ReadyPlanet.com


พ่อมีเมียน้อยแต่แม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ


สวัสดีค่ะหนูมีเรื่องทุกข์ใจพ่อกับแม่ของหนูอยู่กินกันมาประมาณ 20 ปี มีลูกด้วยกัน 3 คน ชาย 1 คน หญิง 2 คน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ช่วงหลังแม่พบว่า  พ่อของหนูไปมีเมียน้อยมีมาประมาณเกือบ 3 ปีแล้ว ทะเลาะกับแม่อยู่ตลอด ทุบตีแม่บ้างบ้างครั้งแม่ก็ไปแจ้งความไว้ ในช่วงเวลา 3ปีที่พ่อมีเมียน้อย พ่อก็บอกว่าจะเลิก แล้วเรื่องก็เงียบไปพักหนึ่งเหมือนพ่อจะเลิกจิงๆๆ แต่สุดท้ายก็เลิกไม่ได้ และกลับไปคบอีกครั้ง และพ่อก็ไปอยู่กับเมียน้อยบ้างบางครั้งแต่ชาวบ้านก็รู้กันหมดว่าพ่อมีเมียน้อย  ครั้งล่าสุดแม่ก็ทนไม่ได้เพราะพ่อบอกว่าพ่อเลือกเมียน้อยแม่ก็เลยเก็บของออกจากบ้านแล้วไปอยู่บ้านญาติแล้วลูกผู้ชายก็หนีตามมาอยู่กับแม่ด้วย แม่จะเลิกกับพ่อ    แม่เลยพูดกับพ่อเรื่องที่จะแบ่งทรัพย์สินกันดีๆๆๆแต่พ่อไม่ยอม  แม่เลยตัดสินใจจะฟ้องแบ่งทรัพย์สินที่เคยสร้างร่วมกันและแบ่งบุตรกันว่าจะไปอยู่กับใคร  อยากทราบว่าถ้าแม่ฟ้องแม่จะชนะไหมแล้วแม่ควรทำยังไงบ้างค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ฟ้อง (kambum_berry-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-25 18:19:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2207917)

ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือเป็นกรรมสิทธิ์รวม แม้ไม่ใช่สินสมรสก็ฟ้องขอแบ่งได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-21 13:11:45


ความคิดเห็นที่ 2 (2207918)

สามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากกรรมสิทธิ์รวม

ศาลฎีกาเห็นว่า การที่หญิงกับชายอยู่กินร่วมกันและประพฤติปฏิบัติต่อกันฉันสามีและภริยา แม้จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายหญิงชายคู่นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นสามีภริยากันโดยทางพฤตินัย เป็นแต่เพียงกฎหมายยังไม่รับรองว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเท่านั้น เมื่อเป็นสามีภริยากันและอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นเวลานานถึง 16 ปีแล้วมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายร่วมกันทำมาหากินจนมีทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้และทรัพย์สินดังกล่าวต้องถือว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-21 13:18:51


ความคิดเห็นที่ 3 (2207920)

การเป็นสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสไม่ใช่ว่าจะไม่มีสิทธิใดๆ ต่อกันเลยก็หาไม่ การที่หญิงชายอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็มีลักษณะทั้งคู่มีเจตนาร่วมชีวิตกัน เกิดผลในเชิงสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาในทางกฎหมายแพ่งดังนี้

1.ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่กินด้วยกันถือเป็นเจ้าของร่วมกัน แม้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินร่วมกันจะไม่เป็นสินสมรสก็ตาม แต่การที่หญิงชายได้ลงทุนลงแรงร่วมกันทำมาหาได้เกิดเป็นทรัพย์สินขึ้นมานั้น มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนที่ถือว่าหญิงชายต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินนั้นโดยมีส่วนคนละครึ่งเท่ากัน

มีข้อสังเกตว่า ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่งนี้ หากฝ่ายหญิงหรือชายจดทะเบียนเป็นชื่อของตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว หรือกรณีหญิงดูแลครอบครัว เลี้ยงบุตร ไม่ได้ออกไปร่วมแสวงหาทรัพย์สินด้วย จะถือว่าการที่หญิงเป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียวนี้มีส่วนแบ่งในทรัพย์สินด้วยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่า ไม่ว่าชื่อทางทะเบียนจะเป็นชื่อของชายหรือหญิงเพียงฝ่ายเดียว ก็ยังต้องแบ่งตามสิทธิคนละครี่ง และกรณีของหญิงที่ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียว ถือว่าการที่หญิงดูแลครอบครัวให้ชายเป็นการร่วมกันกับชายในการแสวงหาทรัพย์สินร่วมกันแล้ว หญิงจึงมีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวครึ่งหนึ่งเช่นกัน

2.ถ้าหญิงหรือชายตายลง อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ หญิงชายที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแม้จะไม่ใช่ทายาทที่จะรับมรดกของกันและกันได้ก็ตาม แต่ทรัพย์สินที่หญิงชายหาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยาเป็นเจ้าของร่วมกันมีสิทธิคนละครึ่งดังกล่าวในข้อ  1 มาแล้ว จึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย มีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

สิทธิทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นเพียงสิทธิน้อยนิดที่คู่สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะพอนำมาใช้ในการคุ้มครองสิทธิระหว่างเป็นสามีภริยาได้บ้าง แต่ก็จะเทียบกันไม่ได้เลยกับสิทธิของสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เช่น สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทที่เป็นคู่สมรส สิทธิฟ้องร้องกรณีฝ่ายใดไปมีชู้หรือมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือ สิทธิฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสหรือเลี้ยงดูบุตร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-08-21 13:25:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล