ReadyPlanet.com


การตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงาน


 ถ้าผมจะเข้าสำนักงานทนายความแห่งหนึ่ง  การตรวจร่างกายให้ตรวจอะไรบ้างครับ  กฎหมายบังคับอะไรบ้าง  ครับ  แล้ว   Hiv  ไวรัสตับอักเสบ  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องตรวจไหมครับ  ถ้าเราไม่ยินยอมได้ไหมครับ



ผู้ตั้งกระทู้ คุณ :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-30 05:57:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2210772)

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

ทุกรายการตรวจ จะตรวจวิเคราะห์โดยนักเทคนิคการแพทย์ภายใต้ระบบควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ  และเครื่องมืออุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ที่ทันสมัย

การตรวจสุขภาพพนักงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ทำให้ทราบภาวะสุขภาพและแนวโน้มการเจ็บป่วยของพนักงาน หากพบสภาพการเจ็บป่วยในระยะเริ่มต้นจะได้ให้การรักษาหรือป้องกันได้ทันท่วงที

            องค์ประกอบของการตรวจสุขภาพ ประกอบด้วย การซักประวัติ  การตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์  การทดสอบต่าง ๆ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ก่อนการตรวจสุขภาพ  พนักงานควรปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและตรงกับสภาวะสุขภาพที่เป็นจริง

การตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์

การตรวจสุขภาพทั่วไป  สอบถามอาการและอาการแสดงต่างๆ ของโรคที่ปรากฏ การพัฒนาการของโรคประกอบการสังเกต ระบบหายใจ ผิวหนัง สีเล็บ เหงือก ตา สีหน้า ศีรษะ ผมที่ผิดปกติ การวัดความดันโลหิต ชีพจร น้ำหนัก ส่วนสูง การทดสอบระบบประสาทต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการสังเกตพฤติกรรม การเคลื่อนไหว การตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น การมีพฤติกรรมก้าวร้าว เงียบเหงา หาวนอน ตื่นตกใจง่าย หรือการตื่นเต้นผิดปกติ อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

การทดสอบต่าง ๆ   เช่น

-  การทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน   ในกลุ่มพนักงานที่ทำงานสัมผัสกับเสียงดังเกิน 85 dBA
-  การทดสอบสมรรถภาพทางสายตาในกลุ่มพนักงาน  ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแสงจ้าหรือรังสีต่างๆที่ใช้สายตาเพ่งขณะทำงานเป็นระยะเวลานานๆ
-  การทดสอบสมรรถภาพปอดในกลุ่มพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่นหรือสารเคมีที่มีผลกระทบ  ต่อการทำงานของปอดและหลอดลม

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ในกลุ่มพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่นหรือสารเคมีที่มีผลต่อระบบหายใจ โดยใช้ฟิล์มขนาด 14”x17” หรือ 14 “x14”

การกำหนดรายการตรวจสุขภาพพนักงาน

การกำหนดรายการตรวจสุขภาพของพนักงาน ต้องพิจารณากลุ่มคน  ตามลักษณะของปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับ ซึ่งอาจกำหนดรายการตรวจสุขภาพเป็น 2 ประเภท คือ

1.    การตรวจสุขภาพทั่วไป  สำหรับพนักงานที่ไม่สัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน
 รายการตรวจสุขภาพทั่วไป   ประกอบด้วย

-          การซักประวัติการทำงาน และการเจ็บป่วย
-          การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
-          การตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์
-          การวัดความดันโลหิต ชีพจร
-          การตรวจเลือด (CBC)
-          การตรวจการทำงานของตับ (SGOT, SGPT, Alkaline Phosphatase)
-          การตรวจปัสสาวะ
-          การตรวจอุจจาระ

กรณีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจเพิ่มเติม   เช่น

-          การตรวจน้ำตาลในเลือด
-          ไขมันในเส้นเลือด(Cholesterol Triglyceride)
-          การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

2.  การตรวจสุขภาพตามลักษณะงาน หรือตามลักษณะปัจจัยเสี่ยงที่พนักงานได้รับ

                ตัวอย่างรายการตรวจสุขภาพด้านล่างนี้ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรายการตรวจสุขภาพให้แก่คนงานในสถานประกอบการ  อย่างไรก็ตามสถานประกอบการควรทำการตรวจประเมินความเสี่ยงโรคจากการทำงาน  เพื่อยืนยันความจำเป็นหรือปรับรายการตรวจให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง
 รายการตรวจสุขภาพ
 
ฝุ่น
 การถ่ายภาพรังสีทรวงอก  

ทดสอบสมรรถภาพปอด
 
เสียงดัง
 ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
 
โลหะหนัก
 ตรวจหาโลหะหนักในเลือด  ปัสสาวะ  เส้นผม  ฯลฯ

 
ปัจจัยเสี่ยง
 รายการตรวจสุขภาพ
 
สารทำละลาย  สี  ทินเนอร์
 ตรวจสารเคมีในเลือด

ตรวจโรคผิวหนัง
 
แสงจ้า  การใช้สายตานานๆ
 ทดสอบสมรรถภาพสายตา
 
ความร้อน
 ตรวจระบบหัวใจ  หลอดเลือด  ตับ ระบบหายใจ ผิวหนัง

การเตรียมตัวก่อนการตรวจสุขภาพ

ก่อนการตรวจสุขภาพ

-          ไม่ควรอดนอน  ดื่มสุราหรือกาแฟ ในคืนก่อนการตรวจสุขภาพ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าที่เป็นจริง
-          ควรใส่เสื้อผ้าที่พับแขนเสื้อขึ้นได้สะดวกไม่รัดแน่น เพื่อความสะดวกในการเจาะเลือด


การอดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ

-          การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  ต้องงดน้ำและอาหารก่อนการเจาะเลือด 6 ชั่วโมง   และตรวจไขมันในเลือด (CHOLESTERO, TRIGLYCERI, HDL, LDL) งด 12 ชั่วโมง  หากกระหายน้ำหรือหิวมาก ให้จิบน้ำเปล่าได้เพียงเล็กน้อย
-          หลังจากเจาะเลือดแล้วสามารถรับประทานน้ำและอาหารได้ทันที จากนั้นเข้ารับการตรวจรายการต่อไปได้


การเก็บปัสสาวะ

-          ให้ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนแล้วจึงเก็บเก็บปัสสาวะในช่วงกลาง (Mid Stream)
-          สุภาพสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนไม่ควรตรวจ หรือถ้าต้องตรวจกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ


เอกซเรย์ปอด

-          ในวันตรวจงดใส่เครื่องประดับต่างๆที่เป็นโลหะ
-          สุภาพสตรีไม่ใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก
-          ไม่ควรเอ็กซเรย์  หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-30 08:40:00


ความคิดเห็นที่ 2 (2210773)

คำถาม
การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเค้าตรวจhiv ด้วยหรือป่าวครับรบกวนผู้รู้ช่วยบอกหน่อยครับ
อยากรบกวนถามผู้มีประสบการณ์หน่อยครับว่า หากมีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน(ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง) จะมีการตรวจhiv ด้วยหรือป่าว เพราะผมกำลังจะย้ายงานแต่พอดีเค้าขอตรวจสุขภาพก่อน เลยไม่แน่ใจว่าจะไปตรวจดีหรือป่าวเพราะถ้าตรวจเลือดเรื่องนี้ ผมก็คงไม่ได้แน่ๆๆครับ รบกวนช่วยตอบด้วยครับ เพราะผมจะได้ตัดสินใจครับ ขอบคุณมากๆๆครับ

คำตอบ
1. เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท หรือแต่ละหน่วยงานค่ะ ต้องตรวจสอบกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของทางหน่วยงานเอง เท่าที่ทราบมาถ้าลักษณะงานที่ต้องเกี่ยวของกับการสัมผัสเลือด เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้อื่น หรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยมากจะมีการตรวจหา h ด้วยนะคะ แต่ถ้าเป็นงานธุรกิจทั่วไปส่วนใหญ่ก็ไม่มีการตรวจ h ค่ะ
ยังไงตรวจสอบให้ดีก่อนการตัดสินใจนะคะ...เพราะโอกาสดีๆมีมาไม่บ่อยค่ะ

2. อืม ปกติการตรวจ HIV ต้องขออนุญาติจากผู้ตรวจก่อนครับ ปกตน่าจะมีใบแจ้งการตรวจมาให้นะครับ ไม่ทราบเหมือนกัน ผมไม่เคยตรวจตอนรับตำแหน่งอะครับ แต่ตอนเข้าทำงานก็ตรวจปกติที่โรงพยาบาล แต่ไม่มีการตรวจhiv ครับ อืม ตอนรับทุนรัฐบาล ตอนนั้นก็ไม่ได้ตรวจ hiv นะครับแต่ตรวจคลื่นหัวใจ ผมคิดว่า ถ้าเค้าจะตรวจคงแจ้งก่อน หรือแจ้งระหว่างตรวจ แต่ว่า ถ้าเค้าไม่แจ้ง หรือไม่มีใบเซ็นยินยอมในการตรวจ เราก็น่าจะฟ้องได้นะครับ

3. เอาประสบการณ์จากคนพิเศษเลยนะ คือถ้าทางบริษัทมีนโยบายให้ตรวจก็ต้องตรวจ แต่อย่าเพิ่งลาออกจากที่เก่า เพราะเผื่อผลไม่ผ่าน เราก็จะได้ไม่ตกงาน...เพราะคนใกล้ตัวผมก็พลาดเรื่องเปลี่ยนงานนี่แหละ คิดว่าผ่านชัวร์ เลยลาออกจากที่เก่าซะก่อน จนมารู้ผล ที่เก่าก็เซ็นต์ใบลาออกเรียบร้อย ที่ใหม่ก็ไปไม่ได้ ที่เก่าก็อดทำ ต้องมาหางานใหม่อีก เครียดอีก แนะนำให้ลองพิจารณาดูนะครับ

4.  ผมก็กำลังกลุ้ม ครับ กับที่ทำงานใหม่ เขาตรวจH แล้วไวรัส B คือผมติดตรงที่ H นี่แหละครับ แต่ที่เก่ายังไม่ได้ลาออก ก็คงต้องรอฟังคำตอบจากเขาอีกทีเพราะทางหมอเขาไม่ได้ส่งผลให้กับทาง บ. เขาจะแจ้งแค่ว่าผลเลือดผิดปกติ ให้ทาง บ.โทรมาสอบถามเราเอง อันนี้คงต้องคุยกับเขาละครับว่าถ้าผลเป็นแบบนี้ จะพิจารณาได้หรือเปล่า หรือไม่ก็เราปฏิเสธงานเขาไปเลย (ผมคิดว่าคงต้องคุยดูก่อนละครับ เพราะยังไงเขาก็คงต้องทราบว่าผลเป็นอย่างไร) อย่างที่รู้คิดว่า ที่ต้องตรวจเพราะอาจจะมีผลกับระบบประกันสุขภาพของบริษัท (อาจจะเป็นลักษณะแบบเหมาจ่ายโดยพนักงานต้องตรวจสุขภาพ อะไรประมาณนี้อะครับ) โดยส่วนตัวผมอยากได้ที่ใหม่มากครับ เพราะเรื่องของรายได้ดีกว่ามากครับ แต่ถ้าไม่ได้ก็ต้องทำที่เดิมต่อไป (แต่ที่รู้สึกแย่คือเพื่อน ๆ อาจจะถามว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมไม่ทำงานที่ใหม่ ทั้ง ๆ ที่ ที่นี่ดีกว่า) วันนี้ก็รออย่างใจจดใจจ่อ หรือว่าเขาอาจจะไม่ติดต่อมาเลยก็ได้ เครียดเหมือนกันครับ

แหล่งข้อมูล
http://pha.narak.com/topic.php?No=15917
 

ผู้แสดงความคิดเห็น * วันที่ตอบ 2011-08-30 08:46:13


ความคิดเห็นที่ 3 (2217636)

แล้วพวกที่ไม่ให้กำลังใจคนอื่นที่ผมเคยได้อ่านมาที่บอกว่า ตรวจๆไปเหอะไม่อยากตรวจก้อไปนอนที่บ้านไม่ต้องทำงานน่ะ พวกนี้จิตใจคับแคบมากๆ คุณไม่รู้ถึงความรู้สึกของคนที่กลัวเรื่องพวกนี้หรอก คนเรามันก้อเสี่ยงทุกคนนั่นแหละไม่ว่าชายหรือหญิง คนไม่เสี่ยงก้อคือคนที่ซิงอยู่ คุณควรให้โอกาสเค้าสิ ทุกคนต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่นเสมอนะครับ ผมคิดว่าควรมีกฎหมายยกเลิกการตรวจเอดส์ทั้งหมดเลยนะครับ เพื่อให้ทุกคนเท่าเทียมกัน มันไม่ติดง่ายขนาดนั้น อย่ารังเกียจเลย ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่กลัวโรคเอดส์นะ ติดก้อไม่กลัว แต่จะให้ตรวจก้อต้องซีเรียสเหมือนกัน อยากให้มันเป็นเรื่องส่วนตัวน่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น jll วันที่ตอบ 2011-09-18 14:33:02


ความคิดเห็นที่ 4 (2301160)

ถ้าท้องแล้วไปสมัครงาน แล้วเค้าตรวจร่างกาย อยากรู้ว่าเค้าจะตรวจการตั้งครรภ์หรือเปล่าแล้วบริษัทจะรับไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แอมเอง วันที่ตอบ 2012-09-14 19:59:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล