้อีกหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ Ja :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-25 11:49:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2205119)

ยังสามารถทำได้ครับ เพราะได้บังคับคดีภายใน 10 ปี แล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-12 00:38:39


ความคิดเห็นที่ 2 (2205128)

ขอขยายระยะเวลาบังคับคดีเกิน 10 ปีได้หรือไม่? (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3325/2552)


ศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาบังคับคดีให้แก่ผู้ร้องเป็นเวลา 30 วัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-12 01:36:37


ความคิดเห็นที่ 3 (2205130)

การอายัดเงินเดือนซ้ำซ้อน
 การอายัดของโจทก์จึงเป็นการอายัดเงินเดือนของจำเลยที่ 1 ในจำนวนที่แยกต่างหากจากที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นได้อายัดไว้ จึงไม่ใช่เป็นการอายัดซ้ำแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5749/2553
 

            การห้ามยึดหรืออายัดทรัพย์สินซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นทรัพย์รายเดียวกันของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยมีเงินเดือน 27,000 บาท ถูกอายัดเงินเดือนครั้งแรกในคดีที่ 1 เป็นเงิน 3,000 บาท ครั้งที่ 2 ในคดีที่ 2 เป็นเงิน 3,000 บาท ครั้งที่ 3 คือคดีนี้โจทก์อายัดไว้ 5,000 บาท ดังนั้น การอายัดของโจทก์จึงเป็นการอายัดเงินเดือนของจำเลยในจำนวนที่แยกต่างหากจากที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นได้อายัดไว้ จึงไม่ใช่การอายัดซ้ำ

________________________________

            คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทโดยธรรมชำระเงินจำนวน 90,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2539 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 61,200 บาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 2,000 บาท จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับ โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี

          จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้คืนเงินที่ได้รับจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจำนวน 3,462 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อคืนแก่จำเลยที่ 1 ต่อไป

          โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มีเงินเดือน 27,000 บาท ถูกอายัดเงินเดือนครั้งแรกในคดีหมายเลขแดงที่ 14169/2538 เป็นเงิน 3,000 บาท ครั้งที่ 2 ในคดีหมายเลขแดงที่ 7727/2543 เป็นเงิน 3,000 บาท ครั้งที่ 3 คือคดีนี้โจทก์อายัดไว้ 5,000 บาท ดังนั้นการอายัดของโจทก์จึงเป็นการอายัดเงินเดือนของจำเลยที่ 1 ในจำนวนที่แยกต่างหากจากที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นได้อายัดไว้ จึงไม่ใช่เป็นการอายัดซ้ำแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

          พิพากษากลับให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ.

( ศิริชัย สวัสดิ์มงคล - ชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว - นพพร โพธิรังสิยากร )

ศาลแขวงดุสิต - นายโตมร คงรุ่งภากร

            

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-12 01:40:28


ความคิดเห็นที่ 4 (2205132)

บทความที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูล

ถูกเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน

   ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะทำงานมีเงินเดือนกันแทบทุกคน(นอกจากลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ-กิจการ)ลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะกลัวเจ้าหนี้มาอายัดเงินเดือนจนตัวเองไม่มีเงินเดือนเหลือใช้  ความกลัวที่จะถูกเจ้าหนี้อายัดเงินเดือนจึงเป็นจุดอ่อนของลูกหนี้   เจ้าหนี้ ทนายของเจ้าหนี้ หรือพนักงานทวงหนี้รู้จุดอ่อนนี้ จึงพยายามข่มขู่ลูกหนี้ " ถ้าไม่ใช้หนี้ก็จะฟ้องอายัดเงินเดือนให้หมดเลย " หรือบางครั้งทนายเจ้าหนี้ก็จะส่งหนังสือบอกกล่าวทวงหนี้มา " ถ้าไม่ใช้หนี้ตามที่กำหนด ฟ้องคดี ยึดทรัพยสิน  อายัดเงินเดือน "

   ลูกหนี้บางคนพอเจ้าหนี้หรือทนายเจ้าบอกมาแบบนี้ ก็จะกลัวจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ  บางคนถึงกับคิดจะลาออกจากงานเพื่อหา งานทำใหม่ ( เรารู้สึกเห็นใจลูกหนี้ทุกคน แต่ขอบอกเอาไว้เลยว่า อย่าคิดลาออกและหางานใหม่เสียเวลาเปล่าๆ )

   อันที่จริงแล้วถ้าลูกหนี้รู้กฎหมายเกี่ยกับเรื่องอายัดเงินเดือนแล้ว รับรองได้ว่า ไม่ต้องเปลี่ยนงานไม่ต้องกลัวคำขู่เจ้าหนี้ว่าจะอายัดเงินเดือน ไม่ว่าลูกหนี้จะมีหนี้เจ้าร้อยรายพันรายก็ตาม ( โดยเฉพราะ ลูกหนี้บัตรเครดิต )

   มารู้กันว่าจะมีช่องทางของหมายอย่างไร? ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณความแพ่งมาตรา 286 บัญญัติไว้ว่า ( แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ 11 กรกฎาคม 2548 )

   ลูกหนี้ที่ทำงานมีเงินเดือนจะมีอยู่ 2 ประเภทตามกฎหมาย คือ
 1 . ข้าราชการ
 2 . พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัททั่วๆไป

  ทั้ง 2 ประเภทนี้ กฎหมายให้ทำการอายัดเงินเดือนได้ต่างกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณความแพ่งมาตรา 286 บัญญัติไว้

  1 . ข้าราชการ  เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ ได้แต่ทรัพย์สินที่มีราคารวมกันไม่เกิน 50,000 บาทไม่ได้เลย เกินกว่านี้ยึดได้ และอายัดเงินในบัญชีธนาคารเท่านั้น

  2 . พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัททั่วๆไป
     2.1 เจ้าหนี้อายัดเงินผู้มีเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาทไม่ได้เลย  แต่ถ้ามีเงินเดือนเกิน 10,000 บาทเจ้าหนี้อายัดได้   ( แต่ไม่ได้ทั้งหมด ) เกินกว่า 10,000 บาทอายัดได้
     2.2 เจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีราคารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ได้เลย เกินกว่านี้ยึดได้ และอายัดเงินในบัญชีธนาคารได้

    ทำไม?กฎหมายจึงกำหนดไว้แต่ต่างกันทั้งๆ ก็เป็นลูกหนี้เหมือนกัน  อันที่จริงเจ้าหนี้มักจะไม่รู้ วิธียึดเงินเดือนของลูกหนี้ที่รับราชการ ถ้าเจ้าหนี้รู้วิธีที่จะยึดเงินเดือนข้าราชการรับรองได้ว่าไม่ว่าลูกหนี้คนนั้นจะเป็นอธิบดีกรมใด หรือปลัดกระทรวงใด จะไม่เหลือเงิน เลยสักบาทเดียวหนักกว่าลูกหนี้ทั่วๆ ไปอีก แถมอาจจะโดนข้อหาโกงเจ้าหนี้ด้วย   ดังนั้น ข้าราชการที่ทนงตัวว่าไม่มีเจ้าหนี้คนไหน จะมาอายัดเงินเดือนได้ ก็ขอให้ระวังตัวให้ดีๆ นะ  (ถึงกับออกจากราชการเชียวนะถ้ารู้ว่า มีเคยคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับ เรื่องนี้มาแล้ว) .. ที่เตือนข้าราชการไว้แบบนี้ก็เพราะ บางคนไม่รู้กฎหมายอย่างแท้จริงเพียงแต่รู้ตัวบทกฎหมาย หรือสอบถามจากเพื่อนๆ เท่านั้น    ถ้าอยากจะรู้เจ้าหนี้จะมีวิธีใดที่จะยึดเงินเดือนข้าราชการได้    ท่านต้องไปดูในข้อมูลสมาชิกVIP รับรองได้ ท่านอาจน้ำตาตกถ้าเจอทนายเจ้าหนี้ที่รู้วิธียึดเงินเดือนข้าราชการตามกฎหมาย ( เอาไว้เป็นสมาชิก VIP ถึงจะมีโอกาสดูตัวบทกฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาที่เกี่ยวข้อง )

   ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท  ลูกหนี้ประเภทนี้เจ้าหนี้ชอบมากที่จะปล่อยเงินให้กู้ หรือให้สินเชื่อเครดิต ( บัตรเครดิตต่างๆ ) เพราะกฏหมายบัญญัติไว้ให้อายัดเงินเดือนได้   เรื่องนี้เจ้าหนี้ทุดคน ทนายเจ้าหนี้ก็รู้ดี ( เราจึงเห็นใจลูกหนี้ ประเภทนี้มาก ) เพราะลูกหนี้ประเภทนี้มักจะมีเจ้าหนี้มากมาย และเจ้าหนี้ก็มักจะชอบขู่ลูกหนี้ประเภทที่ 2 นี้เสมอๆ  เมื่อเจ้าหนี้ทุกรายมาทำการอายัดเงินเดือนก็ยอมให้เขาอายัดเงินเดือนทั้งหมด  ซึ่งถ้าลูกหนี้รู้กฎหมาย และรู้วิธีการที่จะไม่ให้เจ้าหนี้อายัดเงินเดือนทั้งหมดได้ ก็จะทำให้เจ้าหนี้นั่งน้ำตาตกบางแล้วทำอย่างไรละที่จะรู้วิธีไม่ให้เจ้าหนี้ทุกรายอายัดเงินเดือนทั้งหมดได้   ขอให้อ่าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณความแพ่งมาตรา 286 บัญญัติไว้ ให้ดีๆ อ่านสัก 10 รอบ แล้วจะรู้วิธี   รับรองได้ว่าลูกหนี้ประเภทที่ 2 นี้ จะมีเงินเดือนเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้เหมือนเดิม และเจ้าหนี้ก็ ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้อีก นอกจากตามยึดทรัพย์สินส่วนตัว ในเรื่องการยึดทรัพย์สินส่วนตัว ขอให้ลูกหนี้ไปดูในเรื่อง " เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ " ที่นี้ละลูกหนี้ก็ล้มบนกองฟูกกินก็อิ่มนอนก็หลับสบายไม่ต้องลาออกจากงานหนีหนี้ไปหางานใหม่

ท่านสมาชิกที่อ่านมาตรากฎหมายแล้วไม่เข้าใจ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการติดอาวุธ ทางกฎหมายไว้ป้องกันเจ้าหนี้ หรือสู้กับเจ้าหนี้ คลิกที่นี่ แล้วท่านจะได้เอากฎหมายตบหน้า
เจ้าหนี้บ้าง

   สมาชิก VIP ดูรายละเอียดมาตรากฎหมาย และคำพิพากษาฎีกา เที่ยบเทียงได้ที่ ข้อมูลพิเศษสมาชิก VIP แล้วจะรู้ว่าที่ผมบอกไว้แต่แรก ว่าเป็นหนี้ 100 รายไม่ต้องใช้หนี้ได้จริงๆ  สมาชิกVIP รู้แล้วบอกต่อๆ ไปด้วยเพื่อให้เพื่อนสมาชิกได้พ้นทุกข์  ไม่ต้องกลัวถูกเจ้าหนี้ฟ้องยึดเงินเดือนอีกต่อไปแล้ว

   สุดยอดของลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ต้องใช้หนี้ ( ล้มบนกองฟูก ) มีกฎหมายรองรับมากกว่านี้ จะมีใครกล้าเปิดเผยเหมือนกับผมไม่มีอีกแล้ว สิบหมอดู  ร้อยหมอไพ่  พันหมอเดา พันทาแนะช่วยลูกหนี้ไม่ได้  หนึ่งนักกฎหมายที่รู้จริง ถึงจะช่วยลูกหนี้ได้

    ตัวอย่างที่ทำให้ลูกหนี้ประสพความสำเร็จ ไม่ต้องถูกอายัดเงินเดือนถึง 30 % แล้วท่านจะรู้ว่ากฎหมายมีทางออกให้ลูกหนี้จริง ไม่ต้องกลัวว่าเจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือนอีกต่อไปแล้ว
( สมน้ำหน้าเจ้าหนี้ที่คิดว่าตัวเองเก่งรู้กกฎหมาย ถ้าลูกหนี้หันหน้ามาสู้แบบนี้จะมีแต่นั่งน้ำตาตกเพราะหลงเชื่อพวกรับจ้างทวงหนี้หรือคิดที่จะเปิดบริษัทรับจ้างทวงหาเงินจากที่ลูกหนี้เป็นในสถาบันการเงินของตัวเอง )   มีสองเรื่องที่น่าสนใจและเป็นสิ่งที่กฎหมายและเจ้าหนี้ต้องยอมรับด้วย ( บังคับให้เจ้าต้องยอมจำนนตามกฎหมาย )

แหล่งข้อมูล  http://www.thailawyer.net/php/monni.php
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-12 01:59:35



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล